การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

dc.contributor.advisorเสรี วรพงษ์
dc.contributor.advisorชนันนา รอดสุทธิ
dc.contributor.advisorธเนศ เกษศิลป์
dc.contributor.authorปภาวรินท์ อังคภาณุกุล
dc.date.accessioned2024-01-05T02:02:44Z
dc.date.available2024-01-05T02:02:44Z
dc.date.copyright2562
dc.date.created2562
dc.date.issued2567
dc.descriptionสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ตลอดจนปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเทศบาลตาบลแก่งเสี้ยน โดยใช้ระเบียบ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) กับกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 359 ครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลจากการศึกษาพบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในระดับน้อย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ได้แก่ สถานภาพทางสังคม อาชีพ ประเภทที่อยู่อาศัย ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การเข้าร่วมกิจกรรมของเทศบาล และการรับรู้ข่าวสารในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ส่วนปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่สำคัญ ของประชาชน ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยจากหน่วยงานภาครัฐไม่ทั่วถึง อาทิ สถานการณ์ขยะมูลฝอย และการคัดแยก ขยะมูลฝอยในวิธีที่ถูกต้อง นอกจากนั้น ยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว จึงทำให้ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล และชุมชนเทศบาลตาบลแก่งเสี้ยนระบุว่าจำนวนถังขยะไม่เพียงพอ สำหรับข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน คือ 1) จัดทำกิจกรรม เพื่อให้ประชาชนเห็น ถึงความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอย และตระหนักถึงมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมถึงการเปิดโอกาสให้กับประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการร่วมกันวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ดำเนินการ ประเมินผล และติดตามผลจากกิจกรรมต่างๆ และการสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยผ่านการเรียนรู้ 2) ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย จากทางเทศบาล เช่น การประกาศเสียงตามสายที่สามารถเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง
dc.description.abstractThis quantitative research aimed to study the locals participation in community waste management as well as influencing factors on the participation, and explore the problems and obstacles in conducting the research, including gathering recommendations on local's participation regarding waste management of Kaeng Sian Municipality. Data was collected through the distribution of questionnaires to 359 households, residents of the area. The acquired data was analyzed by Descriptive Statistics, including Mean, Standard Deviation and One-way Analysis of Variance. The findings suggest that locals participated less in community waste management, based on, social status, occupation, resident, years of living in the community, frequencies of participation in Municipality activities, and perceived news in community waste management. Main problems affecting community waste management were that people did not receive news on waste management from the public sector as thoroughly as it should have been, not only the waste situation, but also the correct way to separate waste. Furthermore, there were insufficient trashcans to support the increasing amount of wastes from people, also, most people spent time raising their families that they hardly had enough time to participate in Municipality activities related to waste management. This study recommends that 1) Arranging activities to educate the locals on the waste problems and creating awareness on the environmental impact through training and encouraging people's participation in planning, problems analysis, operation, results assessing and monitoring, including motivating the locals to learn from example areas how to solve waste problems successfully, open wide to new perspective and learning process. 2) people's participation by conducting publicity through various media such as broadcast tower accessible to all locals in the area
dc.format.extentก-ฏ, 173 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91955
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectขยะ -- การจัดการ -- ไทย -- กาญจนบุรี
dc.subjectขยะ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
dc.title.alternativePeople's participation in community waste management of Kaeng Sian municipality, Mueang district, Kanchanaburi province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/546/5936208.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files