Venous thromboembolism in Thai hospitalized patients with limphoma

dc.contributor.advisorKrittika Tanyasaensook
dc.contributor.advisorPonlapat Rojnuckarin
dc.contributor.authorWorapa Kunawuttinankorn
dc.date.accessioned2024-01-02T03:15:01Z
dc.date.available2024-01-02T03:15:01Z
dc.date.copyright2016
dc.date.created2016
dc.date.issued2023
dc.descriptionภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำเป็นผลแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็ง ในปัจจุบันยังไม่ ทราบอุบัติการณ์ที่แท้จริงในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคนไทยที่นอนโรงพยาบาล การศึกษานี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อหาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะดังกล่าวในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคนไทยที่นอนโรงพยาบาล โดยเก็บข้อมูลทั้งย้อนหลังและไปข้างหน้าในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์แห่งหนึ่ง ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำในระหว่างนอนโรงพยาบาล และระดับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวเมื่อประเมินด้วย Padua และ Khorana score จากการติดตามผู้ป่วยทั้งหมด 467 คน เป็นเวลา 90 วันหลังเข้ารักษาในโรงพยาบาล แบ่งเป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วย 420 คนที่เข้านอนโรงพยาบาลช่วงปี 2007 - 2011 และ การศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วย 47 คนที่เข้านอนโรงพยาบาลช่วง 6 เดือนของปี 2012 อุบัติการณ์ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำช่วงการศึกษาย้อนหลังมีแนวโน้มต่ำกว่าช่วงการศึกษาไปข้างหน้า (ร้อยละ 3.6, 15/420 คน และ ร้อยละ 8.5, 4/47 คน ตามลำดับ, p-value 0.113) ซึ่งพบภาวะดังกล่าวในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กินและชนิดที่ไม่ใช่ฮอดจ์กินร้อยละ 5.9 และ 3.4 ตามลำดับ (p-value 0.347) ในขณะที่ในช่วงการศึกษาไปข้างหน้าพบเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่ไม่ใช่ฮอดจ์กิน ในจำนวนผู้ป่วย 19 คนที่เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ แบ่งเป็น deep vein thrombosis 15 คนและภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด 4 คน ทุกคนแสดงอาการในระหว่างก่อนจนถึงช่วงให้ยาเคมีบำบัด 3 รอบแรก การวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายตัวแปรชี้ให้เห็นว่า bed-ridden state เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (odds ratio 6.21, ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95, 1.59 - 24.31, p-value 0.009) ในการประเมินความเสี่ยงด้วย Padua score พบอัตราการเกิดภาวะ ดังกล่าวสูงในผู้ป่วยที่มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 7 และในผู้ที่ได้คะแนน 3 - 6 ร่วมกับมีเส้นเลือดดำถูกกดทับ ในขณะที่ Khorana score ไม่สามารถทำนายการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำของผู้ป่วยในการศึกษานี้ได้ โดยสรุป ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคนไทยที่เข้านอนโรงพยาบาลและได้รับยาเคมีบำบัดจะมีอุบัติการณ์ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำค่อนข้างสูง จึงควรกำหนดให้มีแนวทางการป้องกันภาวะดังกล่าวอย่างเหมาะสม
dc.description.abstractVenous thromboembolism (VTE) is a frequent complication in cancer patients; but the magnitude of this problem in Thai hospitalized lymphoma patients has not been well studied. To identify the incidence and risk factors of VTE in Thai hospitalized lymphoma patients, an observational study was conducted with 2 concurrent phases including a retrospective and a prospective cohort of patients in the internal medicine wards of a tertiary medical school. Patient baseline data and risk factors during admission were recorded. The risk of VTE during admission and chemotherapy were assessed by the Padua score and the Khorana score, respectively. All patients were followed up for 90 days after admission. A total of 467 patients were included in this study. 420 patients identified from 2007 to 2011 from electronic database of the hospital were in the retrospective cohort, and 47 patients identified during 6 months in 2012 in the wards were in the prospective cohort. The incidence of VTE in the retrospective cohort was lower than in the prospective cohort (3.6%, 15/420 and 8.5%, 4/47, p-value 0.113). According to the retrospective cohort, VTE rates in Hodgkin's lymphoma, HL and Non-Hodgkin's lymphoma, NHL were 5.9% and 3.4%, respectively (p-value 0.347). All VTE in the prospective cohort were NHL. Among the 19 VTE, there were 15 DVTs and 4 PEs. All VTEs occurred before or during the first three cycles of chemotherapy. By multivariate analysis, being in a bed-ridden state was a significant risk factor for developing VTE (odds ratio 6.21, 95% confidence interval 1.59 - 24.31, p-value 0.009). High rates of VTE were seen in patients with a Padua cumulative score of ≥ 7 and a score of 3 - 6 who had venous compression during admission. Khorana score could not predict VTE in this study. In conclusion, the incidence of VTE in Thai lymphoma patients admitted for chemotherapy is high. VTE prophylaxis is recommended during the early course of chemotherapy in bedridden patients.
dc.format.extentxii, 137 leaves : ill.
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91590
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectVenous Thromboembolism
dc.subjectLymphoma -- complications
dc.titleVenous thromboembolism in Thai hospitalized patients with limphoma
dc.title.alternativeภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคนไทยที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsrestricted access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/535/5337508.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Pharmacy
thesis.degree.disciplineClinical Pharmacy
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMasters
thesis.degree.nameMaster of Science

Files