ความคงทนในการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงาม : กรณีศึกษาศิษย์เก่าโรงเรียนสัตยาไสที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 181 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
รักษมล ตั้งคุณกิตติ ความคงทนในการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงาม : กรณีศึกษาศิษย์เก่าโรงเรียนสัตยาไสที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93440
Title
ความคงทนในการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงาม : กรณีศึกษาศิษย์เก่าโรงเรียนสัตยาไสที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Alternative Title(s)
Retention of learning for character education : a case study of Sathyasai School Alumni
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
ผู้วิจัยต้องการแสวงหาแนวทางการพัฒนาอุปนิสัยที่ดีงามในการดำเนินชีวิตจริงในสังคมสำหรับเยาวชน งานวิจัยนี้ตอบวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงาม ของศิษย์เก่าโรงเรียนสัตยาไส หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อดำเนินชีวิตจริงในสังคม 2) เพื่อศึกษาเหตุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคงทนในการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงาม ดำเนินวิธีวิจัยโดย การศึกษาเอกสาร การสังเกต อย่างมีส่วนร่วมและการบันทึกภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ศิษย์เก่าโรงเรียนสัตยาไสที่ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 - 2552 จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคงทนในการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงามของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก แสดงออกด้วยการกระทำ คำพูดและความคิดสอดคล้องตรงกับคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างน้อยหนึ่งคุณค่า เมื่อ ดำเนินชีวิตจริงในสังคม และแสดงออกในคุณค่าความเป็นมนุษย์ข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมแสดงให้เห็นคุณค่าความเป็น มนุษย์ข้ออื่นด้วย พบว่าศิษย์เก่ากลุ่มนี้แสดงออกในคุณค่าความรักเมตตาเด่นชัดที่สุด รองมาคือคุณค่าความ ประพฤติชอบ 2) เหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความคงทนในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอุปนิสัยที่ดีงาม ได้แก่ กระบวนการ เรียนรู้เพื่อยกระดับจิตสำนึก โดยปลูกฝังหลักคิดพื้นฐานให้เข้าถึงใจด้วยวิธีบูรณาการกิจกรรมที่หลากหลายทั้ง 5 เทคนิคในการเรียนการสอน เน้นบูรณาการเชื่อมโยงคุณค่าความเป็นมนุษย์ในเนื้อหาการเรียนการสอนทุกวิชาทั้ง ในและนอกหลักสูตร การจัดพื้นที่การเรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข นอกจากนี้การส่งเสริมสนับสนุนจาก ครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูและช่วยต่อยอดการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้เพื่อ สร้างอุปนิสัยที่ดีงาม
The researcher studied how desirable character is retained in everyday life once a youth has graduated from Sathya Sai school. This research aimed 1) to study the retention of learning regarding character education of Sathya Sai School' s alumni after they have graduated from Mathayom Suksa 6 (Grade 12) and lived in society, and 2) to discover the factors that influence the retention of learning with regard to character education. The research methods used were literature review, participatory observation and field note taking, and in-depth interview while the key informants were 12 Sathya Sai School alumni who graduated in the year of 2003 to 2009. The results showed that the retention of learning for character education of the key informants was expressed by their actions, speech, and thought which were relevant to at least one of the five human values in Sri Sathya Saibaba's teaching. According to their behavior, revealing one human value would also imply the other four. The most outstanding value seen in the informants' behavior was loving kindness, followed by right conduct. A factor that influenced the retention of learning for character education was the learning process that promoted good conscience. This was achieved by cultivating the primary principle in the youths' hearts, implementing all different activities using the five teaching skills, and also integrating the human values into all subjects in both formal and informal curricula. Another factor was living happy learning space. Furthermore, the support from ones' own families is an important foundation, helping the youths to continue showing desirable character in their life to come.
The researcher studied how desirable character is retained in everyday life once a youth has graduated from Sathya Sai school. This research aimed 1) to study the retention of learning regarding character education of Sathya Sai School' s alumni after they have graduated from Mathayom Suksa 6 (Grade 12) and lived in society, and 2) to discover the factors that influence the retention of learning with regard to character education. The research methods used were literature review, participatory observation and field note taking, and in-depth interview while the key informants were 12 Sathya Sai School alumni who graduated in the year of 2003 to 2009. The results showed that the retention of learning for character education of the key informants was expressed by their actions, speech, and thought which were relevant to at least one of the five human values in Sri Sathya Saibaba's teaching. According to their behavior, revealing one human value would also imply the other four. The most outstanding value seen in the informants' behavior was loving kindness, followed by right conduct. A factor that influenced the retention of learning for character education was the learning process that promoted good conscience. This was achieved by cultivating the primary principle in the youths' hearts, implementing all different activities using the five teaching skills, and also integrating the human values into all subjects in both formal and informal curricula. Another factor was living happy learning space. Furthermore, the support from ones' own families is an important foundation, helping the youths to continue showing desirable character in their life to come.
Description
จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
Degree Discipline
จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล