ปัจจัยด้านมารดา ทารก และสิ่งแวดล้อมในการทำนายความสำเร็จของบทบาทมารดาในมารดาหลังคลอดทารกก่อนกำหนด

dc.contributor.advisorวรรณา พาหุวัฒนกร
dc.contributor.advisorฉวีวรรณ อยู่สำราญ
dc.contributor.authorนฤมล จีนเมือง
dc.date.accessioned2024-01-22T02:36:04Z
dc.date.available2024-01-22T02:36:04Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionการผดุงครรภ์ขั้นสูง (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของอายุมารดา ความวิตกกังวล การรับรู้พฤติกรรมทารก ระยะเวลาแยกจาก น้ำหนักทารกแรกเกิด และการสนับสนุนทางสังคมต่อความสำเร็จของบทบาทมารดาในมารดาหลังคลอดทารกก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดทารกก่อนกำหนดที่คลอด และตรวจหลังคลอดที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา จำนวน 112 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความ วิตกกังวล แบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมทารก แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินความสำเร็จในบทบาทมารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า อายุมารดา ความวิตกกังวล การรับรู้พฤติกรรมทารก ระยะเวลาแยกจาก น้ำหนักทารกแรกเกิด และการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายความสำเร็จของบทบาทมารดา ในมารดาหลังคลอดทารกก่อนกำหนดได้ร้อยละ 52.8 (F = 19.547, p < .01) อายุมารดา และระยะเวลาแยกจาก เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายความสำเร็จของบทบาทมารดาในมารดาหลังคลอดทารกก่อนกำหนดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาว่าพยาบาลควรส่งเสริมบทบาทมารดา ในมารดาหลังคลอดทารกก่อนกำหนดให้เหมาะสมกับอายุ และมีโอกาสดูแลบุตรทันทีที่มารดาและทารกมีความพร้อม
dc.description.abstractThis predictive study aimed to investigate the predictive ability of maternal age, anxiety, neonatal behavior perception, separate time, infant birth weight, and social support on maternal role attainment in postpartum mothers with preterm babies. One hundred and twelve mothers who delivered their preterm babies who had a follow up at Songkhlanakarin hospital were included. The Demographic Characteristics Interview, the Assessment of Anxiety Form, the Neonatal Behavior Perception Questionnaire, the Social Support Questionnaire, and the Assessment of Maternal Role Attainment Form were used. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson's product-moment correlation, and multiple regression analysis. The findings revealed that maternal age, anxiety, neonatal behavior perception, separate time, and infant birth weight together with social support can predict maternal role attainment in postpartum mothers of preterm babies by 52.8 % (F = 19.547, p < .01). Maternal age and separate time could predict maternal role attainment in postpartum mothers of preterm babies with statistical significance (p < .001). The suggestions from the study are that nurses should enhance maternal role attainment, encourage depending on maternal age and mothers to care for their preterm babies as soon as possible
dc.format.extentก-ฌ, 162 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์ขั้นสูง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93404
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectทารกคลอดก่อนกำหนด
dc.subjectมารดาหลังคลอด
dc.titleปัจจัยด้านมารดา ทารก และสิ่งแวดล้อมในการทำนายความสำเร็จของบทบาทมารดาในมารดาหลังคลอดทารกก่อนกำหนด
dc.title.alternativeMaternal, infant, and environmental factors in predicting maternal role attainment in postpartum mothers of preterm babies
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd514/5437224.pdf
thesis.degree.departmentคณะพยาบาลศาสตร์
thesis.degree.disciplineการผดุงครรภ์ขั้นสูง
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files