ปัจจัยทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน

dc.contributor.advisorสุพร ดนัยดุษฎีกุล
dc.contributor.advisorอรพรรณ โตสิงห์
dc.contributor.advisorอาศิส อุนนะนันทน์
dc.contributor.authorทัศเนตร พุทธรักษา
dc.date.accessioned2024-07-09T02:07:32Z
dc.date.available2024-07-09T02:07:32Z
dc.date.copyright2563
dc.date.created2563
dc.date.issued2567
dc.descriptionการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายเพื่อศึกษาอำนาจการร่วมทำนายของดัชนีมวลกาย ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน ความปวด ตำแหน่งกระดูกหักต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ความเข้าใจมินิค็อก แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกดัชนีมวลกาย แบบทดสอบความรู้ของโรคกระดูกพรุน แบบประเมินความปวดให้คะแนนเป็นตัวเลข แบบสอบถามการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกพรุน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนจำนวน 103 ราย ที่มาตรวจติดตามหลังผ่าตัด 6-18 เดือน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิเคราะห์อำนาจการทำนายโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแปรเข้าสมการแบบขั้นตอนเดียว (Enter Multiple Regression) การศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.6 อายุเฉลี่ย 73.99 ปี (SD.= 9.28) คะแนนความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายเฉลี่ย ร้อยละ 62.98 (SD. = 27.45) ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 22.82 กก/ม2 (SD.= 3.74) คะแนนความรู้เฉลี่ย 10.05 คะแนน (SD.= 3.88) คะแนนความปวดเฉลี่ย 2.5 (SD.= 2.57) และตำแหน่งกระดูกหักที่บริเวณหลัง ร้อยละ 55.30 บริเวณสะโพกร้อยละ 44.70 สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้ร้อยละ 18.50 จากผลการศึกษาที่ได้ บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนควรได้รับการจัดการความปวดและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุนเพื่อช่วยฟื้นฟูความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
dc.description.abstractThis descriptive study aimed at exploring the predictive power of body mass index knowledge of osteoporosis, pain, and location of the fracture on the physical function in osteoporotic fracture patients. Data were collected using the Mini-cognitive Assessment Form, Personal Information Questionnaire, Body Mass Index Record Form, The Facts on Osteoporosis Quiz (FOOQ), and Numerical Pain Scores, and Osteoporosis Assessment Questionnaire-Physical Function (OPAQ-PF). The sample group consisted of 103 subjects receiving follow-up for 6-18 months at the King Chulalongkorn Memorial Hospital. Predictive power was analyzed using a multiple regression equation with a one-step method of selecting variables into equations (Enter Multiple Regression). The patients were mostly females 80.6% with an age average of 73.99 years (SD.= 9.28). The average physical function score was 62.98% (SD. = 27.45), the average BMI was 22.82 kg/m2 (SD. =3.74), the average knowledge of osteoporosis score was 10.05 (SD. = 3.88), the average pain score was 2.5 (SD. = 2.57), and the location of fracture (vertebral fracture 55.30% and hip fracture 44.70%) could together predict the physical function in osteoporotic fracture patients at 18.50% The results of the study revealed that osteoporotic fracture patients should have pain management and knowledge about osteoporosis to help them in recuperation for effective physical function.
dc.format.extentก-ฎ, 194 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99563
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectกระดูกพรุน -- ผู้ป่วย
dc.subjectดัชนีมวลกาย
dc.titleปัจจัยทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน
dc.title.alternativeFactors predicting physical function in osteoporotic fracture patients
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2563/568/6136647.pdf
thesis.degree.departmentคณะพยาบาลศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files