ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดนนทบุรี
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 167 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
อังฎิยา ศรีนาค ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99532
Title
ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดนนทบุรี
Alternative Title(s)
Effects of health promotion program for healthy eating behavior of grade 4 students in Nonthaburi province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 61 คน ทำการสุ่มเป็น กลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารพัฒนาตามทฤษฎีปัญญาสังคม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การสร้างเสริมความรู้โดยการบรรยายประกอบสไลด์และสื่อวีดิทัศน์ การทำกิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอและการอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ การประกอบอาหาร การแสดงบทบาทสมมติ การเรียนรู้จากตัวแบบจริงและตัวแบบสัญลักษณ์ การเขียนเรียงความ การวาดภาพ ผู้วิจัยให้คำชมเชยและแรงจูงใจ ตลอดจนสื่อสารกับผู้ปกครองโดยใช้สมุดบันทึกกิจกรรม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ การรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired Samples t-test และ Independent Samples t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการดีกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังในผลลัพธ์ของการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนั้นบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับเด็กวัยเรียนกลุ่มอื่น เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและการมีสุขภาพที่ดีตลอดไป
This quasi-experimental research aimed to assess the effects of health promotion program for healthy eating behavior of grade 4 students. The sample was the grade 4 students from one school in Nonthaburi province for a total of 61. They were randomly assigned to the experimental and the control groups for 31 and 30 students, respectively. The experimental group received the program promoting healthy eating behaviour developed according to social cognitive theory for eight weeks. The activities comprised of knowledge enhancement by class lecture with slide presentation and video, group work, discussion and presentation; practices of selecting healthy food, cooking, role-play, learning from modeling and symbolic model, essay writing, and drawing. Researchers provided favorable comments, motivation, and parental communication through portfolio notebook. Data was collected before and after experimentation using questionnaires including demographic, knowledge, self-efficacy, outcome expectation, and eating behavior based on nutrition principles. Data analysis was conducted using descriptive statistic, paired samples t-test, and independent samples t-test. Results found that the experiment group gained significantly higher outcome expectation and healthy eating behavior than the control group and at baseline before program participation (p<0.05). In conclusion, the program for promoting healthy eating behavior in this study created the positive changes related to knowledge, outcome expectations, and food consumption behavior among grade 4 students. Therefore, accountable personnel should implement this program to other group of students to enhance healthy eating behavior and having a good health
This quasi-experimental research aimed to assess the effects of health promotion program for healthy eating behavior of grade 4 students. The sample was the grade 4 students from one school in Nonthaburi province for a total of 61. They were randomly assigned to the experimental and the control groups for 31 and 30 students, respectively. The experimental group received the program promoting healthy eating behaviour developed according to social cognitive theory for eight weeks. The activities comprised of knowledge enhancement by class lecture with slide presentation and video, group work, discussion and presentation; practices of selecting healthy food, cooking, role-play, learning from modeling and symbolic model, essay writing, and drawing. Researchers provided favorable comments, motivation, and parental communication through portfolio notebook. Data was collected before and after experimentation using questionnaires including demographic, knowledge, self-efficacy, outcome expectation, and eating behavior based on nutrition principles. Data analysis was conducted using descriptive statistic, paired samples t-test, and independent samples t-test. Results found that the experiment group gained significantly higher outcome expectation and healthy eating behavior than the control group and at baseline before program participation (p<0.05). In conclusion, the program for promoting healthy eating behavior in this study created the positive changes related to knowledge, outcome expectations, and food consumption behavior among grade 4 students. Therefore, accountable personnel should implement this program to other group of students to enhance healthy eating behavior and having a good health
Description
สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล