ประสบการณ์และการรับรู้ความเจ็บปวดเรื้อรังของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อและกระดูก
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ซ, 112 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
นฤมล เพ็ชรรื่น ประสบการณ์และการรับรู้ความเจ็บปวดเรื้อรังของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อและกระดูก. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93583
Title
ประสบการณ์และการรับรู้ความเจ็บปวดเรื้อรังของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อและกระดูก
Alternative Title(s)
Experiences and perceptions of chronic pain among musculoskeletal patients
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจความหมายของความเจ็บปวดเรื้อรังและการรับรู้สาเหตุความปวดเรื้อรัง วิธีการจัดการและประสบการณ์ความปวดเรื้อรังของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อและกระดูก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วจำนวน 7 ราย เพศชาย 3 ราย เพศหญิง 4 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความหมายความปวดเรื้อรังเป็นความทุกข์ทรมาน เป็นความไม่แน่นอนของชีวิต เป็นสิ่งที่ส่งผลทั่วเรือนร่าง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และส่งผลต่ออาชีพหน้าที่การงาน สาเหตุของความปวด เรื้อรังรับรู้ว่าเกิดจากการดื่มสุรา การเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ การทำงานหนัก เป็นออฟฟิศซินโดรมและเส้นพลิก วิธีการจัดการกับความปวดมีหลายรูปแบบโดยพบว่าเป็นการซื้อยารับประทานเอง การนวดประคบ การจับเส้น การทำกายภาพบำบัด การผ่าตัด การรักษาตามอาการ และการปรับสภาพจิตใจให้ยอมรับอยู่กับความเจ็บปวดได้ ในด้านประสบการณ์ความปวดพบรูปแบบประสบการณ์ชีวิตที่ต้องอยู่กับความปวดได้แก่ ความอดทนที่ต้องอยู่กับความเจ็บปวดที่ยาวนาน ความเจ็บปวดกับที่ต้องทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเจ็บปวดปวดทุกข์ทรมานทั่วทั้งร่างกาย ความปวดกับความรู้สึกไม่มั่นคงของชีวิต ความปวดกับการคาดประมาณการณ์ที่รุนแรง ความปวดกับการรักษาพยาบาลยาวนาน ความปวดกับอำนาจทางการแพทย์ที่ร่างกายถูกควบคุมกำกับ ข้อเสนอแนะควรมีคลินิกจัดการความปวด และตั้งกลุ่มเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับผู้ป่วยเจ็บปวดเรื้อรังเพื่อส่งเสริมการรักษาแบบองค์รวม ให้คำปรึกษาและให้ผู้ป่วยสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความปวดและการจัดการความปวด
The objectives of this research are to understand the meaning and causes of chronic pain perceived by patient sand to explore experiences of chronic pain among musculature patients. This is qualitative research using in-depth interviews. A total of seven (3 male and 4 female)patients were purposively recruited from Sakaeo Crown Prince Hospital. The research findings indicate that the meaning of chronic pain includes suffering, uncertainty of life, effects to the whole body, effects to daily life, and effects to occupation. The causes of chronic pain are drinking alcohol,bone disease, joint disease,hard work, office syndrome and "senphlik" (abnormal function of ligament). There are many methods for pain management including self medication, massage and herbal ball massage, ligament manipulation, physical therapy, operation, symptomatic treatment, and living with chronic pain by adjusting the mind to accept chronic pain. Life experiences of living with pain include tolerating prolonged pain, need to work inspire of pain, whole body suffering, uncertainty of life,hypochondria and lifestyle controlled by medical requirements. It is suggested that the hospital should have a pain clinic and peer group support in order to promote holistic care and provide counseling and opportunities for patients to share pain experiences and pain management
The objectives of this research are to understand the meaning and causes of chronic pain perceived by patient sand to explore experiences of chronic pain among musculature patients. This is qualitative research using in-depth interviews. A total of seven (3 male and 4 female)patients were purposively recruited from Sakaeo Crown Prince Hospital. The research findings indicate that the meaning of chronic pain includes suffering, uncertainty of life, effects to the whole body, effects to daily life, and effects to occupation. The causes of chronic pain are drinking alcohol,bone disease, joint disease,hard work, office syndrome and "senphlik" (abnormal function of ligament). There are many methods for pain management including self medication, massage and herbal ball massage, ligament manipulation, physical therapy, operation, symptomatic treatment, and living with chronic pain by adjusting the mind to accept chronic pain. Life experiences of living with pain include tolerating prolonged pain, need to work inspire of pain, whole body suffering, uncertainty of life,hypochondria and lifestyle controlled by medical requirements. It is suggested that the hospital should have a pain clinic and peer group support in order to promote holistic care and provide counseling and opportunities for patients to share pain experiences and pain management
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล