การบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorธีรพงษ์ บุญรักษา
dc.contributor.advisorขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์
dc.contributor.advisorสิรินทร พิบูลภานุวัธน์
dc.contributor.authorปริณดา กุลประดิษฐ์
dc.date.accessioned2024-01-23T01:30:43Z
dc.date.available2024-01-23T01:30:43Z
dc.date.copyright2556
dc.date.created2567
dc.date.issued2556
dc.descriptionภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดจากนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเจ็ดด้าน ได้แก่ 1. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน2. ผู้บริหารมีความสามารถในการ บริหารจัดการภายใต้สภาวการณ์จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. ผู้บริหารมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 4. ผู้บริหารมีทักษะในการใช้ ICT 5. ผู้บริหารมีความสามารถในการประสานภาคีเครือข่ายเพื่อความร่วมมือในการจัดการ เรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 6. ผู้บริหารมีความสามารถในการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงาน 7. ผู้บริหารมีความสามารถใน การใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารกับภาคีเครือข่ายในกลุ่มประชาคมประเทศสมาชิกอาเซียนกลุ่มประชากรที่ใช้ใน การศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Statistics 18เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ผลต่างของค่าเฉลี่ย T-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยภาพ รวมอยู่ในระดับครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อเปรียบเทียบตามขนาดโรงเรียนพบว่าประเด็นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ 1. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 2. ผู้บริหารมีความสามารถใน การประสานภาคีเครือข่ายเพื่อความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 3. ผู้บริหารมีความสามารถในการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงาน4. ผู้บริหารมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารกับภาคีเครือข่ายในกลุ่ม ประชาคมประเทศสมาชิกอาเซียน โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความแตกต่าง คือ ด้านงบประมาณ ส่วนประเด็นด้านอื่นๆ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองเพิ่มเติมได้ในด้าน ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาประเทศสมาชิก ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสาร และด้านการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล
dc.description.abstractThe purposes of this research were to study the primary school directors' educational institutionalmanagement in the lead up to ASEAN Community: A case study of Bangkok Primary School Directors. The factors used in the thesis were taken from the ASEAN-management indicators of Office of the Basic Education Commission. These factors were divided into 7 aspects, namely: 1) The school directors that have formed visions towards ASEAN; 2) The school directors that have effectively managed schools under pressure in the lead up to ASEAN; 3) The school directors possess English communication skills; 4) The school directors possess ICT skills; 5) The school directors are able to work within the Framework of ASEAN-learning networks; 6) The school directors are able to monitor and evaluate the schools' ASEAN projects or programs; and 7) The school directors are able to use communication technology in order to communicate with networking ASEAN countries. The thesis population consists of 37 Bangkok Primary School Directors. Questionnaires were used as the major instrument for data collection. Furthermore, in-depth interviews were employed to collect additional information. The data were analyzed using SPSS Statistics 18 computer program to determine frequency, percentage, arithmetic mean, Standard Deviation and T-test. The study revealed that the Bangkok Primary School Directors' overall management in the lead up to ASEAN is at 90-100% level. There were some significant differences at 0.05 among the different sizes of schools. The factors which were significantly different as follows; 1) School directors' visions towards ASEAN; 2) School directors are able to workwithin the Framework of the ASEANlearning networks; 3) School directors are able to monitor and evaluate the schools' ASEAN projects or programs; and 4) The school directors are able to use communication technologies in order to communicate with networking ASEAN countries. The determining factor for differences has been noted as budget. With regards to other factors, no significant differences were found. From the data collected it was found that school directors require improvement in their English and ASEAN language skills, ability to use technology in order to communicate within networking ASEAN countries, and ability to monitor and evaluate the schools' ASEAN projects or programs.
dc.format.extent[ก]-ฐ, 210 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93523
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการศึกษาขั้นประถม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectการบริหารการศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.titleการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativePrimary school directors' management in the lead up to Asean community : a case study of Bangkok primary school directors
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd482/5336101.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.disciplineภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files