การศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดกรุงเทพมหานครในการเฝ้าระวังปัญหานักเรียนที่ประพฤติตนไม่สมควร
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 146 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
เนติ รุ่งฟ้าแสงอรุณ การศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดกรุงเทพมหานครในการเฝ้าระวังปัญหานักเรียนที่ประพฤติตนไม่สมควร. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93461
Title
การศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดกรุงเทพมหานครในการเฝ้าระวังปัญหานักเรียนที่ประพฤติตนไม่สมควร
Alternative Title(s)
A Bangkok high school students' participation in surveillance of student misconduct research
Author(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการเฝ้าระวังปัญหานักเรียนประพฤติตนไม่ สมควร ปัจจัยซึ่งสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการเฝ้าระวังปัญหานักเรียนประพฤติตนไม่สมควร และเพื่อหาแนวทางเป็น รูปแบบการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการเฝ้าระวังปัญหานักเรียนประพฤติตนไม่สมควร วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสานทั้งการวิจัย เชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ(Mixed method) ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 335 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จำนวน 17 คน โดยใช้แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์เชิง โครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์แบบ Chi-squareและใช้การพรรณนาประกอบการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า 1. ด้านปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.00 ไม่เป็นสมาชิกใด ๆ ของ โรงเรียน บิดามารดาอยู่ด้วยกัน รายได้ของครอบครัวอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาทต่อเดือน อาศัยที่บ้านของบิดา มารดา บ้านพัก ส่วนใหญ่เป็นบ้านตึก และบริเวณใกล้เคียงที่พักเป็นบ้านจัดสรร 2. ด้านการมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ปัญหานักเรียนประพฤติตนไม่สมควร การตัดสินใจเพื่อวางแผนป้องกัน การปฏิบัติและประเมินสถานการณ์ การติดตามและประเมินผล พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการมีส่วนร่วม ได้แก่คะแนนเฉลี่ย การเป็นสมาชิกในองค์กรภายในโรงเรียน เรื่องรายได้ครอบครัวลักษณะบ้านพักอาศัย และ บริเวณใกล้เคียงบ้านพัก 3. ปัญหานักเรียนประพฤติตนไม่สมควร พบว่า การมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ได้แก่ การสูบบุหรี่ ปัญหาชู้สาว และ การติดสารเสพติด การหนีเรียน มาสาย และการจับกลุ่มมั่วสุมกัน แนวทางการพัฒนา ได้แก่ การจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองและ ชุมชน การสอนให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม และการสร้างจิตสาธารณะให้นักเรียนสามารถทำงานร่วมกันเป็น ทีม และจัดโครงการผู้ปกครองและศิษย์เก่าให้ความร่วมมือสอดส่องพฤติกรรมนักเรียน เป็นต้น ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ได้แก่ การให้นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มโครงงานและปฏิบัติงานในโครงการด้วยตนเอง การ สร้างแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนที่มีส่วนร่วมระดับห้องเรียน ชั้นเรียน และโรงเรียน โดยการให้รางวัล และเชิดชูเกียรติ ให้มีกิจกรรม ที่ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู เตรียมการ เพื่อป้องกันและรับมือ ประสานกับหน่วยงานอื่นร่วมหาแนวทางพัฒนาด้านต่าง ๆ ศึกษาพันธะทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมนักเรียน ศึกษานักเรียนในระดับ ช่วงชั้นอื่น โรงเรียนที่ขึ้นตรงกับสังกัดอื่นทั้งในระบบ และนอกระบบโรงเรียน
The objectives of this research were to study the involvement of students in the surveillance problem on student misconduct and delineate factors associated with such participation, including proposing a model for the involvement of students in the surveillance problem of student misconduct. Three hundred and thirty-five high school students from various schools in Metropolitan Bangkok and 17 educational officers were the sample. This was a mixed method study (quantitative research and the qualitative method). A questionnaire and structured interview were used to collect data. The data were analyzed through mean, standard deviation, chi-square, and correlation analysis. The results showed that among personal factors, the majority of the sample are male, the average GPA is between 2.51 to 3.00, they are not a member of any program of the school, their parents still live together, family income is between 10,001 to 20,000 baht per month andthey are living at the home of their parents. The levels of involvement of students in the surveillance problem on student misconduct, participation in activities,whether on prevention plan, assessing the situation, monitoring, and evaluation, were all found to be moderate. The factors associated with such participation are grade point average, the membership in organizations within the school, housing and the average household income, residentialcharacteristics, and nearbyresidential area. Regarding the problem of student misconduct, it was found that inappropriate behavior includes sexual problems, smoking and drug addiction, tardiness and loafing. Development activities include collaboration with parents and the community, teaching and cultivating discipline, developing self and collective responsibilities, encouraging public mindedness and team spirit, creating programs of cooperation for alumni, and monitoring of behavior by parents and students. The recommendations from this study are to provide student initiated projects, set good role models for the students at the school,provide citations for good behavior, create activities for the teachers, students, parents and the community together, train teachers to educate and prepare to cope with youth, and coordinate with other agencies to develop joint activities, study social bonds that affect students' behavior, including studying students in the other school systems.
The objectives of this research were to study the involvement of students in the surveillance problem on student misconduct and delineate factors associated with such participation, including proposing a model for the involvement of students in the surveillance problem of student misconduct. Three hundred and thirty-five high school students from various schools in Metropolitan Bangkok and 17 educational officers were the sample. This was a mixed method study (quantitative research and the qualitative method). A questionnaire and structured interview were used to collect data. The data were analyzed through mean, standard deviation, chi-square, and correlation analysis. The results showed that among personal factors, the majority of the sample are male, the average GPA is between 2.51 to 3.00, they are not a member of any program of the school, their parents still live together, family income is between 10,001 to 20,000 baht per month andthey are living at the home of their parents. The levels of involvement of students in the surveillance problem on student misconduct, participation in activities,whether on prevention plan, assessing the situation, monitoring, and evaluation, were all found to be moderate. The factors associated with such participation are grade point average, the membership in organizations within the school, housing and the average household income, residentialcharacteristics, and nearbyresidential area. Regarding the problem of student misconduct, it was found that inappropriate behavior includes sexual problems, smoking and drug addiction, tardiness and loafing. Development activities include collaboration with parents and the community, teaching and cultivating discipline, developing self and collective responsibilities, encouraging public mindedness and team spirit, creating programs of cooperation for alumni, and monitoring of behavior by parents and students. The recommendations from this study are to provide student initiated projects, set good role models for the students at the school,provide citations for good behavior, create activities for the teachers, students, parents and the community together, train teachers to educate and prepare to cope with youth, and coordinate with other agencies to develop joint activities, study social bonds that affect students' behavior, including studying students in the other school systems.
Description
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล