การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกีตาร์ กรณีศึกษาโรงเรียนเชียงของวิทยาคม อำเถอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 97 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
สามารถ คัญทัพ การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกีตาร์ กรณีศึกษาโรงเรียนเชียงของวิทยาคม อำเถอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92770
Title
การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกีตาร์ กรณีศึกษาโรงเรียนเชียงของวิทยาคม อำเถอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
Alternative Title(s)
A study of guitar teaching : a case study of Chiangkhongwittayakhom School, Chiangkhong district, Chiangrai provoice, Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกีตาร์ของโรงเรียนเชียงของวิทยาคม อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในด้านต่อไปนี้ คือ หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชากีตาร์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และนักเรียนที่เรียนรายวิชากีตาร์ โดยใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนกีตาร์ ด้านหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ พบว่า หลักสูตร มีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน มีความต่อเนื่องของหน่วยการเรียน นำไปสู่หน่วยการเรียนรู้ที่ออกแบบได้อย่างเหมาะสม ตรงกับความต้องการของนักเรียน เนื้อหาการเรียนวิชากีตาร์ที่มีความครบถ้วน เนื้อหาที่เริ่มจากง่ายไปหายาก ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า การจัดกิจกรรมเน้นการปฏิบัติจากกิจกรรมกลุ่ม การปฏิบัติจริง นักเรียนเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเกิดการพัฒนาในตัวผู้เรียนด้านทักษะปฏิบัติ กระบวนการการทำงาน ภาวะผู้นำด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า สื่อจากอินเตอร์เน็ทเสนอเทคนิคการเล่นกีตาร์ กีตาร์มีคุณภาพส่งผลให้นักเรียนสามารถปฏิบัติเครื่องดนตรีได้ดี แหล่งค้นคว้าทางด้านดนตรีในห้องสมุดนักเรียนสามารถค้นคว้าด้วยตนเอง ตามความสนใจ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ด้านการวัดและการประเมินผล พบว่า การวัดพัฒนาการของนักเรียนที่ครูผู้สอนวัดอย่างเป็นระบบ มีการวัดผลทุกระยะตลอดการเรียนการสอน วิธีการประเมินผลเป็นการประเมินแบบอิงเกณฑ์เป็นกระบวนการที่มีคุณภาพในการประเมิน
This research aims to study guitar teaching of Chiangkhongwittayakhom school, Chiangkhong District, Chiangrai Province in the following fields: school curriculum of the Art division, teaching activities, instructional media, and measurement and assessment methods. Moreover, the sample groups are the guitar teacher, the head of the Art division, Vice-Director of Academic Affairs, and the students who study guitar subject by using document studies, interviews, and observations It is found that the school curriculum for guitar teaching is flexible for preparation in teaching and learning and continuous in study units. This coherence of the school curriculum is able to conduce a design of appropriate units which are suitable for students and to create the completed content in the guitar subject. Furthermore, the teaching activity emphasizes group activities and action learning consequently, the students can both learn and do the activities simultaneously. The students learn by themselves and improve working and leadership skills. For the instructional media part the internet offers guitar practice techniques. The better guitar quality the more the students play them perfectly. Finally, criteria used for measurement and assessment referenced for student development is systematic and effective.
This research aims to study guitar teaching of Chiangkhongwittayakhom school, Chiangkhong District, Chiangrai Province in the following fields: school curriculum of the Art division, teaching activities, instructional media, and measurement and assessment methods. Moreover, the sample groups are the guitar teacher, the head of the Art division, Vice-Director of Academic Affairs, and the students who study guitar subject by using document studies, interviews, and observations It is found that the school curriculum for guitar teaching is flexible for preparation in teaching and learning and continuous in study units. This coherence of the school curriculum is able to conduce a design of appropriate units which are suitable for students and to create the completed content in the guitar subject. Furthermore, the teaching activity emphasizes group activities and action learning consequently, the students can both learn and do the activities simultaneously. The students learn by themselves and improve working and leadership skills. For the instructional media part the internet offers guitar practice techniques. The better guitar quality the more the students play them perfectly. Finally, criteria used for measurement and assessment referenced for student development is systematic and effective.
Description
ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Degree Discipline
ดนตรี
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล