การศึกษาปัจจัยต้นทุนชีวิตที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

dc.contributor.advisorสุพร อภินันทเวช
dc.contributor.advisorสุริยเดว ทรีปาตี
dc.contributor.advisorภัทราวลัย ตลึงจิตร
dc.contributor.authorทัศนีย์ สุนทราภิรมย์
dc.date.accessioned2024-01-12T04:03:50Z
dc.date.available2024-01-12T04:03:50Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยต้นทุนชีวิตระหว่างวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และไม่ตั้งครรภ์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานกับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงวัยรุ่นอายุ 12-19 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มศึกษา (Case group) คือเด็กวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์กับหน่วยฝากครรภ์วัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 86 คน และกลุ่มควบคุม (Control group) คือ เด็กวัยรุ่นที่ไม่ตั้งครรภ์และไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาบริเวณใกล้เคียงกับโรงพยาบาลศิริราช โดยการจับคู่ด้านอายุ (Matching) กับกลุ่มศึกษา จำนวน 86 คน รวมทั้งสิ้น172 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไปและแบบวัดต้นทุนชีวิตของสุริยเดว ทรีปาตี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยต้นทุนชีวิตสูงกว่ากลุ่มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ส่วนรายข้อที่มีความแตกต่างกันของ 2 กลุ่มพบว่ากลุ่มควบคุมมีร้อยละที่สูงกว่ากลุ่มศึกษา 16 ข้อ นอกจากนี้กลุ่มศึกษามีการประเมินรายข้อไม่ผ่านเกณฑ์ถึง 21ข้อ ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการเป็นกลุ่มเสี่ยง ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ต้นทุนชีวิต ผลการ เรียน ระดับการศึกษา มารดามีบุตรคนแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 20 ปี คนในครอบครัวมีบุตรคนแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 20 ปี ผู้ทำหน้าที่ผู้ปกครองหลัก ระดับการศึกษาบิดา อาชีพมารดา รายได้ของครอบครัว ความสัมพันธ์ของบิดามารดา ความรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่บ้าน และการสูบบุหรี่ ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นพลังบวกที่อ่อนแอ ที่วัยรุ่นกำลังประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือเชิงลึกโดยเร่งด่วน นำมาซึ่งการพัฒนาเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงการป้องกันความเสี่ยงเฉพาะสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และ การเสริมสร้างปัจจัยป้องกันสำหรับกลุ่มวัยรุ่นทั่วไป
dc.description.abstractThis study aimed at comparing life assets between pregnant teenagers and non-pregnant teenagers, and at studying the relationship between basic factors and teenage pregnancy. The sample group involved female teenagers aged between 12-19 years, which were divided into 2 groups: Case Group, which included 86 pregnant teenagers who have received the antenatal care service at the Teenage Antenatal Care Unit of Siriraj Hospital and Control Group, which included the teenagers who were not and have never been pregnant, and were studying at any educational institute near Siriraj Hospital. The Control Group was matched with the Case Group for a total of 172 teenagers. The research instruments were the questionnaires regarding general information and life assets inventory developed by Suriyadeo Tripathi. The result showed that the life assets scores of the Control Group were higher than those of the Case Group at a significance level of .05. For different aspects of both groups, it was found that the Control Group obtained higher percentage in 16 items. In addition, the Case Group could not meet the assessment criteria of 21 items, which indicated that they are a risk group. The factors affecting teenage pregnancy at a significance level of .05 included the life assets, learning achievement, level of education, mother having the first child at an age less than 20 years, family member having the first child at an age less than 20 years, main guardian, father's level of education, mother's occupation, family income, parents' relationship, family warmth, and smoking. The results showed that the teenagers' positive powers have become weak, and they need the urgent and comprehensive assistance, which can lead to the preventive measures for teenage pregnancy as well as prevention of specific risks in high-risk groups, and the enforcement for preventive factors in general teenagers
dc.format.extentก-ฎ, 190 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92571
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectครรภ์ในวัยรุ่น
dc.titleการศึกษาปัจจัยต้นทุนชีวิตที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
dc.title.alternativeThe study of life assets in teenage pregnancy
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd517/5536657.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
thesis.degree.disciplineจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files