สัมพันธสารวิเคราะห์การพูดสร้างแรงบันดาลใจในภาษาไทย
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 309 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
เอธิกา เอกวารีสกุล สัมพันธสารวิเคราะห์การพูดสร้างแรงบันดาลใจในภาษาไทย . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92024
Title
สัมพันธสารวิเคราะห์การพูดสร้างแรงบันดาลใจในภาษาไทย
Alternative Title(s)
A discourse analysis of inspiration talks in Thai
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างสัมพันธสาร ลักษณะการใช้คำ และไวยากรณ์ และการใช้ความหมายแสดงการประเมินคุณค่าในการพูดสร้างแรงบันดาลใจ โดยใช้แนวคิดเรื่องข้อความในสัมพันธสาร (Information structure) ทฤษฎีไวยากรณ์ระบบและหน้าที่ (Systemic Functional Linguistics) ในส่วนของบทบาทและหน้าที่เชิงปฏิสัมพันธ์ (Interpersonal metafunction) โดยศึกษาระบบปฏิสัมพันธ์ (System of MOOD) และระบบทัศนภาวะ (System of MODALITY) และทฤษฎีการประเมินคุณค่า (Appraisal Theory) งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากคลิปวิดีโอการพูดสร้างแรงบันดาลใจจากเวที TEDxBangkok 2015-2017 จำนวน 43 คลิปวิดีโอ ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทการพูดสร้างแรงบันดาลใจในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหาและส่วนสรุป โดยส่วนนำประกอบด้วย 1) คำทักทายผู้ฟัง 2) การขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้อง 3) การแนะนำตัวผู้พูด มีการใช้อนุพากย์บอกเล่า 4) การเกริ่นประสบการณ์ของผู้พูด มีการใช้อนุพากย์บอกเล่า การแสดงทัศนภาวะเพื่อให้ข้อมูล การแสดงทัศนคติ และการแสดงการเลื่อนระดับความเข้ม 5) การกล่าวภาพรวมสิ่งที่เกิดขึ้น มีการใช้อนุพากย์บอกเล่า การแสดงทัศนภาวะเพื่อให้ข้อมูล การแสดงทัศนคติ และการแสดงการเลื่อนระดับความเข้ม 6) การถามนำหรือการตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้น มีการใช้อนุพากย์คำถามเนื้อความ 7) การบอกเรื่องที่จะพูด มีการใช้อนุพากย์บอกเล่า ส่วนการใช้ขั้วบอกเล่า-ปฏิเสธในส่วนนำส่วนใหญ่จะใช้ขั้วบอกเล่าส่วนเนื้อหา ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการพูดสร้างแรงบันดาลใจ ประกอบด้วย 1) การเล่าประสบการณ์ของผู้พูด มีการ ใช้อนุพากย์บอกเล่า อนุพากย์คำถาม การแสดงทัศนภาวะเพื่อให้ข้อมูล การแสดงทัศนคติ การแสดงการเลื่อนระดับความเข้ม การแสดงการมีส่วนร่วมประเภทการแสดงการคล้อยตาม การแสดงการปฏิเสธ และการแสดงการอ้างแหล่งที่มา 2) การเล่าสิ่งที่เกิดขึ้น มีการใช้อนุพากย์บอกเล่า อนุพากย์คำถาม การแสดงทัศนภาวะเพื่อให้ข้อมูล การแสดงทัศนคติ การแสดงการเลื่อนระดับความเข้ม การแสดงการมีส่วนร่วมประเภทการแสดงการคล้อยตาม การแสดงการปฏิเสธ และการแสดงการอ้างแหล่งที่มา และ 3) การให้คำแนะนำ มีการใช้อนุพากย์บอกเล่าอนุพากย์สั่งการ การแสดงทัศนภาวะทั้งการให้ข้อมูลและการเสนอแนะ การแสดงทัศนติ การแสดงการเลื่อนระดับความเข้ม และการแสดงการมีส่วนร่วมประเภทการแสดงการพิจารณาเพื่อตัดสินใจ ส่วนการใช้ขั้วบอกเล่า-ปฏิเสธในส่วนเนื้อหา มีทั้งการใช้ขั้วบอกเล่าและขั้วปฏิเสธ แต่ส่วนการให้คำแนะนำจะใช้ขั้วบอกเล่าเป็นหลัก ส่วนสรุป ประกอบด้วย 1) การสรุปเนื้อหา มีการใช้อนุพากย์บอกเล่า อนุพากย์คำถามเนื้อความ อนุพากย์สั่งการ การแสดงทัศนภาวะเพื่อให้ข้อมูลและเสนอแนะ การแสดงทัศนคติ การแสดงการเลื่อนระดับความเข้ม และการแสดงการมีส่วนร่วมประเภทการแสดงการคล้อยตาม การแสดงการปฏิเสธ และการแสดงการพิจารณาเพื่อตัดสินใจ และ 2) การกล่าวลา เป็นส่วนสุดท้ายของตัวบท ส่วนการใช้ขั้วบอกเล่า-ปฏิเสธในส่วนสรุปจะมีการใช้ขั้วบอกเล่าเป็นส่วนมากนอกจากนี้สัมพันธสารการพูดสร้างแรงบันดาลใจยังเป็นสัมพันธสารประเภทข้อควรปฏิบัติที่ใช้เรื่องเล่าเข้ามาเพื่อช่วยให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติตาม
The objectives of this research were to analyze the discourse structure, the use of linguistic characteristics, and the use of appraisal meaning of inspiration talks in Thai. The theoretical framework used in this research consists of Information Structure (Grimes, 1975 and Longacre, 1983) and MOOD system, MODALITY system, and Appraisal Theory (Martin and White, 2005) of Systemic Function Linguistics (Halliday, 1985). Data in this research was from TEDxBagkok 2015 to 2017, 43 video clips in total. The result of this study revealed that the discourse structure of inspiration talks in Thai consisted of 3 parts: introduction, body, and conclusion. Introduction was composed of 1) greeting 2) gratitude 3) introducing own self which used declarative clause 4) introducing some experiences which used declarative clause, mudalization modality, attitude, and graduation 5) telling overall image of what happened which used declarative clause, mudalization modality, attitude, and graduation 6) using leading question which used wh-interrogative clause and 7) telling topic which used declarative clause. The positive polarity in introduction was frequently used. Body which is the most important part in inspiration talks included 1) telling what happened which used declarative clause, interrogative clause, mudalization modality, attitude, graduation, engagement-proclaimer, engagement-disclaimer, and engagement-attribute 2) sharing experience which used declarative clause, interrogative clause, mudalization modality, attitude, graduation, engagement-proclaimer, engagement-disclaimer, and engagement-attribute and 3) suggestion which used declarative clause, imperative clause, mudalization modality, modulation modality, attitude, graduation, and engagement-entertain. The uses of polarity in body were positive and negative, but positive was frequently used in suggestion. In the last part, conclusion was consisted of 1) summary which used declarative clause, wh-interrogative clause, imperative clause, modalization modality, modulation modality, attitude, graduation, engagement-proclaimer, engagement-disclaimer, and engagement-entertain and 2) farewell, the last composition of texts. The positive polarity in introduction was frequently used. Moreover, the discourse type of inspiration talks is an hortatory discourse which applies stories or narratives in order to abide by audiences.
The objectives of this research were to analyze the discourse structure, the use of linguistic characteristics, and the use of appraisal meaning of inspiration talks in Thai. The theoretical framework used in this research consists of Information Structure (Grimes, 1975 and Longacre, 1983) and MOOD system, MODALITY system, and Appraisal Theory (Martin and White, 2005) of Systemic Function Linguistics (Halliday, 1985). Data in this research was from TEDxBagkok 2015 to 2017, 43 video clips in total. The result of this study revealed that the discourse structure of inspiration talks in Thai consisted of 3 parts: introduction, body, and conclusion. Introduction was composed of 1) greeting 2) gratitude 3) introducing own self which used declarative clause 4) introducing some experiences which used declarative clause, mudalization modality, attitude, and graduation 5) telling overall image of what happened which used declarative clause, mudalization modality, attitude, and graduation 6) using leading question which used wh-interrogative clause and 7) telling topic which used declarative clause. The positive polarity in introduction was frequently used. Body which is the most important part in inspiration talks included 1) telling what happened which used declarative clause, interrogative clause, mudalization modality, attitude, graduation, engagement-proclaimer, engagement-disclaimer, and engagement-attribute 2) sharing experience which used declarative clause, interrogative clause, mudalization modality, attitude, graduation, engagement-proclaimer, engagement-disclaimer, and engagement-attribute and 3) suggestion which used declarative clause, imperative clause, mudalization modality, modulation modality, attitude, graduation, and engagement-entertain. The uses of polarity in body were positive and negative, but positive was frequently used in suggestion. In the last part, conclusion was consisted of 1) summary which used declarative clause, wh-interrogative clause, imperative clause, modalization modality, modulation modality, attitude, graduation, engagement-proclaimer, engagement-disclaimer, and engagement-entertain and 2) farewell, the last composition of texts. The positive polarity in introduction was frequently used. Moreover, the discourse type of inspiration talks is an hortatory discourse which applies stories or narratives in order to abide by audiences.
Description
ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล