Intervention program for depression prevention among rice farmers in Thailand
Issued Date
2023
Copyright Date
2016
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 220 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Dr.P.H. (Public Health Nursing))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Suda Hanklang Intervention program for depression prevention among rice farmers in Thailand. Thesis (Dr.P.H. (Public Health Nursing))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89981
Title
Intervention program for depression prevention among rice farmers in Thailand
Alternative Title(s)
โปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้าสำหรับชาวนาในประเทศไทย
Author(s)
Abstract
Depression is pervasive among farmers. Although depression is a treatable condition, information on suitable programs against depression of farmers is now limited. In this study researchers have tried to establish an effective program against depression symptoms of farmers in Thailand. In the first phase, researchers tried to find the risk factors, and in the second phase, researchers sought to clarify the effect of the program containing the measures against risk factors. In the first phase, a cross-sectional study was used to examine the risk factors by gender among 459 male and 588 female rice farmers. Multiple logistic regression analysis was used to examine the factors associated with depression symptoms. Concerning health, eating healthy food, preparing to prevent the problem, having community integration, loud machines, and using the PPE during work with chemical substances were associated factors among males with depression symptoms. Interest of family in talking with the participant, being an accepted person in the community, loud machines, and work-related financial hardship were predictors among females with depression symptoms. The results of the first phase study suggested the support for health action, working styles, and an accepting atmosphere should be included in the program. In the second phase, a randomized controlled trial was conducted to investigate the effects of the program containing the chemical intoxication prevention and the communication skills improvement on the depression symptoms among rice farmers. Ninety-two rice farmers (mean age was 49 years old) with mild-to-moderate depression symptoms, as measured by the CES-D, were randomly assigned for 6 weeks to either a program for chemical intoxication prevention or one for improving the communication skills in the family. The participants were then crossed over to the alternate program for an additional 6-week period. Both programs consisted of lecture and small group discussion on the starting day and a home visit by village health volunteers for 4 weeks from the starting day. After participation in the program, the CES-D score showed a significant decrease. No interaction was obtained between the two programs. The decreased CES-D score in the program for improving the communication skills were significantly related to the changes in the scales for knowledge, attitude and behavior on improving communication skills even after being adjusted using personal and communication factors. The decreased CES-D score in the program for chemical intoxication prevention were significantly related to the change in the scale for behavior on chemical intoxication prevention. The findings in this study suggest that the program containing the chemical intoxication prevention or improving communication skills may be effective in improving a depressive state of rice farmers with mild-to-moderate depression symptoms.
โรคซึมเศร้าพบได้อย่างแพร่หลายในชาวนา ถึงแม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นภาวะที่รักษาได้ แต่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการป้องกันโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมีอยู่จำกัด ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้จัดทำโปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้าสำหรับชาวนาในประเทศไทย ในการศึกษาระยะที่หนึ่ง ผู้วิจัยศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า และในระยะที่สองผู้วิจัยศึกษาผลของโปรแกรมซึ่งประกอบด้วยวิธีการในการป้องกันปัจจัยเสี่ยง ในการศึกษาระยะที่หนึ่งใช้การศึกษาสำรวจภาคตัดขวางเพื่อค้นหาปัจจัยสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าโดยจำแนกตามเพศในชาวนา เพศชาย 459 คน และเพศหญิง 588 คน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าโดยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในเพศชาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ, การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์, การเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญปัญหา, การอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างปรองดอง, การทำงานกับ เครื่องจักรที่มีเสียงดัง และการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายในการทำงานกับสารเคมี ปัจจัยทำนายในเพศหญิง ได้แก่ ความสนใจของครอบครัวในการพูดคุยกัน, การได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน, การทำงานกับเครื่องจักรที่มีเสียงดัง และภาวะยากลำบากทางการเงินอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน จากผลการศึกษาในระยะที่หนึ่งให้ข้อเสนอแนะได้ว่าการสนับสนุนด้านสุขภาพ รูปแบบการทำงาน และการยอมรับสภาพแวดล้อมควรประกอบอยู่ในโปรแกรมในระยะที่สอง ใช้การทดลองแบบสุ่มเพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ประกอบด้วย การป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตร และการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัวที่มีต่อภาวะซึมเศร้าในชาวนา ชาวนาจำนวน 92 คน (อายุเฉลี่ย 49 ปี) ที่มี อาการซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยประเมินจากแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (CES-D) ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และสุ่มเพื่อให้ได้รับโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรหรือโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัวโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งก่อน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ จากนั้นจึงสลับไขว้กันเข้าสู่อีกหนึ่งโปรแกรม เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์เช่นเดียวกันรูปแบบกิจกรรมของทั้งสองโปรแกรมประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิต และการอภิปรายกลุ่มซึ่งจัดในวันเริ่มต้น และการติดตามเยี่ยมที่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นเวลา 4 สัปดาห์นับจากวันเริ่มต้น ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ภาวะซึมเศร้าของชาวนาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองโปรแกรม การลดลงของคะแนนภาวะซึมเศร้าในโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัวมีความความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเปลี่ยนแปลงของคะแนน ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวแม้หลังการปรับค่าโดยควบคุมตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการสื่อสารการลดลงของคะแนนภาวะซึมเศร้าในโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเปลี่ยนแปลงของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรจากผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีทางการเกษตรและการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัวสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลางในชาวนาได้
โรคซึมเศร้าพบได้อย่างแพร่หลายในชาวนา ถึงแม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นภาวะที่รักษาได้ แต่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการป้องกันโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมีอยู่จำกัด ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้จัดทำโปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้าสำหรับชาวนาในประเทศไทย ในการศึกษาระยะที่หนึ่ง ผู้วิจัยศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า และในระยะที่สองผู้วิจัยศึกษาผลของโปรแกรมซึ่งประกอบด้วยวิธีการในการป้องกันปัจจัยเสี่ยง ในการศึกษาระยะที่หนึ่งใช้การศึกษาสำรวจภาคตัดขวางเพื่อค้นหาปัจจัยสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าโดยจำแนกตามเพศในชาวนา เพศชาย 459 คน และเพศหญิง 588 คน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าโดยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในเพศชาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ, การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์, การเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญปัญหา, การอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างปรองดอง, การทำงานกับ เครื่องจักรที่มีเสียงดัง และการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายในการทำงานกับสารเคมี ปัจจัยทำนายในเพศหญิง ได้แก่ ความสนใจของครอบครัวในการพูดคุยกัน, การได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน, การทำงานกับเครื่องจักรที่มีเสียงดัง และภาวะยากลำบากทางการเงินอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน จากผลการศึกษาในระยะที่หนึ่งให้ข้อเสนอแนะได้ว่าการสนับสนุนด้านสุขภาพ รูปแบบการทำงาน และการยอมรับสภาพแวดล้อมควรประกอบอยู่ในโปรแกรมในระยะที่สอง ใช้การทดลองแบบสุ่มเพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ประกอบด้วย การป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตร และการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัวที่มีต่อภาวะซึมเศร้าในชาวนา ชาวนาจำนวน 92 คน (อายุเฉลี่ย 49 ปี) ที่มี อาการซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยประเมินจากแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (CES-D) ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และสุ่มเพื่อให้ได้รับโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรหรือโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัวโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งก่อน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ จากนั้นจึงสลับไขว้กันเข้าสู่อีกหนึ่งโปรแกรม เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์เช่นเดียวกันรูปแบบกิจกรรมของทั้งสองโปรแกรมประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิต และการอภิปรายกลุ่มซึ่งจัดในวันเริ่มต้น และการติดตามเยี่ยมที่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นเวลา 4 สัปดาห์นับจากวันเริ่มต้น ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ภาวะซึมเศร้าของชาวนาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองโปรแกรม การลดลงของคะแนนภาวะซึมเศร้าในโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัวมีความความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเปลี่ยนแปลงของคะแนน ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวแม้หลังการปรับค่าโดยควบคุมตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการสื่อสารการลดลงของคะแนนภาวะซึมเศร้าในโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเปลี่ยนแปลงของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรจากผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีทางการเกษตรและการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัวสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลางในชาวนาได้
Degree Name
Doctor of Public Health
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Public Health Nursing
Degree Grantor(s)
Mahidol University