PH-Research Report

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 104
  • Item
    Behaviors and perception of Japanese tourists affecting diarrheal illness and health care need assessment
    (2004) Nawarat Suwannapong; Nopporn Howteerakul; Chaweewon Boonshuyar; Mahidol University. Faculty of Public Health
  • Item
    The study of vitamins A, C and E supplementation and nutrition education on blood lipids level in the villages of Soongnern district in Nakorn Ratchsima province
    (1999) Dusanee Suttapreyasri; Nilnet Weerasombat; Tassanee Silawan; ดุษณี สุทธปรียาศรี; นิลเนตร วีระสมบัติ; ทัศนีย์ ศิลาวรรณ; Mahidol University. Faculty of Public Health
  • Item
    Comparison of ELISA hybridization and Dot Blot hybridization for rapid detection of mycobacterium tuberculosis PCR products
    (1999) Unchalee Tansuphasiri; Sarawut Suttirat; อัญชลี ตัณฑ์ศุภศิริ; ศราวุธ สุทธิรัตน์; Mahidol University. Faculty of Public Health. Department of Microbiology
  • Item
    รายงานการวิจัยเรื่องประสิทธิผลของการจัดโครงการป้องกันการใช้ยาและสารเสพติดในกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นกรุงเทพมหานคร
    (2543) พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ; ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม; ภาวิณี อยู่ประเสริฐ; มาริสา หะลาเมาะ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • Item
    การศึกษาคุณภาพปริมาณและพฤติกรรมการใช้น้ำดื่มของชุมชนชาวไทยในชนบท
    (2530) พิชิต สกุลพราหมณ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์.
  • Item
    รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเรื่องการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่และการสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (2554) วันเพ็ญ แก้วปาน; ปาหนัน พิชยภิญโญ; มลินี สมภพเจริญ; Wonpen   Kaewpan; Panan Pitchayapinyo ; Malinee Sompopcharoen; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
    ปัญหาการสูบบุหรี่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขเพราะมีผลกระทบต่อชีวิต สังคม เศรษฐกิจทั้งระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศในภูมิภาคและทั่วโลก กลยุทธ์การตลาดของบริษัทบุหรี่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนสูบบุหรี่โดยมีกลไกดำเนินงานหลายแนวทาง การจำหน่ายสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ในสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ ยาสูบ เป็นวิธีการหนึ่งที่กระตุ้นการรับรู้ของบุคคลให้จดจำและสนใจบุหรี่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน วรรณกรรรมจากระบบฐานข้อมูล PUBMED MEDILINE และ SCOPUS ระหว่างปี ค,ศ, 1991 - 2011 และภาษาไทย และสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ ราคาจำหน่าย และความนิยมต่อสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจบริเวณร้านค้าหาบเรแผงลอย ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไป รวมทั้งหมด 15 จุด ได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประตูน้ำ สยาม สีลม มาบุญครองง สุขุมวิท จตุจักร ถนนข้าวสาร คิงเพาวเวอร์ เซ็นทรัล สำเพ็ง คลองถม เยาวราช บางแค เขตป้อมปราบศัตรู่พ่าย และสะพานพุทธ ดำเนินการสำรวจระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมเกี่ยวกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ในประเทศไทย และต่างประเทศจากฐานข้อมูล PUBMED MEDILINE และ SCOPUS ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ จากทั้งหมดที่ค้นคว้า จำนวน 987 เรื่อง มีรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ จำนวน 21 เรื่อง โดยเป็นการศึกษาในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 3 เรื่อง ในประเทศแซมเบีย จำนวน 1 เรื่อง ในประเทศตุรกี จำนวน 1 เรื่อง ในประเทศอังกฤษ จำนวน 1 เรื่อง สหรัฐอเมริกา จำนวน 15 เรื่อง โดยรายงานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาการสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ โดยตรง จำนวน 3 เรื่อง เป็นการศึกษาในประเทศอังกฤษ จำนวน 1 เรื่อง และ ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว สิงคโปร์ และเวียดนาม จำนวน 1 เรื่อง ผลการสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในตลาดเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 15 จุด พบแหล่งจำหน่ายสินค้า จำนวน 10 จุด มีสินค้าที่มีตรา ยี่ห้อบุหรี่จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ เสื้อยืด ที่จุดบุหรี่ กล่องใส่บุหรี่ หมวก สติ๊กเกอร์ เสื้อแจ็กเกต พวงกุญแจ แมกเนท และ3D puzzle โดยสินค้าที่พบ มากที่สุด ได้แก่ ที่จุดบุหรี่และกล่องใส่บุหรี่ ที่จุดบุหรี่ราคาประมาณ 100-250 บาท ส่วนกล่องใส่บุหรี่จะมีราคา ประมาณ 200-450 บาท สถานที่จำหน่ายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและตลาดนัด ได้แก่ จตุจักร สีลม ถนนข้าวสาร สยาม มาบุญครอง ตลาดนัดบางแค ยี่ห้อที่พบมากที่สุด คือ Marlboro จุดประสงค์ของผู้ซื้อส่วนมากนำไปเป็นของที่ระลึก เสื้อผ้า ประเภทเสื้อยืด ผลิตในประเทศไทย ราคาประมาณ 100-150 บาท มี่ทั้งระบุยี่ห้อบุหรี่ต่างประเทศ ได้แก่ Marlboro และในประเทศไทย คือ กรองทิพย์ สถานที่จำหน่าย บริเวณ ประตูน้ำ จตุจักร และสำเพ็ง สำหรับกลุ่มเด็ก ผลิตเป็นเสื้อผ้าแจ็กเก็ต และเสื้อยืด สินค้าประเภทพวงกุญแจและแม็กเนท เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่มาเลเซีย มีจำหน่ายที่สำเพ็ง ในราคาที่ขายแบบถาวรซึ่งจะขายแบบขายปลีกและขายส่ง ราคาขายส่งโหลละ 60 บาท ราคาขายปลีกอันละ 10 บาท มียี่ห้อบุหรี่จำนวนหลายชนิด ผู้ซื้อนิยมซื้อสินค้าที่ระลึกและใช้เอง เพราะราคาถูก ซึ่งจะกระจายขายตามตลาดนัด หมวก เป็นสินค้านำเข้าและเป็นสินค้ามือสอง วางจำหน่ายที่จตุจักร ราคา 70 บาท สติ๊กเกอร์ พบที่จตุจักร ราคา 50 บาท สำหรับยี่ห้อบุหรี่ที่พบในสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบมากที่สุดคือ Marlboro คิดเป็นร้อยละ 64.1 ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการควบคุมการจำหน่ายสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตราผลิต-ภัณฑ์ยาสูบในท้องตลาด โดยหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายและมาตรการการดำเนินงานควบคุมสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ โดยควรศึกษากระบวนการใช้กฎหมายในการดำเนินงานควบคุมการผลิตสินค้า การจำหน่ายสินค้าที่มีตรายี่ห้อบุหรี่ ดำเนินการรณรงค์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์และผู้จำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่มีสินค้าที่ระลึกจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ในการไม่สนับสนุนการซื้อสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยผ่านสื่อบุคคลและสื่อสิ่งพิมพ์และควรศึกษาการจำหน่ายสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในระดับประเทศทั่วทุกภาคในประเทศไทย เพื่อทราบประเภทสินค้า ราคาช่องทางการจำหน่าย และสถานที่จำหน่าย รวมทั้งพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานอย่างครบวงจรโดยรูปแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภา
  • Item
    ผลกระทบของการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ซิกาแรต ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ
    (2552) มณฑา เก่งการพานิช; ลักขณา เติมศิริกุลชัย; ศรัณญา เบญจกุล; ธราดล เก่งการพานิช; Mondha Kengganpanich; Lakkhana Termsirikulchai; Tharadol Kengganpanich; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
    มาตรการภาษีจัดได้ว่าเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการบริโภคยาสูบ ดังนั้นเมื่อรัฐบาล ไทยได้ประกาศขึ้นภาษีจากร้อยละ 80 เป็น 85 ของราคาบุหรี่หน้าโรงงานเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของการขึ้นภาษีบุหรี่ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ประจำที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และศึกษาความคิดเห็นของผู้สูบบุหรี่เป็นประจำต่อการขึ้นภาษีบุหรี่ โดยเลือกตัวอย่างจากระเบียนข้อมูลผู้สูบบุหรี่เป็นประจำจากโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ระดับโลก สุ่มเลือกตามภาค ได้แก่ คาคเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลางและกรุงเทพมหานคร ภาคละ 100 คน รวมตัวอย่าง 500 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในสัปดาห์ที่ 1-2 ของเดือนกรกฎาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 504 คน พบว่า หลังขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 9.7 ลดปริมาณสูบบุหรี่ร่วมกับเปลี่ยนยี่ห้อ/ประเภทบุหรี่ร้อยละ 48.0 เปลี่ยนประเภทบุหรี่มวนเองเพียงอย่างเดียว ร้อยละ 7.5 เปลี่ยนยี้ห้อบุหรี่ ร้อยละ 5.0 และที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ สูบปริมาณเท่าเดิม ยี้ห้อเดิม ร้อยละ 26.0โดยร้อยละ 65.8 ระบุว่าการขึ้นภาษีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การเลิกบุหรี่พบว่ากลุ่มอายุน้อย (16-24 ปี) และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปเลิกสูบบุหรี่สูงกว่ากลุ่มอายุอื่น และกลุ่มรายได้ปานกลางมีการเลิกสูบสูงที่สุด สำหรับการเปลี่ยนยี่ห้อและการเปลี่ยนประเภทจากบุหรี่โรงงานเป็นบุหรี่มวนเองพบสูงในกลุ่มอายุสูงและกลุ่มรายไดน้อย ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ 1 ใน 2 เห็นด้วยกับการขึ้นภาษี และประมาณ 1 ใน 2 เช่นกันที่มีความคิดเห็นว่าการขึ้นภาษีบุหรี่ผิดกฎหมาย ได้แก่ การลักลอบนำเข้าบุหรี่หนีภาษี/บุหรี่เถื่อน การผลิตบุหรี่ปลอม/ลักลอบขายบุหรี่ปลอม และการซื้อบุหรี่จาร้านค้าปลอดภาษี/การซื้อบุหรี่จากประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนมากขึ้น จากผลการศึกษาควรอย่างยิ่งที่จะมีการปรับอัตราภาษีบุหรี่ให้สูงยิ่งขึ้นและใช้วิธีการคำนวณตามที่องค์การอนามัยโลกเสนอแนะ ควบปรับภาษีบุหรี่นำเข้าและบุหรี่มวนเอง เพื่อไม่ให้มีช่องว่างอัตราภาษีอีกทั้งควรจัดบริการเลิกสูบบุหรี่ทั้งในคลีนิคและสายด่วนปลอดบุหรี่ให้เพียงพอต่อความต้องการ
  • Item
    การสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย
    (2547) เนาวรัตน์ เจริญค้า; นิภาพรรณ กังสกุลนิติ; ธราดล เก่งการพานิช; วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล; ณัฐจาพร พิชัยณรงค์; พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ; พัชราพร เกิดมงคล; สตีเฟ่น ฮาแมนน์; Naowrut Charoenca; Nipapun Kungskulniti; Tharadol Kengganpanich; Wilai Kusolwisitkul; Natchaporn Pichainarong; Pimpan    Silpasuwan  ; Patcharaporn Kerdmongkol  ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยา; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข
    ศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อชีวิตคนไทยโดยส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องจาก ร้อยละ 90 ของคนไทยนับถือ ศาสนาพุทธ ในอดีตที่ผ่านมา การสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ทั่วประเทศยังได้รับความสนใจน้อยมาก เมื่อปี 2536 ได้มีการศึกษาในพระภิกษุสงค์จำนวน 678 รูปจากวัด 48 แห่งในภาคกลาง พบว่าพระภิกษุที่สูบบุหรี่มีร้อยละ 55 ซึ่งตัวเลขอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์นี้ชี้ให้เห็นว่ายังเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง แต่การศึกษาในปี 2536 นั้น จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคเดียวของประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2544 อัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในชายไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39.3 สืบเนื่องจากข้อมูลจากการศึกษาในปี 2536 ยังมิได้เป็นตัวแทนที่แท้จริงของพระภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศ และ มีการลดลงของความชุกในการสูบบุหรี่ของชายไทยซึ่งย่อมรวมถึงพระภิกษุสงฆ์ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาสำรวจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้ทราบถึงความชุกของการสูบบุหรี่ในหมู่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งน่าจะมีการลดลงด้วย หน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพอนามัยของพระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลสงฆ์ในกรุงเทพมหานครนั้น ตระหนักดีว่าโรคที่เกี่ยวข้องการการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการอาพาธและมาณภาพของพระภิกษุสงฆ์ แม้ว่าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดให้มีโครงการวัดปลอดบุหรี่ และโครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้ก็ไม่ได้มีข้อมูลเบื้องต้นของความชุกในการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อโดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) จึงได้มีการศึกษาสำรวจความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ครั้งนี้ขึ้นในการนี้นักวิจัยได้นำข้อมูลสถิติ และ การแบ่งส่วนการปกครองของสงฆ์จากมหาเถรสมาคม และกรมการศาสนา มากำหนดการสุ่มตัวอย่างให้เป็นเป็นระบบตามโครงสร้างของแต่ละภาค เพื่อให้ได้จำนวนตัวอย่างที่เพียงพอ และเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร โดยได้สำรวจพระภิกษุสงฆ์สามเณรจำนวน 6,213 รูปถึงสถานการณ์และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป้าหมายของการศึกษาเพื่อหาความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์และทราบถึงลักษณะแบบแผนการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์รวมทั้งความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ต่อการสูบบุหรี่คณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นช่วงระหว่างเวลาเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัด ข้อมูลจากการสำรวจได้มีการตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ ผลจากการสำรวจพบว่าอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ในภาพรวมของทั้งประเทศเป็นร้อยละ 24.4 โดยแตกต่างกันสำหรับแต่ละภาค คืออยู่ในช่วงร้อยละ 14.6 สำหรับภาคเหนือ ถึงร้อยละ 40.5 ในภาคตะวันออก ภาคที่มีอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ค่อนข้างสูง ได้แก่ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้และ กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 40.5, 40.2, 33.5, และ 29.7 ตามลำดับ) ส่วนภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ มีอัตราความชุกเป็น 22.8, 20.4, และ 14.6 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าภาคที่มีอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ค่อนข้างสูงนั้นส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุมากกว่าสามเณร และเป็นพระที่ค่อนข้างมีอายุ แม้ว่าพระภิกษุสงฆ์จะทราบและตระหนักถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในศาสนสถาน ผลที่มีต่อสุขภาพ และภาพลักษณ์ในทางลบของการสูบบุหรี่ แต่ก็ยังมีพระสงค์จำนวนมากที่ยังติดบุหรี่อยู่ ซึ่งอาจเป็นความแตกต่างระหว่างลักษณะการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ในเขตเมืองกับเขตชนบท พระสงฆ์ที่สูบบุหรี่มากกว่าร้อยละ 90 รายงานว่าเริ่มสูบบุหรี่มาตั้งแต่ก่อนบวช พระสงฆ์ที่มาจากภาคที่มีความชุกของการสูบบุหรี่ค่อนข้างสูงมีระดับของการติดบุหรี่สูงกว่าภาคอื่นๆ คือต้องสูบบุหรี่มวนแรกหลังจากตื่นนอน ภายในครึ่งชาวโมง เหตุผลที่สูบบุหรี่เนื่องมาจากความเครียด และรายงานว่าการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพ มากกว่าพระสงฆ์ที่มาจากภาคที่มีความชุกต่ำ ประมาณร้อยละ 60 ของพระสงฆ์ที่เคยสูบบุหรี่ เลิกสูบในระหว่างที่ยังบวชอยู่ ส่วนใหญ่เลิกมาได้เกินกว่า 5 ปี แล้ว โดยใช้ความพยายาม 1-2 ครั้งจึงเลิกได้สำเร็จ และเคยได้รับคำแนะนำจากพระรูปอื่น ญาติโยม และแพทย์/พยาบาล พระสงฆ์ส่วนใหญ่ใช้วิธีเลิกด้วยตนเอง หรือ ค่อยๆลดจำนวนบุหรี่ที่สูบลง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ได้แก่ อายุ สถานภาพ (พระภิกษุ/สามเณร) ระยะเวลาที่บวช และประเภทวัด (พระอารามหลวง/วัดราษฎร์) พระสงฆ์ที่ทีระดับการศึกษาทางโลกสูง มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่น้อย พระสงฆ์ส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ก่อนบวช และพระสงฆ์ที่เคยสูบบุหรี่ร้อยละ 60 เลิกสูบบุหรี่ในขณะที่ยังบวชอยู่ พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ประมาณร้อยละ 44 ของพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ให้เหตุผลว่าไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้เนื่องจากไม่ทราบวิธีและไม่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ในหนึ่งปีที่ผ่านมามีพระสงฆ์ร้อยละ 52 เคยพยายามเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงว่าในประชาชนทั่วไป ร้อยละ 72.5 ของพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ พระสงฆ์ที่สำรวจในการศึกษาครั้งร้อยละ 80 เสนอให้มีการรณรงค์ไม่ให้ญาติโยมถวายบุหรี่แก่พระสงฆ์ และอีกร้อยละ 91 เสนอให้ส่งเสริมพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่อยู่ให้เลิกสูบ
  • Item
    สถานการณ์การดำเนินงานและความคิดเห็นต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
    (2548) มณฑา เก่งการพานิช; ลักขณา เติมศิริกุลชัย; ธราดล เก่งการพานิช; Mondha Kengganpanich; Lakkhana Termsirikulchai; Tharadol Kengganpanich; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
    การสำรวจสถานการณ์ของการดำเนินงานและความคิดเห็นต่อการดำเนินงานให้สนานที่ราชการเป็นเขต ปลอดบุหรี่ตาม พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ทำการศึกษาในหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการให้สถานที่ราชการปลอดบุหรี่มีด้วยกัน 9 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงคมนาคม ศึกษาใน 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อศึกษาถึงการปฏิบัติตาม พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้มาสูบบุหรี่ พ.ศ.2535 (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 10 พ.ศ.2545) กลุ่มเป้าหมาย 233 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 133 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 57.1 และบุคลากรของหน่วยงาน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในที่ทำงาน และความคิดเห็นต่อ พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 กลุ่มเป้าหมาย 13,650 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 9,276 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 68.0 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2548 ผลการศึกษาการปฏิบัติตาม พรบ.ฯ ในทัศนะของผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงาน พบว่า ร้อยละ65.9 มีการจัดหน่วยงานให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ หากแต่ลักษณะการจัดยังไม่ค่อยถูกต้อง โดยมีการจัดเขตปลอดบุหรี่ร้อยละ 72.5 และจัดเขตสูบบุหรี่ ร้อยละ 44.7 ความสำเร็จในระดับมากร้อยละ 55.8 ซึงปัญหาการดำเนินคือ ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง นอกจากนี้หน่วยงานร้อยละ 39.5 มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ โดยจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น และมีการแจกสื่อเอกสารเผยแพร่ความรู้ ปัญหาที่สำคัญคือ ปริมาณสื่อไม่เพียงพอและบุคลากรขาดความตระหนัก หัวหน้าหน่วยงานร้อยละ 47.4 เห็นด้วยกับการจัดเขตปลอดบุหรี่เฉพาะบางส่วนและจัดเขตสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะที่ มากกว่าการจัดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% ซึ่งมีเห็นด้วยร้อยละ 44.4 ในส่วนของความพร้อมในการดำเนินการระดับมากมีอยู่ร้อยละ 49.6 ขณะเดียวกันหน่วยงาน ร้อยละ 72.8 ยังมีความต้องการสื่อเพื่อใช้ในการรณรงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายประชาสัมพันธ์และการมีนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนของหน่วยงาน ผลการศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในที่ทำงานและความคิดเห็นต่อการดำเนินงานให้หน่วยงานเป็นเขตปลอดบุหรี่ พบว่า บุคลากรที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ ณ ปัจจุบันมีอยู่ ร้อยละ 8.4 และมีผู้เคยลองและเคยสูบและเลิกแล้ว ร้อยละ 16.7 อายุเริ่มสูบ ร้อยละ 35.5 อยู่ระหว่าง 16-18 ปี ลักษณะการสูบร้อยละ 80.3 เป็นการสูบแบบติดบุหรี่ โดยมีปริมาณการสูบเฉลี่ย 10.4 มวนต่อวันและร้อยละ 42.9 สูบที่บ้าน รองลงมาคือ ร้อยละ 22.4 สูบที่ทำงาน การสูบบุหรี่ในที่ทำงานร้อยละ 34.2 สูบในที่ที่ไม่มีสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 64.6 ที่สูบบุหรี่และมีผลต่อสุขภาพที่สำคัญคือ มีอาการเกี่ยวกับการหายใจ ร้อยละ 76.8 เคยพยายามเลิกด้วยวิธีตั้งใจเลิกเองและหักดิบ เหตุผลของความตั้งใจอยากเลิกส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวอยากให้เลิก และผู้สูบรู้ถึงโทษของบุหรี่มากขึ้น เพศชายสูบบุหรี่มากกว่าเพศหญิงมาก กล่าวคือ เพศชายสูบร้อยละ 24.5 เพศหญิงร้อยละ 1.0 กลุ่มที่สูบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนงาน คนสวน คนขับรถ พนักงานรักษาความปลอดภัย มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและต่พกว่า บุคลากรส่วนใหญ่ร้อยละ 79.2 รับทราบเกี่ยวกับ พรบ.ฯ และร้อยละ 97.2 เห็นด้วยกับการมี พรบ. ฯ สำหรับการรับรู้การดำเนินงานให้หน่วยงานปลอดบุหรี่มีรับรู้ร้อยละ 50.3 โดยรับรู้จากป้ายและสัญลักษณ์ที่ติดไว้ในหน่วยงาน การจัดเขตสูบบุหรี่มีการรับรู้ว่ามีเพียงร้อยละ 28.7 และร้อยละ 45.9 เห็นว่า จัดอย่างไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดี บุคลากรร้อยละ 40.8 ต้องการให้หน่วยงานเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% และร้อยละ 89.6 ต้งการการสนับสนุนสื่อในลักษณะของการจัดการ เช่น จัดเขตสูบบุหรี่ จัดนิทรรศการให้ความรู้ หลักสูตรบำบัด และการสนับสนุนให้ผู้สูบไปเข้าคลีนิคอดบุหรี่ เป็นต้น และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อ พรบ.ฉบับนี้ได้แก่ กลุ่มที่อายุ ตำแหน่งงายที่ต่างกัน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การเกิดผลต่อสุขภาพ ความต้องการเลิกบุหรี่ การรับทราบเกี่ยวกับ พรบ. และการรับรู้ถึงการดำเนินงานหน่วยงานปลอดบุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการให้สำคัญในการนำไปใช้ปรับความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อ พรบ. ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติต่อหน่วยงานคือ การวิเคราะห์และทำความเข้าใจสถานการณ์ การประกาศนโยบายที่ชัดเจน กำหนดผู้รับผิดชอบ มีการวางแผนและแนวทางการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูบบุหรี่ การรณรงค์ผ่านสื่อสารมวลชน จัดทำคู่มือและแนวทางการดำเนินงานเผยแพร่ และมีศูนย์กลางประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือหน่วยงานที่มีหน้าที่ออกกฎหมาย ให้มีการติดตามและควบคุมการบังคับใช้กฎหมาย การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความชัดเจนในนโยบายของหน่วยงานทุกระดับ และการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • Item
    พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง
    (2551) ธราดล เก่งการพานิช; มณฑา เก่งการพานิช; Tharadol Kengganpanich; Mondha Kengganpanich; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
    ปัจจุบัน”วัยรุ่นหญิง” กลายเป็นลูกค้าหน้าใหม่ที่สำคัญของบริษัทบุหรี่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น สังคมไทยต้องรีบหามาตรการป้องกันวัยรุ่นหญิงให้ห่างไกลจากบุหรี่ การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้มุ่งศึกษานักเรียบนักศึกษาหญิงของสถาบันการศึกษา ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2550 วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่ ความเห็นต่อนโยบายควบคุมยาสูบและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสูบบุหรี่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง กลุ่มเยาวชนเป้าหมาย อายุ 13-24 ปี จำนวน 3,000 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามนิยามขององค์การอนามัยโลกและเทียบกับระดับการศึกษาของไทย คือ อายุ 13-15 ปี เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 16-19 ปี เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และอายุ 20-24 ปี เทียบเท่าระดับอุดมศึกษา การสุ่มตัวอย่างจำแนกตามเขตพื้นที่ คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และต่างจังหวัด และตามระดับการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และแนวทางการสนทนากลุ่มเพื่อการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ไคสแควร์ และ Odds Ratio ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการจัดกลุ่มข้อมูล ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,093 คน อายุระหว่าง 13-25 ปี พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ปัจจัยของนักเรียนนักศึกษาหญิงในช่วง 30 วัน และ 7 วัน ที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 6.4 และ 5.8 ตามลำดับ ซึ่งพบว่าอัตราการสูบสูงในระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่สูบครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปีขึ้นไปร้อยละ 68.6 และ เริ่มสูบอายุต่ำกว่า 12 ปี ร้อยละ 10.2 เหตุผลการสูบบุหรี่ที่สำคัญคือตามเพื่อน/ต้องการให้เพื่อนยอมรับร้อยละ 32.0 บุหรี่ที่สูบได้มาจากการซื้อเองและเพื่อน ร้อยละ 53.8 และ 28.4 ตามลำดับ วัยรุ่นหญิงได้รับควัญบุหรี่มือสองในบ้าน ร้อยละ 46.9 จากการสูบของบิดาและพี่ชายเป็นส่วนใหญ่ เกือบร้อยละ 80 มีความคิดเห็นเชิงลบต่อการสูบบุหรี่ สำหรับความคิดเห็นต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงที่น่าเป็นห่วงคือ มีเพียงร้อยละ 35.3 ที่เห็นด้วยต่อการที่สังคมไม่ยอมรับการสูบบุหรี่ และร้อยละ 30.6 เห็นว่าการสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ นอกจากนี้วัยรุ่นหญิงมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่และการได้รับครัวบุหรี่มือสองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดโรคมะเร็ง พบสูงกว่าร้อยละ 90 สำหรับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการไม่สูบบุหรี่ พบว่า เคยได้รับถึงร้อยละ 85.9 สื่อที่ให้ข้อมูลมากที่สุดคือ ทีวี และบนซองบุหรี่ ร้อยละ 74.8 และ 66.3 ขณะเดียวกันร้อยละ 86.6 เคยเห็นการสูบบุหรี่ในทีวี/วีดีโอ/ภาพยนตร์ และร้อยละ 80.7 เห็นด้วยกับการห้ามมีฉากสูบหรี่ในรายการทีวีและภาพยนตร์ สำหรับการโฆษณาและส่งเสริมการขายบุหรี่ พบว่าเคยเห็น ร้อยละ 35.3 โดยเห็นสูงสุดจากร้านสะดวกซื้อ รองลงมาคือ รายการทีวี ร้อยละ 52.6 และ 29.4 ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ พบว่าวัยรุ่นหญิงกว่าร้อยละ 80 ต้องการให้สถานที่เหล่านี้ปลอดบุหรี่ 100% ได้แก่ ศาสนาสถาน สถาบันการศึกษา และโรงพยาบาล ร้อยละ 50.5 เห็นว่ายังไม่มีการบังคับใช้นโยบายอย่างมีประสิทธิผล ร้อยละ 83.8 เห็นด้วยกับการมีภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ หากแต่ร้อยละ 56.9 ไม่แน่ใจและไม่เชื่อว่าภาพคำเตือนมีผลต่อการลดการสูบบุหรี่ในวัยรุ่น และร้อยละ 74.0 แน่ใจและไม่เชื่อประสิทธิผลของกฎหมายห้ามจำหน่ายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สำหรับความเห็นต่อการสนับสนุนกิจกรรมทางสังคมจากอุตสาหกรรมยาสูบ ร้อยละ 83.4 เห็นด้วยกับการที่บริษัทบุหรี่ให้ทุนนักเรียนและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และร้อยละ 60.8 ที่เห็นว่าบริษัทบุหรี่ใช้วัยรุ่นหญิงเป็นเครื่องมือส่งเสริมการขาย ผลการศึกษาพบว่าวัยรุ่นหญิงที่เรียนต่างระดับการศึกษา และมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ต่างกันมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับ อัตราการสูบบุหรี่อายุเริ่งสูบบุหรี่ครั้งแรก ปริมาณและความถี่ในการสูบความตั้งใจในการเลิกบุหรี่ สถนที่สูบบุหรี่ ความถี่ในการสูบบุหรี่ ความถี่ในการสูบกับพ่อแม่ ความตั้งใจในการสูบบุหรี่เมื่อเพื่อนชวนความตั้งใจในการสูบใน 1 ปีข้างหน้า การได้มาของบุหรี่ที่สูบ การมีบิดามารดาและเพื่อนสนิทสูบบุหรี่ การได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน ความรู้เกี่ยวกับบางโรคและบางปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการสูบและการได้รับควันบุหรี่มือสอง ความคิดเห็นต่อการสูบบุหรี่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการไม่สูบบุหรี่ในบางสื่อ การรับรู้และความคิดเห็นต่อภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ การเคยเห็นโฆษณาและส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ และการเคยเห็นสิ่งกระตุ้นให้สูบบุหรี่จากบางสื่อ งานชุมชน การแข่งขันกีฬา การเห็นการสูบบุหรี่ในทีวี/วีดีโอ/ภาพยนตร์ การสูบบุหรี่ของดาราที่ชื่นชอบ ความคิดเห็นต่อการสูบบุหรี่ในบ้าน ความคิดเห็นต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ในบางสถานที่ ได้แก่ โรงพยาบาล สถานที่ทำงาน ภัตตาคารที่มีเครื่องปรับอากาศ ศาสนสถาน ผับบาร์ และสถานที่ศึกษา ความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ การห้ามโฆษณา ณ จุดขาย การห้ามจำหน่ายบุหรี่ให้แก่เด็กต่ำกว่า 18 ปี และการห้ามโฆษณาและส่งเสริมการขาย ความคิดเห็นต่อบุหรี่รสอ่อน ความคิดเห็นต่ออุสาหกรรมยาสูบ ปัจจัยทำนายการสูบบุหรี่ของนักเรียนนักศึกษาหญิง พบว่าปัจจัยที่มีโอกาสสูงที่สุด คือ การมีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่จะมีโอกาสสูบบุหรี่สูงถึง 18 เท่าของคนไม่มีเพื่อนสนิทสูบ รองลงมาคือ การมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อการสูบบุหรี่จะมีโอกาสสูบสูงกว่าคนที่มีความคิดเห็นเชิงลบ 7.5 เท่า สำหรับปัจจัยด้านความเชื่อ และค่านิยมของวัยรุ่นหญิงจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะสูบบุหรี่ประมาณ 4 เท่า ได้แก่ เชื่อว่าสังคมย่อมรับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะสูบบุหรี่ประมาณ 4 เท่า ได้แก่ เชื่อว่าสังคมยอมรับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง การสูบบุหรี่เป็นสัญลักษณ์ของคนสมัยใหม่ และการรับรู้การสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง ยิ่งไปกว่านั้น การมีมารดาสูบบุหรี่จะมีโอกาสสูบบุหรี่ถึง 3.7 เท่า การป้องกันและแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ของนักเรียนนักศึกษาหญิงนั้น กระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้ออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย ควรใช้นโยบายสาธารณะเพื่อลดความต้องการโดยใช้มาตรการที่ไม่เกี่ยวกับราคา เช่น การบังคับใช้กฎหมายห้ามขายบุหรี่แก่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี อย่างจริงจัง และการเพิ่มอายุเยาวชนด้วย การใช้นโยบายสาธารณะเพื่อลดปริมาณสินค้า เช่น การตรวจจับกุมการลักลอบนำเข้ายาสูบ/บุหรี่ผิดกฎหมายในทุกรูปแบบ และการเฝ้าระวังสถานการณ์การบริโภคยาสูบตามพันธกิจกับองค์การอนามัยโลกในฐานะประเทศสมาชิก สำหรับกระทรวงศึกษาธิการซึ่งรับผิดชอบนักเรียนนักศึกษาหญิงโดยตรง ควรกำหนดนโยบาย “โรงเรียนปลอดบุหรี่” อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งควรให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนต่าง ๆ ในการดำเนินงานป้องกัน และควมคุมการสูบบุหรี่ของนักเรียนนักศึกษาหญิง สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป ควรวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือวัยรุ่นหญิงที่สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ และการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันวัยรุ่นหญิงที่สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ และการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันวัยรุ่นหญิงจากการสูบบุหรี่
  • Item
    รายงานผลการวิจัย เรื่อง โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบกับการรับสัมผัสควัน
    (2548) เนาวรัตน์ เจริญค้า; นิภาพรรณ กังสกุลนิติ; สตีเฟ่น ฮาแมนน์; สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์; Naowrut Charoenca; Nipapun Kungskulniti; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล
    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูดดมหรือรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง กับโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ รูปแบบการศึกษาเป็น Case-Control study เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองของเด็กที่ป่วยและพักรักษาตัวที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคหอบหืด ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบคือเด็กที่มาตรวจสุขภาพประจำปี จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 924 รายแบ่งเป็น กลุ่มศึกษา 462ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 462 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ Chi-square, t-test และ Multiple Logistic regression ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่มารดารับสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่มือสองขณะตั้งครรภ์ การมีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่อย่างน้อยหนึ่งคน การที่สมาชิกในบ้านที่สูบบุหรี่อุ้มเด็ก เล่นกับเด็กอย่างใกล้ชิด และป้อนอาหาร การที่เด็กสัมผัสสูดดมควันบุหรี่มือสองที่บ้านผู้อื่น และ ระหว่างเดินทาง การศึกษาของมารดาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา การศึกษาของบิดาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา การที่บิดาหรือมารดามีอาชีพรับจ้างและรายได้ครบครัวต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาทต่อเดือน เมื่อวิเคราะห์โดยการควคุมตัวแปรกวนแล้วพบว่า การที่สมาชิกในบ้านสูบบุหรี่อุ้มเด็ก เล่นกับเด็กอย่างใกล้ชิด และป้อนอาหารทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 4.4 เท่า (95%CI=2.8-7.0 การที่มารดารับสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่มือสองขณะตั้งครรภ์ทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 1.3 เท่า (95%CI=1.0-1.8) และเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคคคหืด 2.8 เท่า (95%CI=1.4-5.8) การที่ครอบครัวรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือนทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 2.1 เท่า (95%CI=1.3-3.2) การศึกษาของบิดาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 1.7 เท่า (95%CI=1.2-2.4) และการศึกษาของมารดาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 1.2 เท่า (95%CI=1.0-1.7) สรุปว่า การที่มารดารับสัมผันหรือสูดดมคสันบุหรี่มือสองขณะตั้งครรภ์ การที่สมาชิกในบ้านที่สูบบุหรี่อุ้มเด็ก เล่นกับเด็กอย่างใกล้ชิด และป้อนอาหาร เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เด็กป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่างและข้อเสนอแนะ ในการป้องกันเด็กจากการเจ็บป่วยจากโรคดังกล่าวก็คือ การทำให้บ้านเป็นเขตปลอดบุหรี่และการที่สตรีมีครรภ์และเด็กเล็กหลีกเลี่ยงจากการสัมผัสควันบุหรี่มือทองในสถานที่ใดก็ตามที่มีผู้สูบบุหรี่
  • Item
    การศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระดับตะกั่วในบรรยากาศที่มีผลต่อกลุ่มชนต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (2525) เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • Item
    รายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระดับตะกั่วในบรรยากาศที่มีผลต่อกลุ่มชนต่างๆในเขตกรุงเทพมหานคร
    (2525) เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • Item
    ประสิทธิผลของโครงการป้องกันและควบคุมเอดส์ในสถาบันครอบครัว โดยวิธีการสร้างพลังอำนาจในกลุ่มสตรี และการมีส่วนร่วมของชุมชน
    (2540) ประภาเพ็ญ สุวรรณ; สุรีย์ จันทรโมลี; วสันต์ ศิลปสุวรรณ; วรพรรณ รุ่งศิริวงศ์; Prapapen Suwan; Suree Chanthamolee; Wason Silpasuwan; Warapan Rungsiriwong; ประภาเพ็ญ สุวรรณ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
    อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ HIV ในประเทศไทย และข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ การรับรู้ และทัศนคติของแม่บ้านเกี่ยวกับเอดส์ รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ของกลุ่มแม่บ้าน / สตรี ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี การป้องกันและควมคุมเอดส์ในสถาบันครอบครัว โดยมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ กลุ่มแม่บ้านและสตรีในวัยเจริญพันธุ์ การได้มีความรู้ที่ถูกต้อง มีการรับรู้และมีทัศนคติต่อเอดส์ในทางที่พึงประสงค์ รวมทั้งการพัฒนาตนเองตามบทบาทและหน้าที่ของแม่บ้าน การสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและเป็นตัวของตัวเอง และการมองเห็นคุณค่าของตนเอง น่าจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่จะทำให้สตรีได้ตระหนักถึงภัยจากเอดส์ที่จะเกิดกับตนและครอบครัว และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมเอดส์ในครอบครัวของตน โดยมีการสื่อสารเกี่ยวกับเอดส์กับสามีและสมาชิกของครอบครัว การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาประสิทธิภาพของโครงการป้องกันและควมคุมเอดส์ในสถาบันครอบครัว โดย ทดลองวิธีการ 2 วิธีการ คือ การใช้วิธีการการสร้างพลังในสตรี และการให้ชุมชนมีส่วนร่วมโดยใช้การ วิจัยแบบ One-Group- pretest and Post-test Without Control Group วิธีการที่ 1 คือ การสร้างพลังในสตรีดำเนินการใน 4 หมู่บ้าน ของจังหวัดสระบุรี โดยใช้วิธีการ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การพัฒนาผู้นำสตรี ซึ่งดำเนินการใน 2 หมู่บ้าน ในตำบล หนองสีดา อำเภอ หนองแซง จังหวัดสระบุรี และรูปแบบที่ 2 เป็นการพัฒนาสตรีโดยตรง ซึ่งดำเนินการใน 2 หมู่บ้าน ในตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท และวิธีการ 2 คือ การใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน ได้ดำเนินการใน 1 หมู่บ้าน ในตำบลทุ่งขวาง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแม่บ้านและพ่อบ้านในหมู่บ้าน ที่ทำงานทดลอง 5 หมู่บ้าน จำนวนอย่างละ 50 คน ในแต่ละหมู่บ้าน รวมเป็นแม่บ้าน 250 คน และพ่อบ้าน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสำรวจความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ เกี่ยวกับเอดส์และ พฤติกรรมการสื่อสาร ระหว่างภรรยา - สามี ที่เกี่ยวกับเอดส์ คู่มือการสนทนากลุ่มเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ชุดการอบรมผู้นำสตรีและสตรีชุดการอบรมผู้นำชุมชน การรวบรวมข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์ กลุ่มแม่บ้านและพ่อบ้าน การสนทนากลุ่มกับกลุ่มสตรีตำบลละ 2 กลุ่ม และได้มีการติดตามผล และ อบรมเพิ่มเติมในบางประเด็น รวมทั้งการควบคุมกำกับเป็นระยะ ๆ การประเมินผลโครงการทำโดยการ เปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณก่อนและหลังโครงการ และการประเมินเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อ มูลจากการสนทนากลุ่มการประเมินผลการอบรมแต่ละครั้ง การสังเกต การอภิปราย การประเมิน กิจกรรม ที่กลุ่มได้ดำเนินการในแต่ละโครงการย่อย การสัมภาษณ์ในช่วงของการติดตาม/ควบคุมกำกับ และการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำสตรีและคณะกรรมการชุมชนเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผลการศึกษาพบว่าโครงการพัฒนาพลังของสตรีเพื่อป้องกันและควมคุมเอดส์ในครอบครัวโดยผ่าน ผู้นำสตรี และโดยการพัฒนาสตรีโดยตรง และโดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วม มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความรู้เกี่ยวกับเอดส์ของแม่บ้านและพ่อบ้าน และทำให้การสื่อสาร/พูดคุยเกี่ยวกับเอดส์ระหว่างภรรยา-สามี เพิ่มมากขึ้น แต่มีบางประเด็นของการรับรู้และทัศนคติต่อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ของกลุ่มแม่บ้านและพ่อบ้านยังไม่ถูกต้อง จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง การพัฒนาพลัง (Empowerment) ของสตรี จำเป็นจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องและเร่งด่วน รวมทั้งหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพ และควรจะสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มสตรีที่ได้ดำเนินการในหมู่บ้าน และควรจะได้พัฒนาร่วมกับกลุ่มสามีด้วย การประเมินเชิงคุณภาพของแต่ละโครงการและกิจกรรมย่อยชี้ให้เห็นว่า แต่ละกิจกรรรมได้ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ การดำเนินงานสร้างพลังในกลุ่มแม่บ้านโดยผ่านผู้นำสตรีนั้นมีข้อด้อย คือ การพัฒนาผู้นำสตรีให้ไปดำเนินการต่อนั้นทำได้ไม่ง่าย เพราะภาระกิจและศักยภาพของผู้นำสตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ใน กลุ่มที่พัฒนาพลังแม่บ้านโดยตรงนั้น น่าจะได้ผลดีกว่า แต่ต้องการความต่อเนื่องและลักษณะความเป็นผู้นำของชมรมแม่บ้าน / กลุ่มสตรีในหมู่บ้านในอันที่จะร่วมมือด้วย สำหรับในรูปแบบของการห้ชุมมชนมีส่วนร่วม โดยผ่านคณะกรรมการชุมชนนั้น พบว่าความเข้มแข็งและศักยภาพของคณะกรรมการเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ กลุ่มผู้นำชุมชนที่ดำเนินงานในโครงการนี้ มีความร่วมมือ, รวมตัวอย่างสม่ำเสมอ และมีความเข้ม แข็ง จึงได้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงขอเสนอแนะว่าการดำเนินโครงการป้องกันและควมคุมเอดส์ในครอบครัวนั้น น่าจะทำในลักษณะของคณะกรรมการชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และมีผู้แทนจากองค์กรสตรีร่วมด้วย และควรจะได้มีกิจกรรมที่มุ่งเน้นที่กลุ่มแม่บ้าน/สตรีในชุมชน และการนำเอาสามีมาร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครอบครัวด้วย แนวคิดในการรวมสรรพกำลังทางสังคม ( social Mobilization) โดยให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม (Equity) ให้สังคมได้รวมกลุ่มกันคิด ทำ และได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน (Solidarity) เพื่อสุขภาพดีที่ยั่งยืน (Sustainabity) น่าจะนำมาประยุกต์ได้ดี
  • Item
    การพัฒนาวิธีไบโอติน-สเตรปตาวิดิน เอนไซร์อิมมูโนดอทแอสเส เพื่อตรวจหาอิมมูโนโกลบูลินเอ็มต่อเชื้อไวรัสเด็งกิว
    (2536) ลีลา กิตติกูล; ชัยวัฒน์ กิตติกูล; ชาญชุติ จรรยาสัณห์; Lerra Kittigul; Charnchudhi Chanyasanha; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
    ในการรักษาและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยปัจจัยอย่างหนึ่งคือการมีวิธีทางห้องปฏิบัติการในการวินิจฉัยโรค เพื่อยืนยันผลการติดเชื้อไวรัสเด็งกิว ถ้าหากมีวิธีการที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็ว มีความไว และความ จำเพาะสูง ราคาไม่แพง ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่แพทย์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการควบคุมและเฝ้าระวังโรค เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคไข้เลือดออก ยิ่งกว่านั้น ถ้าวิธีการสามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพงหรือผู้ที่มีความชำนาญสูง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานทางด้านสาธารณสุขเพื่อนำไปใช้ในงานภาคสนามได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูงสุด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีไบโอติน-สเตรปตาวิดินเอนไซม์อิมมูโนดอทแอสเส สำหรับตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเด็งกิวในซีรัมผู้ป่วยไข้เด็งกิวและไข้เลือดออก เปรียบเทียบกับวิธี Hemagglutination Inhibition (HI) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยไข้เด็งกิวและไข้เลือดออก จำนวน 100 ราย และผู้ป่วยโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายไข้เลือดออก จำนวน 100 ราย เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งยืนยันผลการติดเชื้อไวรัสเด็งกิวโดยวิธี HI นำแอนติบอดีต่อ flavivirus ซึ่งเอามาจากผู้ป่วยไข้เลือดออกเด็งกิวที่มีไตเตอร์ของแอนติบอดีสูงๆมาทำให้บริสุทธิ์โดยวิธี Ion exchange chromatography (DEAE-cellulose) และนำไปเชื่อมติดกับไบโอติน ถ้าในซีรัมที่ศึกษามี IgM จะจับกับแอนติบอดีต่อ IgM ซึ่งเคลือบบนกระดาษไนโตรเซลลูโลส หลังจากเติมแอนติเจน. แอนติบอดีต่อ flavivirus ที่ติดฉลากด้วยไบโอติน, คอนจูเกต ที่ประกอบด้วยสเตรปตาวิดิน-เอนไซม์เปอร์ออกซิเดส และสับสเตรท จะเกิดสี ผลการศึกษาพบว่า เมื่อใช้ซีรัมระยะเริ่มป่วยและซีรัมระยะพักฟื้น วิธีไบโอติน-สเตรปตาวิดิน เอนไซน์อิมมูโนดอทแอสเส มีความไวร้อยละ 48 และร้อยละ 59 ความจำเพาะร้อยละ 56 และร้อยละ 58 ประสิทธิภาพร้อยละ 52 และร้อยละ 59 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 52 และร้อยละ 58 ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 52 และร้อยละ 59 ค่า agreement (kappa) เท่ากับ 0.38 (พอใช้) และ 0.45 (ปานกลาง) ตามลำดับ รายที่ให้ผลลบในทั้งสองซีรัมมีเพียง 25 ราย ดังนั้น ถ้าใช้ซีรัมคู่จะให้ผลบวกถึงร้อยละ 75 จะเห็นว่าวิธี ไบโอติน- สเตรปตาวิดิน เอนไซน์อิมมูโนดอทแอสเส มีความไวและความจำเพาะปานกลาง แต่สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้ผู้มีความรู้ความชำนาญสูง ใช้สารตัวอย่างน้อย โดยใช้ซีรัมเดียว อ่านผลดูการเกิดสีภายใน 9 ชั่วโมง น้ำยามีความคงทนและราคาไม่แพง ประมาณ 5 บาทต่อตัวอย่าง ถ้าหากมีการปรับปรุงในด้านความไวและความจำเพาะ วิธีนี้เหมาะสมอย่างยิ่งที่น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการสำหรับการติดเชื้อไวรัสเด็งกิว โดยเฉพาะในการทดสอบภาคสนามต่อไป
  • Item
    การใช้วิธีเอนซัมย์ลิงด์อิมมูโนซอบเบนท์แอสเสเพื่อยื่นยันทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไอกรน
    (2528) พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล; สมชาย พีระปกรณ์; เสาวลักษณ์ ลิมปิวัฒถี; ประจวบ สังฆสุวรรณ; Pipat Luksamijulkul; Somchai Phirapakorn; Saovalug Limpiwattakee; Prachuab Songkasuwan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
    An enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) was performed to measure serum Ig M and Ig G antibodies against Bordetella pertussis organisms of 62 pertussis patients and 102 healthy children. The validity of test was evaluated. It was found that the sensitivity , specificity and efficiency were 79.03 % , 91.18 % and 86.59 %, respectively. The duration of positive results for Ig M and Ig G ranged from < 2 weeks to 8 weeks after onset of cough . When the ELISA was compared with the bacterial agglutination method ( BA ) , it was found that the overall diagnostic agreement between the two tests was 53.22 %. The positive results of ELISA were greater than the BA method , significantly ( P.005 ) . The titers of agglutinating antibody showed positive correlation with serum Ig G (r = +0.7) but showed negative correlation with Ig M antibody (r = -0.2). The Utility of an ELISA was introduced for laboratory confirmation of pertussis outbreaks in Chiang-Rai and Nan Provinces during May to July, 1984. It showed that the ELISA was able to diagnose in most cases from the first serum sample. It may be a valuable technique for early diagnosis of pertussis.
  • Item
    การศึกษารูปแบบการให้บริการสุขภาพจิตผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
    (2543) จรวยพร สุภาพ; ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา; พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์; Jarueyporn Suparp; Chaiwat Wong-Arsa; Pimsurang Taechabunsermsak; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว
    การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นการทดลองให้บริการสุขภาพจิตผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม 2 รูป แบบ คือรูปแบบเป็นหน่วยเคลื่อนที่ และรูปแบบผสมผสาน โดยการให้บริการแก่ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อส่งออก 2 โรงงาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 433 คน ระยะเวลาดำเนินการให้บริการการทดลองตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2541 ถึง มกราคม 2542 และระยะเวลาการประเมินผลโครงการ กุมภาพันธ์ 2542 ถึง มกราคม 2543 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนของปัญหาสุขภาพจิต คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิต คะแนนเฉลี่ยความเครียด คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเริมสุขภาพ ระหว่างกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้รับบริการสุขภาพจิตเป็นหน่วยเคลื่อนที่ และแบบผสมผสาน ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในโครงการ การรับรู้ประโยชน์ของโครงการ ความคิดเห็นในการดำเนินการโครงการ ความคิดเห็นโครงการที่เหมาะสมต่องาน และการรับรู้ต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการทำงานของตนเองหลังเข้าร่วมโครงการระหว่างกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้รับบริการสุขภาพจิตเป็นหน่วยเคลื่อนที่ และแบบผสมผสาน หลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนปัญหาสุขภาพจิต คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของทั้งกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่และแบบผสมผสาน หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 6 เดือน ลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างหลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 6 เดือน พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของทั้ง 2 กลุ่ม เพิ่มขึ้น แต่กลุ่มแบบผสมผสานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนเฉลี่ยความเครียดของทั้ง 2 กลุ่ม หลังการทดลองทันทีลดลงจากของก่อนการทดลอง แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 6 เดือน พบว่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 6 เดือนของทั้ง 2 กลุ่ม คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม หลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 6 เดือน มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการทดลองทันทีกลุ่มแบบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโครงการ การรับรู้ประโยชน์ของโครงการต่อตนเอง ความคิดเห็นในการดำเนินโครงการต่อไป การรับรู้ต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการทำงานของตนเอง สูงกว่าของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นโครงการที่เหมาะสมต่อคนงานไม่แตกต่างกัน หลังการทดลอง 6 เดือนกลุ่มแบบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโครงการ ความคิดเห็นในการดำเนินโครงการต่อไป สูงกว่าของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ว่าโครงการได้มีการดำเนินการต่อเนื่องโครงการที่สิ้นสุดไปของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่สูงกว่าของกลุ่มแบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่ารูปแบบการบริการสุขภาพจิตทั้ง 2 รูปแบบ คือเป็นหน่วยเคลื่อนที่และแบบผสมผสาน สามารถส่งเสริมสุขภาพจิตกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้คล้ายคลึงกัน แต่กลุ่มตัวอย่างได้รับบริการสุขภาพจิตแบบผสมผสานมีความพึงพอใจโครงการอยากให้โครงการดำเนินการต่อไป การรับรู้ประโยชน์ของโครงการมากกว่าของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า การรับรู้ความเหมาะสมของโครงการต่อคนงานทั้ง 2 รูปแบบไม่แตกต่างกัน และการรับรู้การดำเนินการต่อเนื่องของโครงการของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่มีมากกว่า ดังนั้นแสดงว่าคนงานมีความพึงพอใจและรับรู้ประโยชน์ของโครงการแบบผสมผสานมากกว่า แต่ความเป็นไปได้ของความต่อเนื่องของโครงการเป็นหน่วยเคลื่อนที่มีมากกว่า
  • Item
    รายงานการวิจัยเชิงสำรวจวิชาชีพสาธารณสุขและการควบคุมการบริโภคยาสูบ
    (2550) สุรินธร กลัมพากร; สุวัฒนา เกิดม่วง; นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์; Surintorn  Kalampakorn ; Nithat Sirichotiratana; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข; Mahidol university. Faculty of Public Health. Department of Public Health Nursing; Mahidol university. Faculty of Public Health. Department of Public Health Administration
    การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาสาธารณสุข ตลอดจนนโยบายและหลักสูตรของสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ กลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาปีที่ 3 จำนวน 579 คน จากสถาบันการศึกษาสาธารณสุขที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์หลักสูตร 4 ปี จำนวน 8 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสาธารณสุขมีพฤติกรรมเคยลองสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 21.4 โดยพบพฤติกรรมเคยลองสูบบุหรี่ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 47.7 และร้อยละ 13.5 ตามลำดับ) และพบว่านักศึกษาสาธารณสุขมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบันร้อยละ 2.5 โดยพบพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 7.2 และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ) ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคยาสูบ นักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่านักสาธารณสุขควรเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้มารับบริการด้านสุขภาพและสาธารณชน (ร้อยละ 99.8) และควรมีบทบาทในการให้คำแนะนำหรือข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ป่วยและผู้มารับบริการด้านสุขภาพให้เลิกสูบบุหรี่ (ร้อยละ 99.5) ด้านนโยบายของคณะ/วิทยาลัย เกี่ยวกับการห้ามสูบบุหรี่ พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 55.3 ระบุว่า คณะ/วิทยาลัยมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการในการห้ามสูบบุหรี่ในทั้งในบริเวณพื้นที่ของคณะ/วิทยาลัยและบริเวณสถานที่ฝึกปฏิบัติการให้บริการสุขภาพ ด้านหลักสูตร/การฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริโภคยาสูบ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ได้รับการสอนเกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่ (ร้อยละ 92.0) แต่ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญในการบันทึกประวัติการสูบบุหรี่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติผู้รับบริการและได้รับการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการเรื่องวิธีการเลิกบุหรี่แก่ผู้สูบบุหรี่ ร้อยละ 46.5 และ 99.8 ตามลำดับ เพื่อให้นักสาธารณสุขสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสาธารณชนได้ สถาบันการศึกษาสาธารณสุขควรมีนโยบายของคณะ/วิทยาลัยที่ชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบและควรจัดให้มีเนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิธีการเลิกสูบบุหรี่แก่ผู้สูบบุหรี่ เพื่อให้ตอบสนองต่อกับความคิดเห็นของนักศึกษา ที่เห็นว่าผู้ที่อยู่ในวิชาชีพสาธารณสุขควรสามารถให้คำแนะนำรวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลิกสูบบุห
  • Item
    ผลการรักษาด้วยเก้าอี้สุขภาพ
    (2541) อัมพร โอตระกูล; กนกรัตน์ ศิริพานิชกร; จรวยพร สุภาพ; ชุติมา ศิริกุลชยานนท์; พิทยา จารุพูนผล; Amphorn Otrakul; Kanokrat Siripanichgon; Jaruayporn Suparp; Chutima Sirikulchayanonta; Phitaya Charupoonphol; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยา; Mahidol university. Faculty of Public Health. Department of Family Health; Mahidol university. Faculty of Public Health. Department of Microbiology; Mahidol university. Faculty of Public Health. Department of Nutrition
    านวิจัยนี้ได้ศึกษาประสิทธิผลของการรักษาด้วยเก้าอี้สุขภาพในผู้ป่วยด้วยโรคหรืออาการต่างๆ 6 ประเภท คือ ปวดข้อและกล้ามเนื้อ เครียด นอนไม่หลับ ภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน โดยทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างซึ่งมารับบริการที่คลินิกเก้าอี้สุขภาพระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายนปี 2540 จำนวน 61 ราย แต่สามารถนั่งเก้าอี้ครบตามกำหนด 30 ครั้ง (7 ครั้งแรกใช้เก้าอี้ 7,000 โวลต์ และ 23 ครั้งใช้เก้าอี้ 30,000 โวลต์ ครั้งละ 30 นาที) เพียง 47 ราย ในจำนวนนี้ 31 รายมีอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ, 8 รายเป็นโรคภูมิแพ้, 5 รายมีอาการนอนไม่หลับ, 5 รายมีความดันโลหิตสูง และ 4 รายเป็นโรคเบาหวาน ได้ทำการเจาะเลือดผู้ป่วยทุกรายก่อนนั่งเก้าอี้สุขภาพและเมื่อสิ้นสุดการรักษา เพื่อศึกษาเปรียบ เทียบการเปลี่ยนแปลงของ hemoglobin, hematocrit, white blood cells (differential counts), electrolytes (Na⁺, K⁺, Ca⁺⁺, Cl⁻ ions) , uric acid, BUN, creatinine, fasting blood sugar, cholesterol, triglycerides, HDL, และ LDL ก่อนและหลังการรักษา นอกจากนี้ยังประเมินประสิทธิผลการรักษาจากอาการและความรู้สึกเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผลการศึกษาพบว่าค่าปริมาณต่างๆ ในเลือดของผู้ป่วยก่อนและหลังการรักษาด้วยเก้าอี้สุขภาพคงเดิม และอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนอาการหรือโรคที่ผู่ป่วยรู้สึกดีขึ้นภายหลังการรักษาคือ ปวดข้อและกล้ามเนื้อ เครียด นอนไม่หลับ และภูมิแพ้ ส่วนความดันโลหิตสูงและเบาหวานไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากก่อนนั่งเก้าอี้ สุขภาพ