การส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กและพฤติกรรมสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น

dc.contributor.advisorดลพัฒน์ ยศธร
dc.contributor.advisorอธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล
dc.contributor.authorปริญญ์ยุพา ฮวดปากน้ำ
dc.date.accessioned2024-01-12T02:03:56Z
dc.date.available2024-01-12T02:03:56Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2578
dc.date.issued2560
dc.descriptionพัฒนาการมนุษย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กและพฤติกรรมสังคม มีความสำคัญต่อพัฒนาการโดยรวมของเด็กปฐมวัย กิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการนี้ได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มุ่งประเมินและเปรียบเทียบพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและพฤติกรรมสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่ศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับการคัดกรองพัฒนาการด้วยแบบทดสอบพัฒนาการ Denver II แล้วพบว่า มีพัฒนาการล่าช้า หรือมีข้อควรระวังด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบวัดพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก แบบประเมินจุดแข็ง-จุดอ่อน (SDQ) แผนการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่นจำนวน 24 แผน ที่สร้างโดยผู้วิจัย และสมุดบันทึกพฤติกรรมเด็กขณะทำกิจกรรม ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการศึกษาก่อนและหลังการทดลองใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่นโดยรวม สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่พฤติกรรมสังคมด้านสัมพันธภาพ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.description.abstractDevelopment of fine motor function and social behavior is crucial for overall development of children in early childhood. Toy creation is one approach that could enhance the fine motor development. The objective of this study was to assess and compare the fine motor skills and social behavior of children at the age of 4-5, who were studying in the second year kindergarten in 2015 in Bangkok, before and after having the toy creating intervention. The research design was quasi-experimental with a total of 5 children who underwent Denver II developmental test, and were found presenting developmental delays. The research instruments included 1) the general information of the participants, both of children and of their parents 2) the fine motor development test 3) 24 toy creating activities designed by the researcher 4) researcher's note, and 5) SDQ (Strength and Difficulties Questionnaire). Also, the participants' behavior during the activities was recorded. Each activity took 40 minutes, and was conducted three days in a week, for eight weeks. Data were collected and analyzed by using statistical Wilcoxon signed rank test. Results showed that fine motor development scores after the intervention were significantly higher than those before the intervention (p = .05), meanwhile social behavior relativity was statistically significant at .05, but was not significantly different between friends' relationship.
dc.format.extentก-ฌ, 160 แผ่น : ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พัฒนาการมนุษย์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92534
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการศึกษาปฐมวัย
dc.subjectพัฒนาการของเด็ก -- ไทย
dc.titleการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กและพฤติกรรมสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น
dc.title.alternativeEnhancing of fine motor and social behavior development in early childhood through toy creating intervention
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd528/5536935.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
thesis.degree.disciplineพัฒนาการมนุษย์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files