ศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้จากมุมมองตะวันออก
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 153 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
จรายุทธ สุวรรณชนะ ศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้จากมุมมองตะวันออก. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93500
Title
ศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้จากมุมมองตะวันออก
Alternative Title(s)
The study of the learning process to be an authentic human being from Eastern points of view
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
ผู้วิจัยสนใจศึกษากระบวนการ/วิธีการและปรัชญาแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่แท้ งานวิจัยครั้งนี้จึงเป็นไปเพื่อตอบวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) ศึกษา ปรัชญาแนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้จากมุมมองตะวันออก 2) ศึกษารูปแบบและจุดร่วม ของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้จากมุมมองตะวันออก โดยมีวิธีการวิจัย คือ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกระบวนกร 3 ท่าน ผู้เข้าร่วมจำนวน 18 ท่าน และสังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้ จากนั้นก็นำข้อมูลที่ ได้มาสู่การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการสังเคราะห์ข้อมูล จนได้แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ ความเป็นมนุษย์ที่แท้ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย จุดหมายการจัดกระบวนการ เรียนรู้มี 2 ระดับ ได้แก่ จุดหมายระดับจิตวิทยาและจิตวิญญาณ ลักษณะพื้นฐานการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้แบบผ่าน ประสบการณ์ การเรียนรู้แบบใคร่ครวญด้วยหัวใจ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทักษะการแสวงหาความรู้ ได้แก่ ทักษะการฟัง การตั้งคำถาม การพูดคุยแลกเปลี่ยน การคิด และการเขียน หลักคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ หลักความสมดุลทั้ง หัว ใจ กาย หลักความสัมพันธ์ หลักการสร้างสภาวะแห่งการเรียนรู้ หลักการสร้างสถานการณ์ที่ท้าทายหรือพื้นที่เสี่ยง หลักการเรียนรู้จากกันและกัน หลักความเชื่อมโยงกับตัวตน หลักความเป็นองค์รวม ปรัชญาแนวคิดในการจัดกระบวนการ เรียนรู้ ได้แก่ ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากเหตุปัจจัยภายในและเหตุปัจจัยภายนอก มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้และฝึกฝน ขัดเกลาตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และพื้นฐานของมนุษย์มีความดีความงามอยู่ในตัว ขณะที่ความเป็น กระบวนกร มี 2 ส่วน คือ บทบาทของกระบวนกร ได้แก่ ร้อยเรียง/ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โอบอุ้มพลัง/สร้างแรง บันดาลใจการเรียนรู้ สร้างพื้นที่ปลอดภัย เกื้อกูลส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมให้ค้นพบตัวเอง เชื่อมโยงและเติมเต็มการเรียนรู้ และ แสวงหาความรู้ความจริงร่วมกับผู้เข้าร่วม และคุณสมบัติของกระบวนกร ได้แก่ การเรียนรู้และฝึกฝนขัดเกลาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีทักษะการแสวงหาความรู้ รวมตลอดถึงการมีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ส่วนการสังเคราะห์ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือการเกื้อกูลและส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้ เห็นตนเองอย่างลึกซึ้งครอบคลุมรอบ ด้าน เข้าใจที่มาที่ไปของตนเอง ยอมรับ-เปิดรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง มีปัญญา-เมตตาต่อตนเอง ละวางความยึดถือใน ตัวตน จนมีชีวิตที่อิสระอย่างแท้จริง อันเป็นเส้นทางของการเรียนรู้และฝึกฝนขัดเกลาตนเองที่นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือสิ่งที่กลไกทางสังคมต้องระมัดระวังต่อการนำแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ไป ประยุกต์ใช้ รวมถึงได้ให้ข้อเสนอต่อการวิจัยครั้งต่อไป
From the researcher's own curiosity, the concepts, processes, and methods regarding the learning necessary for becoming an authentic human being were extensively reviewed. Consequently, the research's objectives were as follow: (1) to study the concepts of how to carry out the learning processes in order to bring about the authentic humanness in the learner as in the Eastern points of view, and (2) to investigate the patterns and commonalities of how to carry out the learning processes in order to bring about the authentic humanness in the learner as in the Eastern points of view. The research methods included documentary inquiry, in-depth interviews of 3 facilitators and 18 participants, and process observation. The data was analyzed using content analysis to subsequently obtain the essence of how to facilitate the learning processes towards authentic humanness. The results showed that the learning components were made up of goals of the learning process (the psychological and spiritual levels), types of the learning process (experiential, contemplative, and participatory), inquiry skills (listening, asking questions, sharing, thinking, and writing), concepts of learning facilitation (the balance of head-heart-body, relationships, learning states, challenging situations or risk zones, mutual benefits of learning, self-connection, and holistic concepts), and philosophies of learning facilitation (human sufferings are derived from inner and outer causes, the human contains potential to learn and practice by oneself, all humans are equal, and humans have basic goodness from within.) Meanwhile, the essence of the facilitator was made up of 2 parts: the roles (designing, embracing, inspiring, generating trust, encouraging self-discovery, connecting, supplementing, and cocreating the learning), and the qualities (continuing learning and self-practicing, inquiring skills, and love and compassion for others). Regarding research synthesis, the essence or the commonality of all learning processes was to encourage the learners to be able to deeply and truly see and recognize ones' self, understand and accept themselves for what they really are, have loving kindness for themselves, and let go of their self-attachment, so that it would lead to the true freedom of life, attainable on the path of becoming an authentic human being. Also, the researcher does suggest cautions when these learning processes are applied by social organizations, as well as recommendations for doing research in the future.
From the researcher's own curiosity, the concepts, processes, and methods regarding the learning necessary for becoming an authentic human being were extensively reviewed. Consequently, the research's objectives were as follow: (1) to study the concepts of how to carry out the learning processes in order to bring about the authentic humanness in the learner as in the Eastern points of view, and (2) to investigate the patterns and commonalities of how to carry out the learning processes in order to bring about the authentic humanness in the learner as in the Eastern points of view. The research methods included documentary inquiry, in-depth interviews of 3 facilitators and 18 participants, and process observation. The data was analyzed using content analysis to subsequently obtain the essence of how to facilitate the learning processes towards authentic humanness. The results showed that the learning components were made up of goals of the learning process (the psychological and spiritual levels), types of the learning process (experiential, contemplative, and participatory), inquiry skills (listening, asking questions, sharing, thinking, and writing), concepts of learning facilitation (the balance of head-heart-body, relationships, learning states, challenging situations or risk zones, mutual benefits of learning, self-connection, and holistic concepts), and philosophies of learning facilitation (human sufferings are derived from inner and outer causes, the human contains potential to learn and practice by oneself, all humans are equal, and humans have basic goodness from within.) Meanwhile, the essence of the facilitator was made up of 2 parts: the roles (designing, embracing, inspiring, generating trust, encouraging self-discovery, connecting, supplementing, and cocreating the learning), and the qualities (continuing learning and self-practicing, inquiring skills, and love and compassion for others). Regarding research synthesis, the essence or the commonality of all learning processes was to encourage the learners to be able to deeply and truly see and recognize ones' self, understand and accept themselves for what they really are, have loving kindness for themselves, and let go of their self-attachment, so that it would lead to the true freedom of life, attainable on the path of becoming an authentic human being. Also, the researcher does suggest cautions when these learning processes are applied by social organizations, as well as recommendations for doing research in the future.
Description
จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
Degree Discipline
จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล