รูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อเพิ่มอัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

dc.contributor.advisorเอมพร รตินธร
dc.contributor.advisorวรรณา พาหุวัฒนกร
dc.contributor.authorวราภรณ์ จุลกิจวัฒน์
dc.date.accessioned2024-01-22T02:36:03Z
dc.date.available2024-01-22T02:36:03Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionการผดุงครรภ์ขั้นสูง (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractThis thematic paper aimed at reviewing evidence on models of breastfeeding support during pregnancy up to postpartum period before discharge from the hospital to increase breastfeeding rate and duration. By following the evidence based practice procedure, a total of 11 research studies were selected. Of these, two were systematic reviews (Level II), seven were experimental research (Level III), and two were quasi-experimental research (Level V). The evidence was appraised and synthesized. The synthesis of evidence revealed models of breastfeeding support as follows: 1) pregnancy period: emphasis on raising pregnant women's awareness of the significance of breastfeeding and their confidence to breastfeed their babies by means of dissemination of knowledge of breastfeeding, skill practices, and exchange of ideas; 2) postpartum period before hospital discharge: emphasis on individual teaching within the first 24 hours after child delivery, with the first session lasting 30 minutes, followed by support given with the hands-off technique; 3) pregnancy period continuing to postpartum period before hospital discharge: support of breastfeeding during pregnancy was given by means of knowledge dissemination, either on an individual basis or in interactive groups. In addition within the first 24 to 48 hours after delivery, provision of assistance in breastfeeding was provided at least three times or until the mothers able to breastfeed their infants correctly, which was found to help eliminate problems with breastfeeding. The findings revealed that breastfeeding support at pregnancy or postpartum period before hospital discharge increased breastfeeding rate at 1 - 8 weeks while continuing support from pregnancy up to postpartum period before hospital increased breastfeeding rate at 4 months. However there was no breastfeeding support model that could improve breastfeeding rate and duration at 6 months. According to the review of the evidence, it is recommended that breastfeeding support be continuously given from pregnancy up to postpartum period before hospital discharge. During pregnancy, knowledge should be provided, breastfeeding skills should be practiced, and exchange of ideas should be encouraged. In addition, during postpartum period before hospital discharge, one-on-one assistance should be offered so as to enable postpartum mothers to breastfeed their newborn infants.
dc.description.abstractสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับรูปแบบสนับสนุนการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ถึงระยะหลังคลอดก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลที่ช่วยเพิ่มอัตราและระยะเวลาในการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่ โดยดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้หลักฐานทั้งหมด 11 เรื่อง เป็น หลักฐานที่เป็นการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ (ระดับ 2) จำนวน 2 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลอง (ระดับ 3) จำนวน 7 เรื่องและ งานวิจัยกึ่งทดลอง (ระดับ 5) จำนวน 2 เรื่อง นำมาประเมินคุณภาพและสังเคราะห์ ข้อสรุปการสังเคราะห์พบรูปแบบการ สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดังนี้ 1) ระยะตั้งครรภ์ เน้นให้สตรีตั้งครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญและเชื่อมั่นว่าสามารถ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการฝึกทักษะและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2) ระยะหลังคลอดก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เน้นให้มารดามีความมั่นใจว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดยการ สอนรายบุคคลในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอดใช้เวลา 30 นาทีในครั้งแรก หลังจากนั้นให้คำแนะนำให้มารดาปฏิบัติได้ด้วย ตนเอง 3) ระยะตั้งครรภ์ต่อเนื่องถึงระยะหลังคลอดก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยในระยะตั้งครรภ์มีการให้ความรู้ เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์กันและในระยะหลังคลอด 24 - 48 ชั่วโมงแรกให้การช่วยเหลือมารดาในการให้ นมบุตรอย่างน้อย 3 ครั้งหรือจนกว่ามารดาจะให้นมบุตรได้ถูกต้อง พบว่าการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดปัญหา ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผลการทบทวนพบว่า การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เฉพาะในระยะตั้งครรภ์หรือหลังคลอด สามารถเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 1 - 8 สัปดาห์ ในขณะที่การสนับสนุนต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ถึงหลังคลอด ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลสามารถเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะ 4 เดือนหลังคลอดแต่ยังไม่มีรูปแบบ สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ช่วยเพิ่มอัตราและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึง 6 เดือน ข้อแนะนำจากการรทบทวนหลักฐานครั้งนี้ควรมีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องตั้งแต่ ระยะตั้งครรภ์ถึงระยะหลังคลอดก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยในระยะตั้งครรภ์มีการให้ความรู้ การฝึกทักษะ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระยะหลังคลอดเน้นการช่วยเหลือแบบตัวต่อตัวเพื่อให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเอง
dc.format.extentก-ฌ, 118 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationสารนิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์ขั้นสูง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93396
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการดูแลหลังคลอด
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
dc.subjectสตรีมีครรภ์ -- การดูแล
dc.titleรูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อเพิ่มอัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
dc.title.alternativeModels of breastfeeding support to increase breastfeeding rate and duration
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/499/5437219.pdf
thesis.degree.departmentคณะพยาบาลศาสตร์
thesis.degree.disciplineการผดุงครรภ์ขั้นสูง
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files