Effects of pharmacy pain service in cancer patients : a randomized controlled trial
Issued Date
2010
Copyright Date
2010
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 114 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Clinical Pharmacy))--Mahidol University, 2010
Suggested Citation
Sukanda Denjanta Effects of pharmacy pain service in cancer patients : a randomized controlled trial. Thesis (M.Sc. (Clinical Pharmacy))--Mahidol University, 2010. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95498
Title
Effects of pharmacy pain service in cancer patients : a randomized controlled trial
Alternative Title(s)
ผลของการให้บริการจากฝ่ายเภสัชกรรมต่อการควบคุมความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง : การศึกษาแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม
Author(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้บริการจากเภสัชกรคลินิกต่อการควบคุมความ ปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง การศึกษาเป็นแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์ในระหว่างเดือนเมษายน-ตุลาคม 2551 ผู้ป่วยโรคมะเร็งประเภทผู้ป่วยในซึ่งมีระดับ ความปวดมากกว่าหรือเท่ากับ 5 (จาก 0-10) ได้รับการสุ่มให้อยู่ในกลุ่มทดลองคือกลุ่มได้รับการบริการจากเภสัช กรหรือกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการบริการตามปกติ โดยเภสัชกรให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเริ่มยา ปรับหรือแนะนำ ขนาดยา ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และให้ความรู้แก่ผุ้ป่วย โดยผลลัพธ์หลักคือความแตกต่างของ ระดับความปวดเมื่อแรกรับกับเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในแต่กลุ่ม และความแตกต่างของระดับความ ปวดเมื่อจำหน่ายระหว่างกลุ่ม ผลลัพธ์รองคือจำนวนปัญหาที่เกี่ยวกับยา จำนวนข้อแนะนำและการยอมรับต่อ คำแนะนำของเภสัชกร มีผู้ป่วยที่อยู่ในการวิเคราะห์ผลจำนวนทั้งหมด 96 ราย ซึ่งอยุ่ในกลุ่มทดลองและควบคุม 48 และ 48 ราย ตามลำดับ พบว่าลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม เช่น อายุ เพศ และชนิดของมะเร็ง ไม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อแรกรับผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีระดับความปวดที่เท่าเทียมกัน (7.8 + 1.3 ใน กลุ่มทดลองเทียบกับ 7.9 + 1.1 ในกลุ่มควบคุม) แต่เมื่อจำหน่ายพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีระดับความปวดที่ น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.2 + 1.2 ในกลุ่มทดลองเทียบกับ 4.9 + 1.8 ในกลุ่มควบคุม, P < 0.0001) นอกจากนี้ ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองทุกคนได้รับการประเมินว่าการรักษาอาการปวดดีขึ้นหรือหายจากอาการ ปวดในขณะที่มีเพียงร้อยละ 47.9 ของผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมที่การรักษาอาการปวดดีขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่เกิดอาการ ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.72) ในกลุ่มทดลอง พบปัญหาจากการใช้ยา 251 ปัญหา ที่พบบ่อย ได้แก่ การจำเป็นต้องเริ่มยาหรือได้รับยาเพิ่ม และการใช้ยาในขนาด ที่ต่ำเกินไป แพทย์ยอมรับคำแนะนำของเภสัชกรมากกว่าร้อยละ 85 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการมีเภสัชกร เข้าร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งจะช่วยให้ผลลัพธ์ของการควบคุมความปวดดีขึ้น
Description
Clinical Pharmacy (Mahidol University 2010)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Pharmacy
Degree Discipline
Clinical Pharmacy
Degree Grantor(s)
Mahidol University