Subjectivity and polypharmacy using behavior among the elderly in the southern rural area of Thailand : an ethnographic study of a community in Nakhon Si Thammarat province
Issued Date
2024
Copyright Date
2020
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 174 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Social Sciences and Health))--Mahidol University, 2020
Suggested Citation
Tida Sottiyotin Subjectivity and polypharmacy using behavior among the elderly in the southern rural area of Thailand : an ethnographic study of a community in Nakhon Si Thammarat province. Thesis (Ph.D. (Social Sciences and Health))--Mahidol University, 2020. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92267
Title
Subjectivity and polypharmacy using behavior among the elderly in the southern rural area of Thailand : an ethnographic study of a community in Nakhon Si Thammarat province
Alternative Title(s)
อัตวิสัยและพฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากของผู้สูงอายุในชนบทภาคใต้ของไทย : การศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
Author(s)
Abstract
Elderly health issues is an important challenge that the world faces with the transition into an aging society. Previous studies have shown that the use of polypharmacy among the elderly in the world and the southern rural area of Thailand was increasing and has become the cause of health risks in the elderly. In addition, the increase of leftover medicine and medical expenditure are the empirical problems that occur in the community. The use of polypharmacy among the elderly always was described as irrational drug use or noncompliance behavior. The research objective is to describe subjectivity and behavior of polypharmacy under the context of the life of the elderly in society, culture, and drug distribution system in the southern region of Thailand. Critical ethnography was used in this study. A community in Nakhon Si Thammarat province was used as a research setting and eight elderly people were chosen for in-depth study for 10 months (February to November 2019). The polypharmacy using behavior was divided into eight patterns including continuous use, requesting a spare medication, using the self-adjusting dosage, using other medication together with a prescription, trial use, using medication along with lifestyle modification, using medication along with self-created medication management tools, and sharing of medication with others. The subjectivity of the informant who plays the role of the elderly, patient, and polypharmacy user was found to be diverse, fluid, and frequently changing. Elderly subjectivity was divided into two groups: positive and negative. The polypharmacy in the elderly's everyday life was defined by the etic viewpoint as a normal and reasonable phenomenon, while the behaviors were defined as the difference between health professional viewpoint and family member viewpoint. A large amount of medication that exists in the elderly lives is the result of two forces: the first is social and cultural power that push medication into the lives of the elderly, and the second is the elderly's active agency that is willing to use their received medication by the valuable meaning. The use of polypharmacy among the elderly is reasonable which related to the context of life and the complexity of subjectivity. This study recommends that the implementation of rational drug use policy should be directed by taking into accounts both local sociocultural, medical, and health care cultural context for balanced medication use in the life of the elderly and in promoting the use of medications that are worthwhile in terms of quality of life, clinical results, and economic value.
การก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยส่งผลให้ประเด็นสุขภาพของผู้สูงอายุกลายเป็นความท้าทายที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ งานวิจัยในอดีตหลายงานสะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์การใช้ยาจำนวนมากในผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นไม่เว้นแม้แต่ในชุมชนชนบทภาคใต้ของไทย พฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากของผู้สูงอายุมักถูกตีความในลักษณะของการไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่งและการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล ซึ่งนอกจากจะเป็นสาเหตุของความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเองแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหายาเหลือใช้และค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่จำเป็นใน ระดับชุมชนอีกด้วย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตวิสัยและพฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากภายใต้บริบทชีวิตของผู้สูงอายุในสังคม วัฒนธรรม และระบบการกระจายยาในพื้นที่ชนบทภาคใต้ของไทย เป็นการศึกษาด้วยวิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณนาเชิงวิพากษ์ โดยใช้ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นสนามวิจัยและทำการศึกษาเชิงลึกด้วยการฝังตัวในครอบครัวของผู้สูงอายุจำนวน 8 รายเป็นระยะเวลา 10 เดือน (กุมภาพันธ์-พฤศจิกายน 2562) ผลการศึกษาเผยให้เห็นว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากใน 8 ลักษณะ ได้แก่ ใช้ไปเรื่อยๆ ขอไว้เผื่อใช้ ปรับขนาดยาด้วยตนเอง ใช้ยาอื่นร่วมกับยาที่แพทย์สั่ง ลองใช้ดู ใช้ยาร่วมกับการปรับชีวิตประจำวัน ใช้ยาร่วมกับการสร้างเครื่องมือบริหารจัดการ และแบ่งยากันใช้กับผู้อื่น การดำรงอยู่ท่ามกลางบทบาทที่ซ้อนทับระหว่างการเป็นผู้สูงวัย ผู้ป่วย และผู้ใช้ยาจำนวนมากทำให้อัตวิสัยของผู้สูงอายุมีลักษณะที่ซับซ้อนและลื่นไหล ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อัตวิสัยเชิงบวกและอัตวิสัยเชิงลบ ผู้คนในชุมชนต่างให้นิยามความเจ็บป่วยและยาจำนวนมากในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุว่าเป็นสิ่งปกติและสมเหตุสมผล ในขณะที่มุมมองต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุมีลักษณะที่แตกต่างกัน การดำรงอยู่ของยาจำนวนมากในชีวิตประจำวันเป็นอิทธิพลของอำนาจจาก 2 ส่วน ได้แก่ อำนาจจากโครงสร้างสังคมวัฒนธรรมและระบบการแพทย์ที่ผลักให้ยาจำนวนมากเข้ามาสู่ชีวิตของผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอำนาจจากตัวของผู้สูงอายุเองที่ให้ความหมายอัน ทรงพลังแก่ยาที่ได้รับมา จนยากลายเป็นสิ่งจำเป็นและขาดไม่ได้ในที่สุด บทสรุปสำคัญของการศึกษาในครั้งนี้คือ พฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากของผู้สูงอายุมีเหตุผล เชื่อมโยงกับบริบทชีวิตและอัตวิสัยอย่างซับซ้อน การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า หากจะดำเนินนโยบายเพื่อการบริหารจัดการการใช้ยาจำนวนมากจำเป็นจะต้องกำหนดทิศทางให้ สอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งระบบสังคม การแพทย์ และวัฒนธรรม เพื่อให้การใช้ยาจำนวนมากเป็นไปอย่างสมดุลเกิดความคุ้มค่าทั้งในเชิงคลินิก เศรษฐศาสตร์ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง
การก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยส่งผลให้ประเด็นสุขภาพของผู้สูงอายุกลายเป็นความท้าทายที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ งานวิจัยในอดีตหลายงานสะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์การใช้ยาจำนวนมากในผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นไม่เว้นแม้แต่ในชุมชนชนบทภาคใต้ของไทย พฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากของผู้สูงอายุมักถูกตีความในลักษณะของการไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่งและการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล ซึ่งนอกจากจะเป็นสาเหตุของความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเองแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหายาเหลือใช้และค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่จำเป็นใน ระดับชุมชนอีกด้วย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตวิสัยและพฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากภายใต้บริบทชีวิตของผู้สูงอายุในสังคม วัฒนธรรม และระบบการกระจายยาในพื้นที่ชนบทภาคใต้ของไทย เป็นการศึกษาด้วยวิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณนาเชิงวิพากษ์ โดยใช้ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นสนามวิจัยและทำการศึกษาเชิงลึกด้วยการฝังตัวในครอบครัวของผู้สูงอายุจำนวน 8 รายเป็นระยะเวลา 10 เดือน (กุมภาพันธ์-พฤศจิกายน 2562) ผลการศึกษาเผยให้เห็นว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากใน 8 ลักษณะ ได้แก่ ใช้ไปเรื่อยๆ ขอไว้เผื่อใช้ ปรับขนาดยาด้วยตนเอง ใช้ยาอื่นร่วมกับยาที่แพทย์สั่ง ลองใช้ดู ใช้ยาร่วมกับการปรับชีวิตประจำวัน ใช้ยาร่วมกับการสร้างเครื่องมือบริหารจัดการ และแบ่งยากันใช้กับผู้อื่น การดำรงอยู่ท่ามกลางบทบาทที่ซ้อนทับระหว่างการเป็นผู้สูงวัย ผู้ป่วย และผู้ใช้ยาจำนวนมากทำให้อัตวิสัยของผู้สูงอายุมีลักษณะที่ซับซ้อนและลื่นไหล ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อัตวิสัยเชิงบวกและอัตวิสัยเชิงลบ ผู้คนในชุมชนต่างให้นิยามความเจ็บป่วยและยาจำนวนมากในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุว่าเป็นสิ่งปกติและสมเหตุสมผล ในขณะที่มุมมองต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุมีลักษณะที่แตกต่างกัน การดำรงอยู่ของยาจำนวนมากในชีวิตประจำวันเป็นอิทธิพลของอำนาจจาก 2 ส่วน ได้แก่ อำนาจจากโครงสร้างสังคมวัฒนธรรมและระบบการแพทย์ที่ผลักให้ยาจำนวนมากเข้ามาสู่ชีวิตของผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอำนาจจากตัวของผู้สูงอายุเองที่ให้ความหมายอัน ทรงพลังแก่ยาที่ได้รับมา จนยากลายเป็นสิ่งจำเป็นและขาดไม่ได้ในที่สุด บทสรุปสำคัญของการศึกษาในครั้งนี้คือ พฤติกรรมการใช้ยาจำนวนมากของผู้สูงอายุมีเหตุผล เชื่อมโยงกับบริบทชีวิตและอัตวิสัยอย่างซับซ้อน การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า หากจะดำเนินนโยบายเพื่อการบริหารจัดการการใช้ยาจำนวนมากจำเป็นจะต้องกำหนดทิศทางให้ สอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งระบบสังคม การแพทย์ และวัฒนธรรม เพื่อให้การใช้ยาจำนวนมากเป็นไปอย่างสมดุลเกิดความคุ้มค่าทั้งในเชิงคลินิก เศรษฐศาสตร์ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง
Description
Social Sciences and Health (Mahidol University 2020)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Social Sciences and Health
Degree Grantor(s)
Mahidol University