ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยกลุ่มโรคข้อเข่าเสื่อม ฝ่ายแพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2021
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Journal Title
หนังสือรวมบทความวิชาการ การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ประจำปี 2564 ครั้งที่ 9
Volume
ครั้งที่ 9
Issue
-
Start Page
30
End Page
45
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
พท.ป.พฤทธิพร ราหุรักษ์, ดร.นพ.สมภพ สูอาพัน, สุวภัทร พุทธเกษม และชฎากาญ ทวีพันธุ์ (2564). ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยกลุ่มโรคข้อเข่าเสื่อม ฝ่ายแพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. หนังสือรวมบทความวิชาการ การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ประจำปี 2564 ครั้งที่ 9 : หน้า30-45.
Suggested Citation
พฤทธิพร ราหุรักษ์, สมภพ สูอำพัน, สุวภัทร พุทธเกษม, ชฎากาญ ทวีพันธุ์ ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยกลุ่มโรคข้อเข่าเสื่อม ฝ่ายแพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. พท.ป.พฤทธิพร ราหุรักษ์, ดร.นพ.สมภพ สูอาพัน, สุวภัทร พุทธเกษม และชฎากาญ ทวีพันธุ์ (2564). ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยกลุ่มโรคข้อเข่าเสื่อม ฝ่ายแพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. หนังสือรวมบทความวิชาการ การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ประจำปี 2564 ครั้งที่ 9 : หน้า30-45.. 45. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/97394
Title
ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยกลุ่มโรคข้อเข่าเสื่อม ฝ่ายแพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Clinical Outcomes of Patients with Osteoarthritis of Knee in Alternative Medicine, Golden Jubilee Medical Center, Mahidol University
Author's Affiliation
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วย และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โดยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยย้อนหลัง (Retrospective study) ด้วยวิธีเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ที่เข้ารับการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนด้วยการฝังเข็มและศาสตร์แพทย์แผนไทยด้วยการนวดกดจุดรักษาแบบราชสานักและประคบสมุนไพร สัปดาห์ละ 1 ครั้งต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีจานวน 172 คน จากคลินิกแพทย์แผนจีนและคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ในช่วงปีพ.ศ. 2556-2558 ตัวชี้วัดทางคลินิกคือคะแนนความปวด (VAS 0-10 คะแนน) วัดผลหลังการรักษาสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 เปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการรักษา
จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 83.14 โดยมีอายุเฉลี่ย 64.44 ปี (S.D. = 9.22) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.91 กก./ม.2 (S.D. = 4.48) สาหรับการเปรียบเทียบระดับความปวดทั้งก่อนและหลังเข้ารับการรักษาจนครบ 8 สัปดาห์ พบว่าการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน คะแนนความปวดลดลงเฉลี่ยเท่ากับ 1.94 คะแนน [95% C.I. (-2.19, -1.69), p<0.001] และการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย คะแนนปวดลดลงเฉลี่ยเท่ากับ 1.95 คะแนน [95% C.I. (-2.59, -1.32), p<0.001]
การวิเคราะห์ผลการรักษาในแต่ละกลุ่มระดับอาการปวด หลังการรักษาศาสตร์แพทย์แผนจีน เมื่อทาการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความปวดในแต่ละช่วงเวลา (สัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 หลังการรักษา) พบว่าในกลุ่มที่ปวดระดับน้อย (คะแนนปวด 1-3 คะแนน) มีการลดลงของคะแนนปวดอย่างมีนัยสำคัญ หลังการรักษาสัปดาห์ที่ 8 เมื่อเทียบกับก่อนเข้ารับการรักษา (p<0.001) ในขณะที่กลุ่มที่ปวดระดับปานกลาง (คะแนนปวด 4-6 คะแนน) และกลุ่มที่ปวดระดับรุนแรง (คะแนนปวด ≥7 คะแนน) มีการลดลงของคะแนนปวดอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป เมื่อเทียบกับก่อนเข้ารับการรักษา (p<0.001)
ผลสรุปจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยความถี่ของการรักษาควรเข้ารับการรักษาสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดี สาหรับงานวิจัยในอนาคตควรมีการศึกษาแบบไปข้างหน้าหรือมีกลุ่มควบคุม เพื่อเป็นหลักฐานข้อมูลงานวิจัยด้านแพทย์ทางเลือกที่ดีขึ้น
This 3-year retrospective study aimed to investigate the characteristics and clinical outcomes of patients with osteoarthritis of knee. The samples were randomly selected from patient’s medical record in the number of 172 patients who had acupuncture treatment or Thai royal massage and hot herbal compression treatment once a week for consecutive eight-week period in the Traditional Chinese Medicine (TCM) and Applied Thai Traditional Medicine (ATT) Clinics, Golden Jubilee Medical Center, year between 2013 and 2015. The clinical outcome measures were 10-cm visual analogue pain score (VAS) measured before (baseline) and post-treatment week 2, 4, 6 and 8. The result showed that the samples are mostly female with 83.14 percent. The mean age was 66.44 years (S.D. = 9.22), and the mean body mass index was 26.91 (S.D. = 4.48). Clinical outcomes after 8-week treatment period, the VAS significantly decreased with the mean of 1.94-cm [95% C.I. (-2.19, -1.69), p<0.001] after TCM treatment, and decreased with the mean of 1.95-cm [95% C.I. (-2.59, -1.32), p<0.001] after ATT treatment. Further analysis in three different groups of pain severity was performed in the samples who had the TCM treatment at post-treatment week 2, 4, 6 and 8 compared with baseline. For mild pain, (VAS 1-3 cm), the pairwise comparison revealed that there was a significant decrease VAS at post-treatment week 8 (p<0.001). While moderate pain (VAS 4-6 cm) and severe pain (VAS ≥7 cm), the pairwise comparison revealed that there was a significant decrease VAS in post-treatment week 2 onwards compared with baseline (p<0.001). In conclusion, Alternative Medicine may be the alternative therapeutic approaches for alleviating pain in osteoarthritis of knee patients. The treatment frequency should be once a week for at least 8-week duration to yield promising result. Prospective research with controlled trial study is recommended for the future research to create stronger research evidence.
This 3-year retrospective study aimed to investigate the characteristics and clinical outcomes of patients with osteoarthritis of knee. The samples were randomly selected from patient’s medical record in the number of 172 patients who had acupuncture treatment or Thai royal massage and hot herbal compression treatment once a week for consecutive eight-week period in the Traditional Chinese Medicine (TCM) and Applied Thai Traditional Medicine (ATT) Clinics, Golden Jubilee Medical Center, year between 2013 and 2015. The clinical outcome measures were 10-cm visual analogue pain score (VAS) measured before (baseline) and post-treatment week 2, 4, 6 and 8. The result showed that the samples are mostly female with 83.14 percent. The mean age was 66.44 years (S.D. = 9.22), and the mean body mass index was 26.91 (S.D. = 4.48). Clinical outcomes after 8-week treatment period, the VAS significantly decreased with the mean of 1.94-cm [95% C.I. (-2.19, -1.69), p<0.001] after TCM treatment, and decreased with the mean of 1.95-cm [95% C.I. (-2.59, -1.32), p<0.001] after ATT treatment. Further analysis in three different groups of pain severity was performed in the samples who had the TCM treatment at post-treatment week 2, 4, 6 and 8 compared with baseline. For mild pain, (VAS 1-3 cm), the pairwise comparison revealed that there was a significant decrease VAS at post-treatment week 8 (p<0.001). While moderate pain (VAS 4-6 cm) and severe pain (VAS ≥7 cm), the pairwise comparison revealed that there was a significant decrease VAS in post-treatment week 2 onwards compared with baseline (p<0.001). In conclusion, Alternative Medicine may be the alternative therapeutic approaches for alleviating pain in osteoarthritis of knee patients. The treatment frequency should be once a week for at least 8-week duration to yield promising result. Prospective research with controlled trial study is recommended for the future research to create stronger research evidence.