วาทกรรมองค์การในการสร้างความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ญ, 164 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
ณพจักร สนธิเณร วาทกรรมองค์การในการสร้างความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93579
Title
วาทกรรมองค์การในการสร้างความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Organizational discourse of internationalization in Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยเรื่องวาทกรรมองค์การในการสร้างความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อหาโครงสร้างความหมายของวาทกรรมความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล วาทกรรมการปฏิบัติที่ผลิตและตอกย้ำ ความเป็นนานาชาติในองค์การ รวมถึงปัจจัย และบริบทอันจะเป็นการส่งเสริมความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิด ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของวาทกรรมความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อนคือ ความเป็นนานาชาติในปฏิบัติ (Concept of practical internationalization) กับความเป็นนานาชาติเป็นส่วนหนึ่ง (practice of intrinsic internationalization) ซึ่งมีการอธิบายว่าคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลมีจุดกำเนิดหรือการก่อตั้งที่เป็นนานาชาติ มีลักณะการสื่อสารแบบทวิภาษาคือ การใช้ภาษาอังกกฤษ-ภาษาไทยในการสนทนา มีบริบทความเป็นนานาชาติอยู่ภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ด้วยศูนย์ความร่วมมือ และเครือข่ายวิชาการกับสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางของการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่มีบุคลากร และนักศึกษาที่หลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม ในด้านของวาทกรรมภาคปฏิบัติการที่สร้างความเป็นนานาชาติพบว่าคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มีตัวแสดงที่ไม่แบ่งแยก (non-discriminated actor) และกิจกรรมตามธรรมชาติ (ritual function) กับกิจกรรมตามแผน (planned function) ซึ่งมีการอธิบายว่าภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลมีความแตกต่างหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและวัฒธรรมของบุคลากรและนักศึกษา ซึ่งนำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงาน หรือการเรียนการสอนร่วมกัน กลุ่มคนที่หลากหลายสามารถดรงอยู่ร่วมกันภายใต้บริบทของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลได้อย่างเท่าเทียม และประชากรของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลมีระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ มีกิจกรรมตามธรรมชาติอันเป็นประเพณีที่เห็นเด่นชัดคือ งานประชุมวิชาการนานาชาติเวชศาสตร์เขตร้อน (Joint International tropical Medicine Meeting) ซึ่งเป็นการสืบสานแนวคิดของการสร้างความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่เสมอมา และกิจกรรมตามแผนที่แสดงออกในลักษณะของนโยบาย เกิดขึ้นเพื่อชี้นำความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เช่น นโยบาย One Health ที่ขับเคลื่อนการบูรณาการความสามารถจากศาสตร์ต่าง ๆ ในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อสร้างความเป็นนานาชาติในเชิงแข่งขัน สำหรับด้านบริบท และปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ผลจากการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถจับต้องได้ (Tangible asset) และสิ่งสนับสนุนจากภายนอก (external context) เป็นลักษณะปัจจุบันของปัจจัยและบริบทสนับสนุนความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยปัจจัยที่สามารถจับต้องได้คือ ระบบและโครงสร้างการบริหารงานของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ที่คอยสนับสนุนอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ให้สามารถทำงานวิจัย และงานวิชาการในระดับนานาชาติได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สามารถจับต้องได้นั้นบ่งชี้ถึงความสามารถส่วนบุคคล และทัศนคติเปิดกว้างต่อความเป็นนานาชาติ ปัจจัยที่ไม่สามารถจับต้องได้ (intangible asset) ว่ายังอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา ฉะนั้นแล้ว ผู้ให้สัมภาษณ์จึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลต้องพัฒนาปัจจัยที่ไม่สามารถจับต้องได้ เพื่อให้บุคลากรมีความสามารถที่จะเข้าถึงบริบทสนับสนุนความเป็นนานาชาติภายนอก (external context) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการดำเนินงาน และ ความยั่งยืนของความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
This research has three objectives : to find the meaning of internationalization within the Faculty of Tropical Medicine, to find practices that produce and repeat the meaning of internationalization, and to find factors and contexts to promote the faculty's internationalization. The research found that the Faculty of Tropical Medicine's structure of meaning involves the concepts of practical and intrinsic internationalization. The key informants explained that the faculty has international origins and were internationally established. People communicate with a dual language system (English-Thai), and the international network of academic institutes make the faculty a center for tropical medicine research, where staff and students with diverse nationalities and cultures live and learn together. The discursive practices which produce and introduce internationalization to the faculty are operated by the non-discriminated actor with ritual and planned functions. The key informants believed that the existence of diversity within the Faculty of Tropical Medicine brings forth an atmosphere of sharing and working together among the faculty's population. Foreign staff and students are granted equal rights at work. Moreover, they have familial relationships, which explain the methods the faculty uses to teach and pass along the concept of internationalization from generation to generation. For example, the Joint International Tropical Medicine Meeting is performed ritually once a year. The planned function shows itself in the form of policy, which is intentionally used to guide the faculty's internationalization. In addition, One Health Policy drives the integration of the tropical medicine discipline, enhances internationalization, and increases competency for international competition. Promotion of the Faculty of Tropical Medicine's internationalization occurs through tangible assets and external context, which are displayed through the faculty's academic work. Tangible assets include the structure of the administrative system, which supports instructors, researchers, and students during their research or academic work. Intangible assets include the personal capacity and individual attitudes toward internationalization. The key informants all agreed that faculty must urgently and strategically develop these personal competencies. When intangible assets are developed, the faculty expects that staff and students will be able to access external support, which will provide academic and research resources for those who are capable. Then, the faculty can decrease use of its own resources, increasing sustainability and internationalization.
This research has three objectives : to find the meaning of internationalization within the Faculty of Tropical Medicine, to find practices that produce and repeat the meaning of internationalization, and to find factors and contexts to promote the faculty's internationalization. The research found that the Faculty of Tropical Medicine's structure of meaning involves the concepts of practical and intrinsic internationalization. The key informants explained that the faculty has international origins and were internationally established. People communicate with a dual language system (English-Thai), and the international network of academic institutes make the faculty a center for tropical medicine research, where staff and students with diverse nationalities and cultures live and learn together. The discursive practices which produce and introduce internationalization to the faculty are operated by the non-discriminated actor with ritual and planned functions. The key informants believed that the existence of diversity within the Faculty of Tropical Medicine brings forth an atmosphere of sharing and working together among the faculty's population. Foreign staff and students are granted equal rights at work. Moreover, they have familial relationships, which explain the methods the faculty uses to teach and pass along the concept of internationalization from generation to generation. For example, the Joint International Tropical Medicine Meeting is performed ritually once a year. The planned function shows itself in the form of policy, which is intentionally used to guide the faculty's internationalization. In addition, One Health Policy drives the integration of the tropical medicine discipline, enhances internationalization, and increases competency for international competition. Promotion of the Faculty of Tropical Medicine's internationalization occurs through tangible assets and external context, which are displayed through the faculty's academic work. Tangible assets include the structure of the administrative system, which supports instructors, researchers, and students during their research or academic work. Intangible assets include the personal capacity and individual attitudes toward internationalization. The key informants all agreed that faculty must urgently and strategically develop these personal competencies. When intangible assets are developed, the faculty expects that staff and students will be able to access external support, which will provide academic and research resources for those who are capable. Then, the faculty can decrease use of its own resources, increasing sustainability and internationalization.
Description
รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
รัฐประศาสนศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล