The principles of public prosecutor's discretion not prosecuting the non public interest criminal cases
dc.contributor.advisor | Punchada Sirivunnabood | |
dc.contributor.advisor | Sunee Kanyajit | |
dc.contributor.advisor | Poom Moolsilpa | |
dc.contributor.advisor | Kullaphol Phollawan | |
dc.contributor.author | Adulyakhup Thongjean | |
dc.date.accessioned | 2023-09-08T03:10:45Z | |
dc.date.available | 2023-09-08T03:10:45Z | |
dc.date.copyright | 2013 | |
dc.date.created | 2013 | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | This research intends to study the attitude of public prosecutors and personal factors that could affect the use of their discretion in deciding not to prosecute the non public interest criminal cases, including, analyzing the laws and regulations relating to the discretion of public prosecutors in deciding not to prosecute the non public interest criminal cases. It also seeks an appropriate principle of public prosecutor's discretion in deciding not to prosecute the non public interest criminal cases in order to improve the criminal justice administration by using a combination of research that focuses on quantitative research as a core and also supplemented by qualitative research. The quantitative research studies the population based on the public prosecutor who is responsible for the issuance of order relating to the criminal case, in Provincial Chief Public Prosecutor operating in the regional area in Thailand and Executive Director operating in the Central of Bangkok with a total amount of 235 persons. The qualitative research studies documents and in-depth interview on target population, including the prosecutor in charge of the management in the Office of the Attorney General with an amount of 20 persons. Qualified persons in the field of law, criminal justice system, criminology with at least 10 years of experience an amount of 10 persons. From this study, it was found that the different backgrounds of public prosecutors or the personal factors; such as, gender, age, highest education background, the maximum amount of time working in the prosecutor to consider criminal responsibility would not affect the discretion in deciding not to prosecute the non public interest criminal cases in any way. Although public prosecutors have positive attitudes towards the use of discretion in deciding not to prosecute the non public interest criminal cases, the process of laws and legislation regulations relating to the non public interest criminal cases do affect the discretion of the prosecutor in deciding not to prosecute the non public interest criminal cases. To protect the rights of offenders and achieve the purpose of maintaining peace and order of the society, the Office of the Attorney General should clearly amend laws and regulations related to definition or nature of the non public interest criminal cases. By reducing steps or procedures in proposing opinions to not prosecute in a brief statement based in a way as to decentralize the power from the top to the bottom and equip a training course for public prosecutor on the principles of public prosecutor's discretion not prosecuting the non public interest criminal cases and published the guidelines for public prosecutor in order to raise awareness and understanding in this regard. In addition, there should be a public relations exercise to enhance understanding about the authority of public prosecutor in this part. This can be done through the media by arranging a seminar involving all sectors to take part. | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลและเจตคติของพนักงานอัยการที่ส่งผลต่อการใช้ดุลพินิจใน การสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ตลอดจนวิเคราะห์กระบวนการทางกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการสั่งไม่ฟ้อง คดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนที่ส่งผลต่อการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา และศึกษาหาหลักการ ในการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนที่เหมาะสม เพื่อนำไปพัฒนาการ บริหารงานยุติธรรมในส่วนของพนักงานอัยการต่อไป โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักแล้วเสริม ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณได้ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับพนักงานอัยการทั่วประเทศที่ทำ หน้าที่ออกคำสั่งเกี่ยวกับคดีอาญาในตำแหน่ง อัยการจังหวัด และอัยการพิเศษฝ่าย จำนวน 235 คน ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และสัมภาษณ์ในเชิงลึกจากพนักงานอัยการที่รับผิดชอบงานบริหารในสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 20 คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมาย ด้านการบริหารงานยุติธรรม ด้านอาชญาวิทยาหรือทัณฑวิทยา อีกจำนวน 10 คน จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า ความแตกต่างกันของพนักงานอัยการเกี่ยวกับภูมิหลังส่วนบุคคลหรือปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานอัยการที่รับผิดชอบพิจารณาสั่งคดีอาญา และ ประสบการณ์ทางานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ไม่อาจมีผลต่อการใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนแต่ อย่างใด และถึงแม้ว่าพนักงานอัยการจะมีเจตคติทางบวกต่อการใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ก็ไม่ได้ทำ ให้ใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนไปด้วย โดยกระบวนการทางกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการสั่งไม่ ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนส่งผลต่อการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ สาธารณชน ดังนั้น เห็นควรกำหนดความหมายหรือลักษณะของคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนถ้ามีการฟ้องคดีให้ชัดเจนและ ลดขั้นตอนต่าง ๆ ในการเสนอความเห็นเพื่อออกคำสั่งไม่ฟ้องให้สั้นกระชับลง ง่ายต่อการปฏิบัติ ประชาสัมพันธ์หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในส่วนนี้ บรรจุเรื่องดังกล่าวไว้เป็นหลักสูตรหนึ่งในการฝึกอบรมอัยการผู้ช่วย จัดทำคู่มือแนวทางในการ ปฏิบัติงาน ตลอดจนเผยแผ่คำวินิจฉัยคดีประเภทดังกล่าว เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้กระทำความผิดและบรรลุวัตถุประสงค์ในการรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่าง แท้จริง สำนักงานอัยการอัยการสูงสุดควรแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยกาหนดความหมายหรือลักษณะของคดีอาญาที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่สาธารณชนถ้ามีการฟ้องคดีให้ชัดเจน และลดขั้นตอนต่าง ๆ ในการเสนอความเห็นเพื่อออกคำสั่งไม่ฟ้องให้สั้นกระชับใน ลักษณะกระจายอำนาจจากส่วนบนลงไปสู่ส่วนล่าง และบรรจุเรื่องหลักการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่ เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนไว้เป็นหลักสูตรหนึ่งในการฝึกอบรมพนักงานอัยการ ตลอดจนจัดทำคู่มือแนวทางในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพื่อ เป็นก่อให้เกิดความตระหนักรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในส่วนนี้ ซึ่งอาจจะดำเนินการผ่านสื่อต่าง ๆ จัดสัมมนาให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ด้วย | |
dc.format.extent | x, 223 leaves | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2013 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89522 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Criminal justice, Administration of -- Thailand | |
dc.subject | Criminal procedure -- Thailand | |
dc.subject | Public prosecutors -- Thailand -- Attitude | |
dc.title | The principles of public prosecutor's discretion not prosecuting the non public interest criminal cases | |
dc.title.alternative | หลักการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน | |
dcterms.accessRights | restricted access | |
mu.link.internalLink | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd477/5236857.pdf | |
thesis.degree.department | Faculty of Social Sciences and Humanities | |
thesis.degree.discipline | Criminology, Justice Administration and Society | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Doctoral Degree | |
thesis.degree.name | Doctor of Philosophy |