ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

dc.contributor.advisorอรวรรณ แก้วบุญชู
dc.contributor.advisorกิติพงษ์ หาญเจริญ
dc.contributor.advisorสุริยาพันธุ์ มุ่งการดี
dc.contributor.authorสุชาดา กลิ่นศรีสุข
dc.date.accessioned2024-01-13T05:17:09Z
dc.date.available2024-01-13T05:17:09Z
dc.date.copyright2557
dc.date.created2567
dc.date.issued2557
dc.descriptionการพยาบาลสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจิตสังคมและปัจจัยชีวเคมีกับการเกิดภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรปลูกผักและผลไม้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 340 คน เป็นเพศชาย 109 คน เพศหญิง 231 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ ประเมินภาวะซึมเศร้าด้วย แบบวัดภาวะซึมเศร้า CES-D และประเมินปัจจัยจิตสังคมด้วยแบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2555 วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square) และการวิเคราะถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า เพศหญิงมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 25.5 ซึ่งพบมากกว่าเพศชายที่มีภาวะซึมเศร้าเพียงร้อยละ 16.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ความขัดแย้งกับบุคคลสำคัญในชีวิต (OR=3.1, 95%CI=1.47-6.61) และความบกพร่อยทางสัมพันธ์ภาพ (OR=5.9, 95%CI=2.36-14.68) ในเพศหญิง และ ประวัติการแพ้พิษสารกำจัดศัตรูพืช (OR=4.2, 95%CI=1.23-14.71) ในเพศชาย ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่าการป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเกษตรกร พยาบาลสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้การดูแลช่วยเหลือ ทั้งปัจจัยด้านจิตสังคม วิธีชีวิตสุขภาพและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
dc.description.abstractThe purpose of the study was to explore depressive symptoms that have been associated with personal factors / psychosocial factors, and biochemical factors among farmers in cross-sectional studies. Data for this study came from 109 male and 231 female farmers growing vegetables and fruit in Prachuap Khiri Khan, Thailand. The data was collected by interviews, and depressive symptoms were assessed using the Center for Epidemiologic Studies-Depression (CES-D) scale and Thai Interpersonal Questionnaire from August 1 to 30 September, B.E. 2555. The data was analyzed by Chi-square and Logistic regression analysis. The findings of the study revealed that the prevalence of depression in males and females were 16.50% and 25.50%, respectively. Logistic regression analysis indicated two variables that were significantly associated with depression in females: having interpersonal role disputes (OR=3.1, 95%CI=1.47-6.61) and interpersonal deficits (OR=5.9, 95%CI=2.36-14.68) in males only having a history of pesticide poisoning (OR=4.2, 95%CI=1.23-14.71), was significantly associated with depression. The results suggest that to prevent depression among farm workers, the occupational health intervention should place emphasize on psychosocial factors and pesticide poisoning.
dc.format.extentก-ญ, 168 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92614
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectเกษตรกร -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
dc.subjectความซึมเศร้า
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
dc.title.alternativeFactors related to depression among agricultural workers in Prachuap Khiri Khan provine
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd492/5236305.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files