การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 118 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
เบญจมาศ จันทร์วัน การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92615
Title
การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี
Alternative Title(s)
Village health volunteers' self efficacy on the participation in elderly health promotion programs according to health regulation in Municipality of Pathumthani province
Author(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 8 - 31 สิงหาคม 2556 ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามสุขบัญญัติ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̄ = 3.40) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการร่วมดำเนินการ (X̄ = 3.53) ด้านการร่วมวางแผน (X̄ = 3.31) และด้านการร่วมประเมินผล (X̄ = 3.22) อยู่ในระดับปานกลาง และการรับรู้ความสามารถของตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุข โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X̄ = 3.76) เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ด้านประสบการณ์หรือการกระทำที่ประสบความสำเร็จ (X̄ = 3.80) ด้านการใช้ตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น (X̄ = 3.77) ด้านการกระตุ้นทางอารมณ์ (X̄ = 3.76) อยู่ในระดับสูง และด้านการใช้คำพูดชักจูง (X̄ = 3.63) อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุข (r = 0.218) จากผลการวิจัยควรเสริมหรือรักษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองของ อสม. ให้คงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์หรือการกระทำที่ประสบความสำเร็จ ด้านการใช้ตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น และการกระตุ้นทางอารมณ์ เช่น จัดให้มีการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ อสม. พื้นที่อื่น ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
The objective of this research was to study the self-efficacy of village health volunteer when participating in programs designed to promote health care for the elderly in accord with health regulation established in the Pathumthani Municipality, Pathumthani Province. The study sample consisted of 324 village health volunteers. The research instrument was in the form of a questionnaire. The data were collected during the period from 8-31 August 2013. The study found that the level of overall participation of village health volunteer in promoting health care for the elderly in accord with health regulation was medium (x =3.40), analysis per aspect found that the participation in implementation (x = 3.53), in planning ( x= 3.31), and in evaluation ( x= 3.22) were in the medium level. The level of overall self-efficacy was high ( x=3.76), analysis per aspect found that enactive attainment (x = 3.80), vicarious experience ( x= 3.77), emotional arousal (x = 3.76) was high but verbal persuasion (x = 3.63) was medium. The study found that self-efficacy of village health volunteer had an association with participation in promoting health of the elderly in accord with health regulation (r = 0.218). Research recommendation is that there should be an increase or an attempt to maintain the self- fficacy of village health volunteer, especially in the aspect of enactive attainment, vicarious experience and emotional arousal through additional study visits and experience sharing events with village health volunteers in other areas in order to strengthening individuals self-confidence in the performance of their role.
The objective of this research was to study the self-efficacy of village health volunteer when participating in programs designed to promote health care for the elderly in accord with health regulation established in the Pathumthani Municipality, Pathumthani Province. The study sample consisted of 324 village health volunteers. The research instrument was in the form of a questionnaire. The data were collected during the period from 8-31 August 2013. The study found that the level of overall participation of village health volunteer in promoting health care for the elderly in accord with health regulation was medium (x =3.40), analysis per aspect found that the participation in implementation (x = 3.53), in planning ( x= 3.31), and in evaluation ( x= 3.22) were in the medium level. The level of overall self-efficacy was high ( x=3.76), analysis per aspect found that enactive attainment (x = 3.80), vicarious experience ( x= 3.77), emotional arousal (x = 3.76) was high but verbal persuasion (x = 3.63) was medium. The study found that self-efficacy of village health volunteer had an association with participation in promoting health of the elderly in accord with health regulation (r = 0.218). Research recommendation is that there should be an increase or an attempt to maintain the self- fficacy of village health volunteer, especially in the aspect of enactive attainment, vicarious experience and emotional arousal through additional study visits and experience sharing events with village health volunteers in other areas in order to strengthening individuals self-confidence in the performance of their role.
Description
บริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
บริหารสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล