การประเมินความต้องการและความคาดหวังของสังคมต่อสมรรถนะผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านอนามัยครอบครัว
dc.contributor.author | ปิยะธิดา ขจรชัยกุล | en |
dc.contributor.author | จรวยพร สุภาพ | en |
dc.contributor.author | พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ | en |
dc.contributor.author | โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ | en |
dc.contributor.author | ศุภชัย ปิติกุลตัง | en |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว | |
dc.date.accessioned | 2011-02-21T07:20:12Z | en |
dc.date.accessioned | 2011-08-26T09:09:55Z | |
dc.date.accessioned | 2020-10-05T03:32:38Z | |
dc.date.available | 2011-02-21T07:20:12Z | en |
dc.date.available | 2011-08-26T09:09:55Z | |
dc.date.available | 2020-10-05T03:32:38Z | |
dc.date.created | 2554-02-21 | en |
dc.date.issued | 2551 | en |
dc.description | ก-ฏ, 51 แผ่น ; 30 ซม. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาอนามัยครอบครัว มุ่งศึกษาองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ การติดตามความก้าวหน้าของมหาบัณฑิต สำรวจความคิดเห็นของหลักสูตรในการศึกษาต่อระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยครอบครัว และสำรวจความต้องการของสังคมต่อกลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) ภาคพิเศษ สาขาอนามัยครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาอนามัยครอบครัว ผู้บังคับบัญชาของมหาบัณฑิต และกลุ่มบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง จากมหาวิทยาลัย วิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบรายการและแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่าวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า มหาบัณฑิต ส่วนใหญ่ทำงานในส่วนราชการ (ร้อยละ 94.0) โดยหลังจากสำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมโครงการวิจัย (ร้อยละ51.0) และร้อยละ 6.9 เข้ารับการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่า ร้อยละ 88.1 ของมหาบัณฑิตให้ความคิดเห็นในการ เปิดหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตว่าสมควรเปิด โดยให้เหตุผลว่าเป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากรตั้งแต่เกิดจนตาย สำหรับการเปิดหลักสูตรภาคพิเศษ ร้อยละ 72.9 ของมกาบัณฑิตให้ความเห็นว่าเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้รับการศึกษาต่อ ในการประเมินความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาของการมหาบัณฑิต ร้อยละ 94.3 มีความพึงพอใจในความรู้ความสามารถทางวิชาการ ร้อยละ 88.6 พึงพอใจเรื่องความมีคุณธรรมจริยธรรม สำหรับด้านความครองตนและการมีมนุษยสัมพันธ์ พบว่ามีความพึงพอใจ ร้อยละ 84.2การสำรวจความคิดเห็น ของบุคคลทั่วไป ร้อยละ 88.1 มีความสนใจที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท โดยร้อยละ 65.1 สนใจสาขาวิชาด้านการแพทย์และสาธารณสุข และร้อยละ 85.1 ให้ความสนใจในการศึกษาต่อในหลักสูตรภาคพิเศษ แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 55.6 จะให้ข้อมูลว่าการศึกษาภาคพิเศษมีผลกระทบต่อการทำงาน และรองลงมาคือผลกระทบด้านการเงิน โดยร้อยละ 55.2 ให้เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับการศึกษาต่อว่ามีประโยชน์ต่อการทำงานและสามารถนำไปใช้ได้ สรุปผลสำหรับการศึกษานี้พบว่ามหาบัณฑิตส่าวนใหญ่ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้มีการพัฒนาที่ดี สามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม ควรพัฒนาต่อยอดสาขาวิชาโดยการเปิดหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ารับการศึกษาในสาขาวิชานี้ให้มากขึ้น | en |
dc.description.abstract | This was a descriptive study aimed to study and evaluate the curriculum of Master of Science (Public Health) Program Family Health in the aspect of social need and expectation to the graduates. The study consisted of 3 aspects including the successfulness of the graduates in their carrier, interesting of the studied subjects to continue the higher level of education such as Master or Doctoral Degrees and the impact of the new curriculum special program the three groups of studied samples consist of the graduates of the Master of Science (Public Health) Program in Family Health curriculum, the graduates’ work supervisors and the related group of persons those work need the knowledge of family health such as those who work in the colleges, universities and either government or non-government organizations. The studies tool was the interview forms and questionnaire consisted of the check list and open-end type of questions. The collected data were analyzed and presented as percentage, mean and standard deviation. Most of the graduates found in this study were female (96.6 %) 94.9 % of the graduates work in the government sector. About half of them (51.0 %) had the opportunity in participating in any research projects in their workplace. About 7 % of the graduates have been continued the higher level of education. Most of the graduates agree with the new curriculum of Doctoral degrees which has been planed to open. One of the reasons for this agreement was because of the curriculum in family health involved in the improvement of quality of life among human being from birth to death. Through the evaluation of satisfaction of the graduates’ work supervisors on the graduates’ competence or quality, 94.3 % satisfied with the academic competence, 88.6 % with the moral and 84.2 % with the good relationship and self control of the graduates. 72.9 % of the graduates agree with the new curriculum special program as its weekend course of schedule will give the opportunity for those who to continue the higher level of education. The evaluation on Master degree showed that88.1 % interested to continue on Master Degree. About 65.1 % of them interested in the major field of medical science and public health. 85.1% interested in the new curriculum of Master degree special program although it might have some impact to their work and financial status (55.6 %). 55.2 % of them indicated that the main reasons for the decision to continue their higher level of education were the usefulness or benefits of the knowledge to their work. In conclusion, most of the graduates had the great improvement in their carrier. They could integrate the knowledge they have got to their work appropriately. The new curriculum of Doctoral degrees in Family Health should be considered to open for those who are interest to continue in the higher level of education. | |
dc.format.extent | 29043927 bytes | en |
dc.format.mimetype | application/pdf | en |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/58847 | |
dc.language.iso | tha | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en |
dc.subject | ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en |
dc.subject | อนามัยครอบครัว | en |
dc.subject | การประเมินนักศึกษา | |
dc.subject | การศึกษาและการสอน | |
dc.title | การประเมินความต้องการและความคาดหวังของสังคมต่อสมรรถนะผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านอนามัยครอบครัว | en |
dc.title.alternative | รายงานการวิจัยการประเมินความต้องการและความคาดหวังของสังคมต่อสมรรถนะผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านอนามัยครอบครัว | en |
dc.type | Research Report | en |
mods.location.copyInformation | https://library.mahidol.ac.th/record=b1281983 |
Files
License bundle
1 - 1 of 1