การพัฒนาอุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียงเพื่อตอบสนองการลงน้ำหนักของขา ขณะก้าวเดินเพื่อการทรงตัวในผู้สูงอายุไทย
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 115 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
นิศารัตน์ ลี้ภัยรีเวส การพัฒนาอุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียงเพื่อตอบสนองการลงน้ำหนักของขา ขณะก้าวเดินเพื่อการทรงตัวในผู้สูงอายุไทย . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91948
Title
การพัฒนาอุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียงเพื่อตอบสนองการลงน้ำหนักของขา ขณะก้าวเดินเพื่อการทรงตัวในผู้สูงอายุไทย
Alternative Title(s)
Development of auditory biofeedback insole to respond to the weight distribution during walking in order to improve gait balancing in Thai elderly
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียงเพื่อตอบสนองกลับการลงน้ำหนักของขาขณะก้าวเดินเพื่อการทรงตัวในผู้สูงอายุไทย โดยมีการทดสอบและประเมินประสิทธิผลของอุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียงกับผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไป ซึ่งใช้อุปกรณ์หรือคนช่วยพยุงในการเดิน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 10 คน ประเด็นในการประเมินประกอบด้วย ความพึงพอใจและความคิดเห็นในการใช้อุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียง การทรงตัว การทรงตัวในขณะเคลื่อนไหวและความมั่นใจในการเดิน โดยเปรียบเทียบผลก่อนใช้และหลังใช้อุปกรณ์ ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์มากกว่าระดับพอใช้ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การทรงตัวของผู้สูงอายุโดยวัดจากค่าเฉลี่ยคะแนน Berg Balance Scale ดีขึ้นหลังใช้อุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียงที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับในด้านของการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวโดยวัดจากค่าเฉลี่ยระยะเวลา Time Up and Go Test เท่าเดิมหรือไม่ดีขึ้นที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และความมั่นใจในการเดินโดยวัดจากค่าเฉลี่ยคะแนน Thai FES-I หลังใช้อุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียง มีคะแนนที่เปลี่ยนไปอย่างไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า อุปกรณ์เสริมติดรองเท้าแบบมีเสียงมีผลดีต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุมีความพึงพอใจมากกว่าระดับพอใช้ และมีความเห็นว่าเหมาะสมและมีประโยชน์ในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
This research aimed to design and develop auditory feedback insole to respond to the foot loading in gait for Thai elderly people. The equipment was tested and appraised by a group of elderly people who were over 70 years old and required support in order to walk. Ten participants were selected using purposive sampling. The appraisal areas included: satisfaction score and comments after using the equipment, balancing, balancing with mobility and gait confidence. It was found that satisfaction level after usage was at a medium level or higher. The study compared the said areas before and after usage. The study found that balancing (measured by Berg Balance Scale) improved with sig level of 0.05. Balancing with mobility (measured by Time Up and Go Test) remained the same or did not improve. Gait confidence (measured using Thai FES-I) did not show significant change. In conclusion, the shoe insole from this study benefits the balancing of the elderly, with medium or higher satisfaction level, and suitable for use in daily activities.
This research aimed to design and develop auditory feedback insole to respond to the foot loading in gait for Thai elderly people. The equipment was tested and appraised by a group of elderly people who were over 70 years old and required support in order to walk. Ten participants were selected using purposive sampling. The appraisal areas included: satisfaction score and comments after using the equipment, balancing, balancing with mobility and gait confidence. It was found that satisfaction level after usage was at a medium level or higher. The study compared the said areas before and after usage. The study found that balancing (measured by Berg Balance Scale) improved with sig level of 0.05. Balancing with mobility (measured by Time Up and Go Test) remained the same or did not improve. Gait confidence (measured using Thai FES-I) did not show significant change. In conclusion, the shoe insole from this study benefits the balancing of the elderly, with medium or higher satisfaction level, and suitable for use in daily activities.
Description
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล