ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด การดำรงบทบาทภรรยา สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสกับคุณภาพชีวิตของสตรีที่มีบุตรยาก
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 147 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
จรัญญา ดีจะโปะ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด การดำรงบทบาทภรรยา สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสกับคุณภาพชีวิตของสตรีที่มีบุตรยาก. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93339
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด การดำรงบทบาทภรรยา สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสกับคุณภาพชีวิตของสตรีที่มีบุตรยาก
Alternative Title(s)
The relationships between personal factors, stress, the wife role, marital relationship, and quality of life among infertile women
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว ความเครียด การดำรงบทบาทภรรยา และสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส กับคุณภาพชีวิต ของสตรีที่มีบุตรยาก โดยใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตของเฟอร์รานส์และคณะ (2005) เป็นกรอบในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มีบุตรยากที่อยู่ระหว่างการแก้ไขการมีบุตรยากโดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ณ ศูนย์สุขภาพโคราช คลินิกหมอจารัส ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 62 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียดของสตรีที่มีบุตรยาก แบบประเมินการดำรงบทบาทภรรยา แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส และแบบประเมินคุณภาพชีวิตสตรีที่มีบุตรยาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส และการดำรงบทบาทภรรยามีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของสตรีที่มีบุตรยาก (r = .54, p < .05; r = .38, p < .05 ตามลำดับ) ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของสตรีที่มีบุตรยาก (r = -.50, p < .05) ส่วนอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสตรีที่มีบุตรยาก ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสตรีที่มีบุตรยาก พยาบาลควรประเมินปัจจัยด้านการรับรู้ความเครียด ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสและการดำรงบทบาทภรรยาของสตรีที่มีบุตรยากด้วย
This descriptive research was to examine the relationships between personal factors, stress, the wife's role, marital relationship, and quality of life among infertile women. Ferrans and colleagues' Health-Related Quality of Life (2005) was used as the conceptual framework for this study. The purposive sample consisted of 62 infertile women who received assisted reproductive technologies treatment at Korat Health Center (Dr. Jamrat's private clinic), Nakhonratchasima, Thailand, from June to July 2016. Instruments used to collect data were the Demographic Data Questionnaire, Fertility Problem Inventory, Wife's Role Expectation Questionnaire, The Dyadic Adjustment Scale, and WHOQOL- BREF-THAI. Descriptive statistics and Pearson's product moment correlation were used to analyze the data. Results of the study revealed that the sample had high level of quality of life. Marital relationship and the wife's role were positively related to quality of life (r = .54, p < .05 r = .38, p < .05 respectively). Stress was negatively related to quality of life (r = -.50, p < .05). Age, educational level and family income were not correlated with quality of life. The findings of this study suggest that nurses should assess stress, marital relationship, and the wife's role of infertile women to promote quality of life among infertile women.
This descriptive research was to examine the relationships between personal factors, stress, the wife's role, marital relationship, and quality of life among infertile women. Ferrans and colleagues' Health-Related Quality of Life (2005) was used as the conceptual framework for this study. The purposive sample consisted of 62 infertile women who received assisted reproductive technologies treatment at Korat Health Center (Dr. Jamrat's private clinic), Nakhonratchasima, Thailand, from June to July 2016. Instruments used to collect data were the Demographic Data Questionnaire, Fertility Problem Inventory, Wife's Role Expectation Questionnaire, The Dyadic Adjustment Scale, and WHOQOL- BREF-THAI. Descriptive statistics and Pearson's product moment correlation were used to analyze the data. Results of the study revealed that the sample had high level of quality of life. Marital relationship and the wife's role were positively related to quality of life (r = .54, p < .05 r = .38, p < .05 respectively). Stress was negatively related to quality of life (r = -.50, p < .05). Age, educational level and family income were not correlated with quality of life. The findings of this study suggest that nurses should assess stress, marital relationship, and the wife's role of infertile women to promote quality of life among infertile women.
Description
การผดุงครรภ์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Degree Discipline
การผดุงครรภ์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล