ประสบการณ์การเพาะกายของเยาวชนชาย
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 167 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
สาโรจน์ แสงทองอุไรไพศาล ประสบการณ์การเพาะกายของเยาวชนชาย. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92901
Title
ประสบการณ์การเพาะกายของเยาวชนชาย
Alternative Title(s)
Understanding Thai youth experience of bodybuilding
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย แผนการเพาะกายในกลุ่มเยาวชนชาย , การให้ความหมายความเป็นชาย เพศวิถีและการบาดเจ็บที่สัมพันธ์กับการเพาะกาย ปัญหาสุขภาพและการจัดการปัญหาสุขภาพของเยาวชนชายที่เพาะกาย โดยจะศึกษาการผูกโยงความหมายความเป็นชาย เพศวิถี และการบาดเจ็บที่ส่งผลต่อแบบแผนการเพาะกาย ปัญหาสุขภาพ และการจัดการปัญหาสุขภาพ สำหรับวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพพื้นที่การวิจัยครั้งนี้คือ สถานออกกำลังกายในเขตของกรุงเทพมหานครและปริมณฑณจำนวนสองแห่ง โดยผู้วิจัยได้เข้าไปออกกำลังกายที่สถานออกกำลังกายทั้งสองแห่งมาเป็นเวลา 2ปี ด้วยวิธีการเพาะกายและเป็นที่คุ้นเคยกับผู้คนในสถานที่ทั้งสองแห่งเป็นอย่างดี วิธีการศึกษาจะใช้วิธีการการสัมภาษณ์เจาะลึก ในกลุ่มเยาวชายที่เล่นเพาะกายจำนวน 14 คน และสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และแนวคิดทฤษฎี การครอบงำความเป็นชาย เพศภาวะ เพศวิถี การเพาะกายของกลุ่มเยาวชนชายในสังคมไทยปัจจุบัน เกิดขึ้นจากค่านิยม ความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรมของเยาวชนชายเองที่มองความเป็นชายของตัวเองในสังคมปัจจุบันว่าต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง มีรูปร่างที่ดีสมส่วน และมีกล้ามเนื้อ ซึ่งบ่งบอกถึงว่าเป็นคนที่รักสุขภาพ เพื่อทำให้เกิดการดึงดูดสายตาผ่านรูปร่างที่เป็นเสน่ห์แก่ผู้คนที่พบเห็น บ่งบอกถึงการมีพละกำลังและสามารถป้ องกันตัวได้ เป็นคนที่มีระเบียบวินัยในตัวเอง และ มีความเชื่อทางสุขภาพว่าการเพาะกายที่ได้ผลคือการต้องมีการเจ็บปวดหรือการบาดเจ็บ โดยจะมีคำพูดว่า "ไม่เจ็บปวด กล้ามเนื้อไม่โต" แบบแผนการเพาะกายรวมตั้งแต่รูปแบบการฝึก รูปแบบโภชนาการ และรูปแบบการพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ การให้ความหมายความเป็นชายที่ต้องมีรูปร่างที่ดี มีกล้ามเนื้อบึกบึน โดยการเพาะกายให้เจ็บปวดหรือบาดเจ็บเรื้อรัง ทำให้เยาวชนชายที่เล่นเพาะกายล้วนแสวงหาความเจ็บปวดเพื่อที่สามารถทำให้กล้ามเนื้อของตนเองเกิดการเติบโตขึ้น จึงส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงและรื้อรัง เป็นผลทำให้พวกเขาต้องพักรักษาตัวเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้เยาวชนชายที่เพาะกายบางคนไม่ได้มาออกกำลังกาย และสูญเสียค่า รักษาพยาบาลที่เป็นจำนวนมาก แต่ในขณะที่ส่วนหนึ่งของเยาวชนชายก็ยังมีข้อมูลที่ทำให้เกิดแบบแผนการเพาะกายที่ปราศจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรง
This study's objectives are 1) to explore pattern of body building, meanings of masculinity, sexuality and pain which are related to body building, health problems and their health seeking behavior 2) to explain how meanings of masculinity, sexuality and pain related to body building have influenced patterns of body building, health problems and their health seeking behavior. The study is qualitative research and study site is one government fitness center in the Bangkok area where the researcher has attended for two years to do body building. Research methods are participant observation and an in-depth interview with 10 young men who has done body building. For data analysis, content analysis is used with theoretical concepts on hegemonic masculinity, gender and sexuality. The young men in this study gave the meanings to his masculinity as a man who healthy, is strong and has big muscle. The healthy, strong and big muscle is defined as sexually attractive to other people who interact with him. They also believed that the effective way to build muscle is to have pain after the weight training. The words used in this study is No pain, No large muscle . Patterns of body building include forms of weight training, various types of nutritional food intake, types of resting and sleeping. The meanings related to masculinity as a man who has large muscle body and the effective weight training requires the pain to build muscle and has resulted in pain and chronic injury for some young men in the study. These young men had engaged in prolonged health seeking practices, quit body building and spent a lot of money for their treatment.
This study's objectives are 1) to explore pattern of body building, meanings of masculinity, sexuality and pain which are related to body building, health problems and their health seeking behavior 2) to explain how meanings of masculinity, sexuality and pain related to body building have influenced patterns of body building, health problems and their health seeking behavior. The study is qualitative research and study site is one government fitness center in the Bangkok area where the researcher has attended for two years to do body building. Research methods are participant observation and an in-depth interview with 10 young men who has done body building. For data analysis, content analysis is used with theoretical concepts on hegemonic masculinity, gender and sexuality. The young men in this study gave the meanings to his masculinity as a man who healthy, is strong and has big muscle. The healthy, strong and big muscle is defined as sexually attractive to other people who interact with him. They also believed that the effective way to build muscle is to have pain after the weight training. The words used in this study is No pain, No large muscle . Patterns of body building include forms of weight training, various types of nutritional food intake, types of resting and sleeping. The meanings related to masculinity as a man who has large muscle body and the effective weight training requires the pain to build muscle and has resulted in pain and chronic injury for some young men in the study. These young men had engaged in prolonged health seeking practices, quit body building and spent a lot of money for their treatment.
Description
สังคมศาสตร์และสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์และสุขภาพ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล