การศึกษาวิเคราะห์แนวพระราชดำริทางพระพุทธศาสนาในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Issued Date
2550
Copyright Date
2550
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 279 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
Suggested Citation
พระมหาสุรชัย ชูคง การศึกษาวิเคราะห์แนวพระราชดำริทางพระพุทธศาสนาในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93927
Title
การศึกษาวิเคราะห์แนวพระราชดำริทางพระพุทธศาสนาในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Alternative Title(s)
Analytical study of buddhist thoughts in King Mongkut's writings
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวพระราชดำริทางพระพุทธศาสนาในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชจริยาวัตร หลักธรรมและพระราชดำริทางพระพุทธศาสนาของพระองค์ โดยวิธีการศึกษาภาคเอกสารประกอบด้วยพระราชนิพนธ์ภาษาบาลีและภาษาไทย รวมทั้งหมด 45 เรื่อง ใช้การนำเสนอในเชิงพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า พระราชนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนาในรัชกาลที่ 4 มีลักษณะเด่นคือ 1) มุ่งนำเสนอหลักธรรมเพื่อต้องการให้ผู้ศึกษาเข้าใจถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎก 2) เชื่อมั่นในอำนาจพระรัตนตรัย และชี้นำให้เห็นคุณค่าพระนิพพานว่า เป็นสิ่งทำให้พ้นทุกข์ได้จริง 3) มุ่งเน้นการพิจารณา ตรวจสอบ ด้วยการใช้เหตุผลตามประสบการณ์ประจักษ์ มีเป้าหมายตามขั้นตอนของชีวิตในส่วนมนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ 4) นำเสนอหลักพุทธธรรมแนวใหม่ คือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ และการใช้เหตุผล พร้อมทั้งนำเสนอหลักการ วิธีการ เป้าหมาย ที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ ผู้วิจัยเสนอแนะให้ผู้ที่สนใจศึกษาแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 ควรศึกษาค้นคว้าเชิงลึกถึงแนวพระราชดำริทางศาสนาในพระราชหัตถเลขา และประกาศคณะสงฆ์ เพราะว่าพระราชดำริของพระองค์ในเอกสารพระราชนิพนธ์ทั้งสองประเภทนี้จะสะท้อนให้เห็นพระราชดำริด้านการพระศาสนา การปกครองคณะสงฆ์ รวมถึงการจัดระเบียบคณะสงฆ์และสังคมไทยด้วย
The purpose of this thesis is to analyze the Buddhist thoughts in King Mongkut's writings, including his biography, works, behaviors, and principles based on his documents both in Pali and Thai from a total of 45 books and presented by description. The result reveals that King Mongkut's writings consist of four outstanding points; 1) an intention to present the right principles according to Tipitaka for the reader, 2) a strong belief in the Triple Gem and realization of the benefits of Nirvana which can lead to the end of sufferings absolutely, 3) a determination to focus on screening of Dharma by the empirical study for the real life of Human prosperity, heavenly prosperity and successful attainment of Nirvana, 4) a presentation of new view points of Dharma in the terms of analyzing, synthesizing, applying, and reasoning, along with a presentation of the principals, the meaning and the goal which are mainly right according to Dharma and Vinaya (disciplines). The researcher suggests that a person with an interest in studying King Mongkut's thoughts should also profoundly investigate his royal thoughts in the letters written by his royal scribes and in the Act of Sangkha Registration as King Mongkut's thoughts in these documents could reflect his opinion related to religion, the Sangkha Administration, and the Sankha's regulation and Thai society.
The purpose of this thesis is to analyze the Buddhist thoughts in King Mongkut's writings, including his biography, works, behaviors, and principles based on his documents both in Pali and Thai from a total of 45 books and presented by description. The result reveals that King Mongkut's writings consist of four outstanding points; 1) an intention to present the right principles according to Tipitaka for the reader, 2) a strong belief in the Triple Gem and realization of the benefits of Nirvana which can lead to the end of sufferings absolutely, 3) a determination to focus on screening of Dharma by the empirical study for the real life of Human prosperity, heavenly prosperity and successful attainment of Nirvana, 4) a presentation of new view points of Dharma in the terms of analyzing, synthesizing, applying, and reasoning, along with a presentation of the principals, the meaning and the goal which are mainly right according to Dharma and Vinaya (disciplines). The researcher suggests that a person with an interest in studying King Mongkut's thoughts should also profoundly investigate his royal thoughts in the letters written by his royal scribes and in the Act of Sangkha Registration as King Mongkut's thoughts in these documents could reflect his opinion related to religion, the Sangkha Administration, and the Sankha's regulation and Thai society.
Description
ศาสนาเปรียบเทียบ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
ศาสนาเปรียบเทียบ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล