ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 199 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล 2562
Suggested Citation
ธนัญกรณ์ ทองเลิศ ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม . วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91945
Title
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
Alternative Title(s)
Factor affecting performance efficiency of the permanent secretary's office for Ministry of Industry
Author(s)
Abstract
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาในการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบสอบถาม และ 2) แบบสัมภาษณ์ มีการหาคุณภาพของเครื่องมือด้วยวิธีการของคอนบาค (Cronbach's Alpha) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.88 โดยจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการและพนักงานราชการ และผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 5 คนได้แก่ ผู้บริหารหรือหัวหน้ากลุ่มงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ(Multiple Regression Analysis) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้ง 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ความทันเวลา คุณภาพของงานและผลสำเร็จของงาน อีก1ด้านอยู่ในระดับมากคือด้านปริมาณ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน คือ บรรยากาศ/สภาพแวดล้อม และความผูกพันขององค์กรที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 3) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรค คือ นโยบายวิสัยทัศน์ขององค์กร วัฒนธรรม/การมีส่วนร่วม และบุคลากรขาดศักยภาพในการปฏิบัติงาน มีแนวทางแก้ไขปัญหาโดยภาพรวม คือ องค์กรแจ้งนโยบายวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน ใช้หลักธรรมาภิบาล ทำงานเป็นทีม ให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้วยการอบรม การสัมมนาอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงาน คือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร สนับสนุนความมั่นคงและความก้าวหน้า ส่งเสริมความผูกพัน ความสามัคคีในการทำงานและนำเทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงาน เพื่อความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
The purposes of this research were 1) to study the level of performance efficiency of the permanent secretary's office, 2) to study the factors affecting performance efficiency of the permanent secretary's office, and 3) to study the problems and obstacles and give the recommendations on developing guidelines for improving performance of the permanent secretary's office. Data were collected from 308 persons comprising the officials and the government employees using a questionnaire that achieved Cronbach's Alpha value of 0.88 for reliability, and in-depth interviews with 5 executives or the heads of group. Statistics used for analysis were percentage, mean, and standard deviation, multiple regression analysis and content analysis. The research findings indicated that 1) performance efficiency in all aspects was found to be at the highest level. When considering each aspect, it was found that quality, time and achievement were at the highest level, while quantity was at a high level. 2) The factors affecting performance efficiency were climate and environment, and commitment (p < 0.05). 3) The problems and obstacles were related with policy and vision, culture and participation, and lack of staffs. To solve these problems, guidelines suggested the organization inform policy and vision clearly, use good governance, support teamwork, and encourage the staffs to develop their skills. through training and seminars. Recommendations on developing guidelines for improving performance were to encourage staff development, stability, advancement and commitment using technology in the operation, which could help increase performance efficiency.
The purposes of this research were 1) to study the level of performance efficiency of the permanent secretary's office, 2) to study the factors affecting performance efficiency of the permanent secretary's office, and 3) to study the problems and obstacles and give the recommendations on developing guidelines for improving performance of the permanent secretary's office. Data were collected from 308 persons comprising the officials and the government employees using a questionnaire that achieved Cronbach's Alpha value of 0.88 for reliability, and in-depth interviews with 5 executives or the heads of group. Statistics used for analysis were percentage, mean, and standard deviation, multiple regression analysis and content analysis. The research findings indicated that 1) performance efficiency in all aspects was found to be at the highest level. When considering each aspect, it was found that quality, time and achievement were at the highest level, while quantity was at a high level. 2) The factors affecting performance efficiency were climate and environment, and commitment (p < 0.05). 3) The problems and obstacles were related with policy and vision, culture and participation, and lack of staffs. To solve these problems, guidelines suggested the organization inform policy and vision clearly, use good governance, support teamwork, and encourage the staffs to develop their skills. through training and seminars. Recommendations on developing guidelines for improving performance were to encourage staff development, stability, advancement and commitment using technology in the operation, which could help increase performance efficiency.
Description
นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล