ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้าใจสื่อภาพนูนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorอิศวรา ศิริรุ่งเรือง
dc.contributor.advisorวีระแมน นิยมพล
dc.contributor.authorชลธิดา พรหมโสภา
dc.date.accessioned2024-01-09T01:06:31Z
dc.date.available2024-01-09T01:06:31Z
dc.date.copyright2562
dc.date.created2562
dc.date.issued2567
dc.descriptionวิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจสื่อภาพนูนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเข้าใจสื่อภาพนูนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น และ 3) เสนอแนวทางการผลิตสื่อภาพนูนให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4-6 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อภาพนูน ประกอบด้วย 1. ภาพกราฟ 1 เส้น 2. ภาพกราฟ 2 เส้น 3. ภาพทรงกลมทรงกระบอก 4. ภาพระบบสุริยะจักรวาล และ 5. ภาพแผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้าใจสื่อภาพนูน แบบบันทึกระยะเวลาที่ใช้สัมผัสสื่อภาพนูน และแบบแสดงพฤติกรรมในการอ่านสื่อภาพนูน จากการวิจัย พบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นพายหลังใช้เวลาทำความเข้าใจสื่อภาพนูนน้อยกว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นตั้งแต่กำเนิด 3.21 นาที โดยนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นภายหลังใช้เวลาทำความเข้าใจภาพนูนเฉลี่ย 6.40 นาที ในขณะที่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นใช้เวลาเฉลี่ย 10.01 นาที นอกจากนี้ ประสบการณ์และการฝึกฝนการอ่านภาพนูนมีความสำคัญต่อความคล่องแคล่วและความสามารถในการทำความเข้าใจสื่อภาพนูนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ผลจากการสังเกตพฤติกรรมในการอ่านสื่อภาพนูนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นพบว่า ในการอ่านภาพทั้ง 5 ภาพ นักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัยทุกคนเริ่มใช้มือขวาสัมผัสภาพเพียงมือเดียวในการสำรวจภาพในครั้งแรก โดยจะสำรวจภาพจากด้านซ้ายไปขวา และสลับมาสำรวจจากด้านขวาไปซ้าย หากสัมผัสแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นภาพอะไรนักเรียนที่เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นการใช้มือทั้งสองข้างในการอ่านภาพนูน โดยสำรวจส่วนต่างๆ ของภาพก่อนทั้งหมด ซึ่งจะสำรวจจากด้านบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา จากนั้นจึงอ่านชื่อภาพก่อนสำรวจภาพอย่างละเอียดอีกครั้ง
dc.description.abstractThe purposes of this research were (1) to study tactile graphics comprehension of students with visual impairment; (2) to study factors affecting tactile graphics comprehension of students with visual impairment; (3) to propose the Guidelines for The Production of tactile graphics for students with visual impairment. The sample of this study was 10 high-school students with visual impairment. Instruments used were tactile graphics of simple line graph, tactile graphics of 2 lines graph, tactile graphics of sphere and cylinder, tactile graphics of planet system, tactile graphics of south east Asia, a questionnaire regarding factors affecting tactile graphic comprehension, time expenditure for touching tactile graphic form, and observation guidelines on the tactile graphic reading behaviours of students with visual impairment. Results indicated that students with adventitious visual impairment could comprehend tactile graphics 3.21 minutes faster than students with congenital visual impairment. Students with adventitious visual impairment took the average time of 6.40 minutes to comprehend tactile graphics whilst those with congenital visual impairment took average 10.01 minutes. Besides, experiences and practices were essential to the deftness and comprehension of tactile graphics in students with visual impairment. Results from the observation of tactile graphics reading behaviours of students with visual impairment showed that in all 5 tactile graphics, students would start to explore the graphics by using their right hand in the first reading of the graphics. They would read the graphics from left to right side of the graphics and then right to left. If they were not able to tell what the particular graphics were, they would use both hands to read the graphics. They would explore the overview of the graphics from top to bottom and left to right. Then, they would read the title of the graphics and explore the details of the graphics again. In conclusion, this research will benefit instructors in developing their approach of teaching, and will be beneficial to organizations who oversee the production of learning materials for students with special needs.
dc.format.extentก-ฎ, 123 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92066
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectสื่อภาพนูน
dc.subjectความบกพร่องทางการเห็น
dc.subjectความเข้าใจ
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความเข้าใจสื่อภาพนูนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeFactors affecting tactile pictures understanding of students with visual impairment in Bangkok metropolitan area
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2562/558/5837576.pdf
thesis.degree.departmentวิทยาลัยราชสุดา
thesis.degree.disciplineวิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files