การประเมินความสำเร็จของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ : มิติความเข้มแข็งของชุมชน

dc.contributor.advisorรัชดา ธนาดิเรก
dc.contributor.authorอมรรัตน์ สองแก้ว
dc.date.accessioned2024-02-05T02:29:04Z
dc.date.available2024-02-05T02:29:04Z
dc.date.copyright2549
dc.date.created2549
dc.date.issued2549
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2549)
dc.description.abstractThis research study is An Evaluation of the Success of the One Tambon One Product Project (OTOP): on the aspect of community strengthening. It has 3 purposes: (1) To study of the level of strength from the point of view of the communities which has joined the project. (2) To make a comparative study of strength levels among the communities that have joined the project (3) To study ways to develop community strength The sample population for this quantitative study was 400 people; in the qualitative study there were another 16 people. The tools used for analysis were average statistical value, standard deviation and t-test to test differences Results of the study 1. The level of strength of the communities which have joined the OTOP project is very high. 2. The level of strength of communities who have joined the OTOP project and those who have not joined does not differ significantly. 3. Ways to develop community strength are: (1) Develop the resources of the members. (2) Arrange to have teaching, training and educational tours for the members of the community. (3) Ensure that community members have enough resources for self management and advancement. (4) The community members must depend on themselves in order to have the community itself independent. (5) Community members must love and be united in order to help each other and see community benefits as important (6) The government units must encourage, help and coordinate the work as needed. Suggestions 1. Government must encourage and support the leaders or representatives of the community to express their own opinions in order to determine policy or projects about the community and must follow up and evaluate the results of the project according to policy periodically, continually and in all areas. 2. Provincial and District community development centers should stress personal centered development. 3. Subcommittee for provincial and District development should set up markets for selling standard OTOP products and teach and arrange for vocational educational tours both in main and supplementary jobs.
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การประเมินความสำเร็จของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ : มิติความเข้มแข็งของชุมชน มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งของชุมชนตามความคิดเห็นของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความเข้มแข็งของชุมชนระหว่างชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหนึ่ง ตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และชุมชนที่ไม่เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาความ เข้มแข็งของชุมชน ประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และใช้สถิติ t (t -- test) ในการ ทดสอบความแตกต่าง ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับสูงมาก 2. ระดับความเข้มแข็งของชุมชนระหว่างชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และชุมชนที่ไม่ เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ไม่มีความแตกต่างกัน 3. แนวทางในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน มีดังนี้ 1) ต้องพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในชุมชน 2) ต้องมี การจัดฝึกอบรม ศึกษาดูงาน แก่สมาชิกในชุมชน 3) สมาชิกในชุมชนต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการตนเอง 4) สมาชิกในชุมชนต้องสามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อให้เป็นชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองได้ 5) สมาชิกในชุมชนต้องมีความรัก ความสามัคคี เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน และเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ 6) หน่วยงานภาครัฐควรทำหน้าที่ในการ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานในด้านต่างๆ เท่าที่จำเป็น ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย 1. รัฐบาลควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้นำหรือตัวแทนของชุมชนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อกำหนด นโยบายหรือโครงการต่างๆ เกี่ยวกับชุมชน และควรติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและโครงการต่างๆ ที่กำหนดขึ้น เป็นระยะอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ 2. สำนักงานการพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอ ควรเน้นการพัฒนาชุมชนโดยยึดหลักคนเป็นศูนย์กลางในการ พัฒนา 3. คณะอนุกรรมการ นตผ. จังหวัด และอำเภอควรมีศูนย์กลางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับอำเภอและ จังหวัดที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน และควรมีการจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการประกอบอาชีพ โดยจัดให้มี ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม
dc.format.extentก-ช, 151 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549
dc.identifier.isbn9740479448
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94417
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการพัฒนาชุมชน
dc.subjectโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ -- การประเมิน
dc.subjectเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
dc.titleการประเมินความสำเร็จของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ : มิติความเข้มแข็งของชุมชน
dc.title.alternativeOtop project evaluation pertaining to the sustainable community development
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4736786.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files