ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของวัยรุ่นภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 131 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
น้ำฝน ฤทธิภักดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของวัยรุ่นภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93415
Title
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของวัยรุ่นภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก
Alternative Title(s)
Factors influencing adaptation of adolescents after surgical fixation
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย ถึงปัจจัยที่สามารถทำนายการปรับตัวของ วัยรุ่นภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก ได้แก่ ความรุนแรงของการบาดเจ็บ การทำหน้าที่ของครอบครัว การ สนับสนุนของเพื่อน และระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวของ Roy เป็นกรอบแนวคิดใน การศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นที่มีอายุ 13-19 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และ มาติดตามการรักษาที่ห้องตรวจศัลยกรรมกระดูก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานีและโรงพยาบาล มหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 80 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถามการปรับตัว ของวัยรุ่นภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก 3) แบบประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บ 4) แบบวัด องค์ประกอบพื้นฐานในการทำหน้าที่ของครอบครัวไทย 5) แบบสอบถามการสนับสนุนของเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า ความรุนแรงของการบาดเจ็บ การทำหน้าที่ของครอบครัว การสนับสนุนของ เพื่อน และระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา สามารถร่วมกันทำนายการปรับตัวของวัยรุ่นภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึง กระดูกได้ร้อยละ 24.5 (R2 = .245, F = 6.098, p < .01) และปัจจัยที่สามารถทำนายการปรับตัวของวัยรุ่นภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การสนับสนุนของเพื่อน (β = .324, t = 2.663, p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพ ควรส่งเสริมการปรับตัวของวัยรุ่น ภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก โดยการประเมินการปรับตัวของวัยรุ่น และสนับสนุนให้ครอบครัว โรงเรียน และเพื่อนมีส่วนร่วมในการปรับตัวของวัยรุ่น โดยเน้นเรื่อง การหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้ วัยรุ่นมีกระบวนการปรับตัวที่เหมาะสม
This correlational predictive research design aimed to examine the factors predicting adaptation of adolescents after surgical fixation, these include severity of injury, family functioning, peer support and treatment duration. The Roy's Adaptation Theory was applied as the conceptual framework of the study. The subjects were composed of 80 adolescents aged 13-19 years who had undergone surgical fixation one month prior to the commencement of the study and were attending follow up clinic in the orthopedic exam rooms, out-patient departments in Suratthani Hospital and Nakhon Sri Thammarat Hospital. The instruments consisted of 1) Demographic data record, 2) Adolescents' adaptation after surgical fixation questionnaire, 3) Injury severity scale, 4) The Family functioning scale, and 5) Peer support questionnaire. Descriptive statistics and multiple regression analysis were used to analyze the collected data. The research findings indicated that severity of injury, family functioning, peer support and treatment duration jointly explained 24.5 percent of adolescents adaptation after surgical fixation (R2 = .245, F = 6.098, p < .01), and only peer support predicted adaptation after surgical fixation with a statistical significance (β = .324, t = 2.663, p < .01). The findings suggested that nursing and the health personnel should promote the adolescent's adaptation after surgical fixation by evaluating the adaptation of adolescents and encouraging family, school and friends to appropriately get involved in the adolescent's adaptation especially in problem solving strategies affecting adolescents in the adaptation process.
This correlational predictive research design aimed to examine the factors predicting adaptation of adolescents after surgical fixation, these include severity of injury, family functioning, peer support and treatment duration. The Roy's Adaptation Theory was applied as the conceptual framework of the study. The subjects were composed of 80 adolescents aged 13-19 years who had undergone surgical fixation one month prior to the commencement of the study and were attending follow up clinic in the orthopedic exam rooms, out-patient departments in Suratthani Hospital and Nakhon Sri Thammarat Hospital. The instruments consisted of 1) Demographic data record, 2) Adolescents' adaptation after surgical fixation questionnaire, 3) Injury severity scale, 4) The Family functioning scale, and 5) Peer support questionnaire. Descriptive statistics and multiple regression analysis were used to analyze the collected data. The research findings indicated that severity of injury, family functioning, peer support and treatment duration jointly explained 24.5 percent of adolescents adaptation after surgical fixation (R2 = .245, F = 6.098, p < .01), and only peer support predicted adaptation after surgical fixation with a statistical significance (β = .324, t = 2.663, p < .01). The findings suggested that nursing and the health personnel should promote the adolescent's adaptation after surgical fixation by evaluating the adaptation of adolescents and encouraging family, school and friends to appropriately get involved in the adolescent's adaptation especially in problem solving strategies affecting adolescents in the adaptation process.
Description
การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลเด็ก
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล