การจัดการความรู้เพื่อฝ่าวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning
dc.contributor.author | มาศโมฬี จิตวิริยธรรม | |
dc.contributor.author | ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์ | |
dc.contributor.author | วนิดา ธนากรกุล | |
dc.contributor.author | พรรณพัชร กองชัย | |
dc.date.accessioned | 2023-07-18T08:57:04Z | |
dc.date.available | 2023-07-18T08:57:04Z | |
dc.date.created | 2023-07-18 | |
dc.date.issued | 2023-07-19 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติในการรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรสายสนับสนุนของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ที่ปฏิบัติงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส โคโรน่า 2019 จำนวน 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลด้วยการคืนข้อมูลย้อนกลับไปยังหน่วยงาน ผลการวิจัย รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning เป็นการจัดการความรู้ในองค์กรโดยใช้โมเดลเซกิ (SECI Model) ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) มี 6 ขั้นตอน 1) สื่อสาร 2) เป้าหมาย 3) แลกเปลี่ยน 4) เติมเต็มข้อมูล 5) จัดเก็บ 6) การนำไปใช้ และ 5 องค์ประกอบที่ช่วยสนับสนุน คือ 1) คน 2) เทคโนโลยี 3) สภาพแวดล้อม 4) ปัจจัยสนับสนุน 5) เรื่องที่จะเรียนรู้ การจะทำให้เกิดเกลียวความรู้ (Knowledge Spiral) อย่างต่อเนื่องต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์อันดีจากการทำงานร่วมกัน และความเชื่อมั่นในศักยภาพของบุคลากรที่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน จึงเป็นการบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวในการแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของการนำองค์ความรู้กับวิชาชีพที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | มาศโมฬี จิตวิริยธรรม, ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์, วนิดา ธนากรกุล และพรรณพัชร กองชัย (2566). การจัดการความรู้เพื่อฝ่าวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 18(1), 156-175. | |
dc.identifier.issn | 1905-8446 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/87946 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้ลิขสิทธิ์เป็นของสำนักพิมพ์ | |
dc.rights.holder | วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | |
dc.subject | การบริหารจัดการ | |
dc.subject | การจัดการความรู้ ไวรัสโคโรนา 2019 การเรียนรู้แบบเพื่อนสอนเพื่อน | |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา 2019 | |
dc.subject | การเรียนรู้แบบเพื่อนสอนเพื่อน | |
dc.title | การจัดการความรู้เพื่อฝ่าวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning | |
dc.type | Research Article | |
mods.location.url | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/266163/178996 | |
mu.requestcopy.status | Allow | |
oaire.citation.endPage | 175 | |
oaire.citation.issue | 1 | |
oaire.citation.startPage | 156 | |
oaire.citation.title | การจัดการความรู้เพื่อฝ่าวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning | |
oaire.citation.volume | 18 | |
oairecerif.author.affiliation | ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. | |
oairecerif.event.name | วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |