กระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษา สารภีโมเดล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
dc.contributor.advisor | เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล | |
dc.contributor.advisor | ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล | |
dc.contributor.author | ชโลธร อัญชลีสหกร | |
dc.date.accessioned | 2024-01-16T00:52:53Z | |
dc.date.available | 2024-01-16T00:52:53Z | |
dc.date.copyright | 2558 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558) | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการถอดบทเรียน เพื่อสกัดเป็นชุดองค์ความรู้ เรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบำบัดฟื้นฟู แก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อนำมาเป็นแนวทางให้แก่ชุมชนอื่น ในอนาคตเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยใช้สำหรับเป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข และอาสาสมัคร ภายในโครงการสารภีโมเดล จำนวนทั้งสิ้น 15 คน โดยทำการคัดเลือกผู้ที่เริ่มปฏิบัติงานภายในโครงการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการและยังคงปฏิบัติงานอยู่จนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้สารภีโมเดลประสบความสำเร็จคือ ผู้นำ การมีส่วนร่วมของชุมชน การสื่อสาร และพื้นที่ในการจัดกิจกรรม ทั้ง 4 ปัจจัยส่งผลเกื้อหนุนให้การปฏิบัติงานด้านยาเสพติดสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี การมีผู้นำที่มีสามารถในการกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาตระหนักถึงปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นปลุกจิตสำนึกสร้างการรับรู้เรื่องการเป็นเจ้าของปัญหาเพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไข การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการขอความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนโครงการ การใช้พื้นที่ที่ผู้เข้ารับการบำบัดคุ้นเคยส่งเสริมให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เข้ารับการบำบัดเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย ปลูกฝังแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยชุมชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านยาเสพติดภายในพื้นที่ มีการกระจายข้อมูลข่าวสารให้คลอบคลุมเพื่อที่หากเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดคนในพื้นที่จะได้ทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที มีการจัดทำฐานข้อมูลผู้ติดยาเสพติดและสามารถให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ ได้เพื่อที่จะได้ช่วยสอดส่องดูแลคนในชุมชนของตนเอง | |
dc.description.abstract | The objectives of this study were to visualize lessons learned, extract a knowledge set about community participation in treatment, recovery and solving the drug problem, and be a road map for other communities in the future. The study is qualitiative research. The study samples were a total of 15 administrative authorities, sanitarians and volunteers in the Saraphee Model project. All of them were selected from among starting members who are still in the project up to now. The study found that the factors affecting the Saraphee Model's success were leadership, community participation, communication and the area. These four factors assisted the drug operation to succeed. Having a leader who can encorage the community to realize the drug problem, raise community awareness of owning the problem to be involved in solving, have coordination with other departments, both internal and external to create the project's help and supporting network, and using places which patients are familiar with, all of these helped patients to change their behavior in a better way. Suggestions from the study: To educate about solutions with community participation to boost drug operations in the area. Spread news and information covering all areas, people in the area can suddenly solve drug problems if the issue arises. Create a drug addict database and allow people in the area access to it, then they can help each other to inspect their own area. | |
dc.format.extent | ก-ช, 108 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92896 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | คนติดยาเสพติด -- ไทย -- เชียงใหม่ | |
dc.subject | คนติดยาเสพติด -- การบำบัด | |
dc.subject | การควบคุมยาเสพติด -- การมีส่วนร่วมของประชาชน | |
dc.title | กระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษา สารภีโมเดล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ | |
dc.title.alternative | The process of sustainable rehabilitation for drug addicts using community participation method : the case study of Saraphee Model Saraphee distric, Chiang Mai | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd498/5537412.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |