การดำเนินของโรคติ่งเนื้อขนาดกลางในถุงน้ำดี
Issued Date
2017
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Volume
ครั้งที่4
Start Page
12
End Page
27
Access Rights
Open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ธาดา ยงค์ประดิษฐ์, ร่มเย็น จิตมุ่งงาน (2017). การดำเนินของโรคติ่งเนื้อขนาดกลางในถุงน้ำดี. ครั้งที่4 27. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/97649
Title
การดำเนินของโรคติ่งเนื้อขนาดกลางในถุงน้ำดี
Alternative Title(s)
The Progression of Medium Sized-Gallbladder Polyps
Author(s)
Author's Affiliation
Abstract
ติ่งเนื้อในถุงน้ำดี : (gallbladder polyps) เป็นภาวะที่มีการเจริญยื่นของติ่งเนื้อผิดปกติออกมาจากผนังด้านในของถุงน้ำดีภาวะความผิดปกตินี้มักไม่แสดงอาการและมักพบดดยบังเอญจากการตรวจ อัลตร้าซาวด์ติ่งเนื้อในถุงน้ำดีที่มากกว่า หรือเท่ากับ ๑๐ mm. ถือเป็นข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดดมะเร็งของถุงน้ำดีในขณะที่ติ่งเนื้อในถุงน้ำดีที่น้อยกว่า หรือเท่ากับ ๖ mm. แทบจะไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของถุงน้ำดี ในขณะเดียวกันติ่งเนื้อในถุงน้ำดีที่มีขนาดมากกว่า ๖ mm. แต่ไม่เกิน ๑๐ mm. ยังมีการศึกษาถึงน้อย
วัตถุปรสงค์ : งานวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะเป็นการศึกษาติดตามการดำเนินของโรคในผู้ป่วยที่มีติ่งเนื้อในถุงน้ำดี ขนาดมากกว่า ๖ mm. แต่ไม่เกิน ๑๐ mm. ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับใช้ในการรักษาและติดตามต่อไป
ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย : ผู้ป่วยทุกคนที่มีติ่งเนื้อในถุงน้ำดี ขนาดมากกว่า ๖ mm. แต่ไม่เกิน ๑๐ mm. ที่ได้รับการวินิจฉัยจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จะได้รับการติดตามอาการที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกศัลยกรรมและตรวจอัลตร้าซาวด์ทุก ๖ เดือน จนครบเวลาอย่างน้อย ๒ ปี เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วย และการเปลี่ยนแปลงของติ่งเนื้อในถุงน้ำดีผู้ป่วยจะได้รับข้อมูลเพื่อตัดสินใจผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ อันได้แก่ มีอาการผิดปกติจากถุงน้ำดี, ขนาดของติ่งเนื้อในถุงน้ำดีโตขึ้น, ขนาดของติ่งเนื้อในถุงน้ำดีมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๐ mm., มีความผิดปกติของถุงน้ำดีจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ที่แสดงว่ามีการอักเสบหรือหนาตัวผิดปกติของถุงน้ำดี, ผู้ป่วยต้องการผ่าตัด
ผลการศึกษา : จาการศึกษานีี้พบผู้ป่วยที่มีติ่งเนื้อในถุงน้ำดี ขนาดมากกว่า ๖ mm. แต่ไม่เกิน ๑๐ mm. ๓๕ รายภายในระยะเวลา ๒ ปี, พบมีสัดส่วนของผู้ป่วยผู็หญิง (๖๐%) มากกว่าผู็ป่วยผู้ชาย (๔๐%), ผู้ป่วยมีดรคร่วมเป็นโรคไขมันในโลหิตสูงถึง ๔๐% และโรคเบาหงาน ๒๐ % ผู็ป่วยที่มีอายุประมาณ ๕๐ ปีขึ้นไป ตรวจพบติ่งเนื้อในถุงน้ำดีได้มากกว่า จากการติดตามผู้ป่วยที่มีตื่งเนื้อในถุงน้ำดีโดยใช้การตรวจอัลตร้าซาวด์ พบว่า ๗๗% ติ่งเนื้อมีขนาดคงที่ไม่โตขึ้น, อัตราการโตของติ่งเนื้อในถุงน้ำดีมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๐.๐๕ mm. ต่อเดือนม 9 mm.มีอัตราการโตอย่างรวดเร็วเฉลี่ย ๐.๐๕ mm. ต่อเดือน (๑๐ เท่า) มีผู็ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีตามข้อบ่งชี้ ๕ ราย คิดเป็น ๑๔.๓% ๓ใน ๕ (๖๐%) ได้รับผ่าตัดเนื่องจากขนาดของติ่งเนื้อในถุงน้ำดี ซึ่งตรวจพบร่วมกันกับติ่งเนื้อในถุงน้ำดี อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเท่ากับ ๐% พบ ๑ ราย เป็น adenomatous polyp (premalignant lesion) ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทั้ง ๕ ราย พบว่ามีผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาเข้าได้กับการอักเสบเรื้อรังของถุงน้ำดี (chronic cholecystitis) ทุกรายและไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดหลังผ่าตัด
ข้อสรุป ติ่งเนื้อในถุงน้ำดีขนาดมากกว่า ๖ mm. แต่ไม่เกิน ๑๐ mm. ไม่มีอาการผิดปกติ ถ้าไม่มีนิ่วในถุงน้ำดีร่วม โดยมักจะพบติ่งเนื้อในถุงน้ำดีได้ในผู้ป่วยผู้หญิงอายุ ต้งแต่ ๕๐ ปีขึ้นไป ที่มีโรคเบาหวานและไขม้นในโลหิตสูง ร่วมด้วยมากกว่า ๒ ใน ๓ มีขนาดคงที่ไม่โตขึ้น จะมีเพียงติ่งเนื้อที่มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มติ่งเนื้อที่ขนาดใกล้กับ ๑๐ mm. ที่มีอัตราการโตเป็น ๑๐ เท่าของปกติ
Background: The size of gallbladder polyps that more than 10 mm. was the significant risk of malignancy. There were a few studies about nature of medium sized gallbladder polyps (6-10mm.). This study aimed to explore the nature of medium sized gallbladder polyps for analysis and to improve the guideline for screening and follow up the patients with gallbladder polyps. Methods: All patients with medium-sized gallbladder polyps that was diagnosed by ultrasound at the surgical outpatient department of Golden Jubilee Medical Center and ultrasound every six months for at least two years. The patients will have advice for cholecystectomy when meet indications include: Size of polyps equal or more than 10 mm., abnormal of the gallbladder from ultrasound, symptoms or patient need. Results: There were total ๓๕ cases of medium sized gallbladder polyps within 2 years follow up. Female with age equal or more than 50 years old with diabetes mellitus and dyslipidemia tend to find a higher rate of gallbladder polyps. 77 % of medium sized gallbladder polyps remained stable in size during follow up, but ๙mm. sized polyps had rapid growth ๑๐ times more than smaller polyps. 5 patients underwent cholecystectomy with just 1 patient with pathological report of adenomatous polyp and all of ๕ patients had a pathological report of chronic cholecystitis. The indications of surgery were increasing in size of polyps (equal or more than ๑๐ mm.) for ๓ patients and symptoms from associated gallstone for 2 patients. There was no post operative complication in all 5 patients. Conclusions: Medium sized gallbladder polyps remained asymptom if no associated gallstone. Female with age or more than 50 years old with diabetes mellitus and dyslipidemia tend to find a higher rate of gallbladder polyps. More than two third of polyps remained stable in size, but ๙mm. sized polyps had rapid growth 10 times more than smaller polyps.
Background: The size of gallbladder polyps that more than 10 mm. was the significant risk of malignancy. There were a few studies about nature of medium sized gallbladder polyps (6-10mm.). This study aimed to explore the nature of medium sized gallbladder polyps for analysis and to improve the guideline for screening and follow up the patients with gallbladder polyps. Methods: All patients with medium-sized gallbladder polyps that was diagnosed by ultrasound at the surgical outpatient department of Golden Jubilee Medical Center and ultrasound every six months for at least two years. The patients will have advice for cholecystectomy when meet indications include: Size of polyps equal or more than 10 mm., abnormal of the gallbladder from ultrasound, symptoms or patient need. Results: There were total ๓๕ cases of medium sized gallbladder polyps within 2 years follow up. Female with age equal or more than 50 years old with diabetes mellitus and dyslipidemia tend to find a higher rate of gallbladder polyps. 77 % of medium sized gallbladder polyps remained stable in size during follow up, but ๙mm. sized polyps had rapid growth ๑๐ times more than smaller polyps. 5 patients underwent cholecystectomy with just 1 patient with pathological report of adenomatous polyp and all of ๕ patients had a pathological report of chronic cholecystitis. The indications of surgery were increasing in size of polyps (equal or more than ๑๐ mm.) for ๓ patients and symptoms from associated gallstone for 2 patients. There was no post operative complication in all 5 patients. Conclusions: Medium sized gallbladder polyps remained asymptom if no associated gallstone. Female with age or more than 50 years old with diabetes mellitus and dyslipidemia tend to find a higher rate of gallbladder polyps. More than two third of polyps remained stable in size, but ๙mm. sized polyps had rapid growth 10 times more than smaller polyps.
Description
การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 4 เรื่อง สังคมผู้สูงอายุในยุคดิจิตอล อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, 5 เมษายน 2559 . หน้า 12-27