การพัฒนานวัตกรรมเชิงกระบวนการเพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในวัยรุ่น

dc.contributor.advisorปิยวัฒน์ เกตุวงศา
dc.contributor.advisorกนกวรรณ ธราวรรณ
dc.contributor.advisorปัญญา ไข่มุก
dc.contributor.authorชาตินัย หวานวาจา
dc.date.accessioned2024-01-15T01:45:31Z
dc.date.available2024-01-15T01:45:31Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2567
dc.date.issued2560
dc.descriptionวิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และเพิ่มกิจกรรมทางกายแก่วัยรุ่นที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ออกแบบกระบวนการวิจัยในรูปของการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ Case-Control Study แบ่งนักเรียนออกเป็น กลุ่มทดลองที่ใช้นวัตกรรม เชิงกระบวนการ "ทีนรู้...อยู่ตื่น" เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกลุ่มควบคุมกลุ่มที่ไม่ได้ใช้นวัตกรรมเชิงกระบวนการ "ทีนรู้...อยู่ตื่น" ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Data Analysis) ทั้งก่อนเข้าร่วมโครงการ หลังเข้าร่วมโครงการ และติดตามความต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย (t-test) และสมการทำนายถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผลจากการใช้นวัตกรรมเชิงกระบวนการ "ทีนรู้...อยู่ตื่น" ใน 1 ภาคเรียน สามารถสร้างความแตกต่างด้านพฤติกรรมระหว่างนักเรียนทั้งสองกลุ่ม โดยผลจากการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม (Independent sample t-test) พบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการใช้หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อความบันเทิงลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น แตกต่างกับกลุ่มควบคุมที่มีกิจกรรมทางกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง (Paired t-test) ในกลุ่มทดลอง พบว่า นวัตกรรมเชิงกระบวนการ "ทีนรู้...อยู่ตื่น" สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกทั้งในด้านการลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ลดการใช้หน้าจอ และเพิ่มกิจกรรมทางกายได้อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่การวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยพหุคูณพบว่า นวัตกรรมเชิงกระบวนการ "ทีนรู้...อยู่ตื่น" มีอิทธิพลช่วยลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ขณะเดียวกันสามารถลดอิทธิพลของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญ
dc.description.abstractThis study aimed to understand the impact of a process innovation called Active Living Skills for reducing sedentary behavior and promoting active lifestyle among adolescents in secondary schools. This study utilized Quasi-Experimental Research with Case-Control Study. The experimental group was introduced to the Active Living Skills while the control was not. Surveys were conducted 3 times: pre and post project were done with a follow-up using quantitative data analysis. T-test and multiple linear regression analyse were used to analyze the data. The study found behavioral differences among the research subjects. The independent sample t-test revealed that sedentary behavior and screen time for entertainment among the students introduced to Active Living Skills decreased significantly in comparison to the control group. The experimental group reported significantly higher physical activity over the control group. The results were consistent when analyzing pre and post survey data using paired t-test. The study showed that Active Living Skills can significantly yield positive results in reducing sedentary behavior and average screen time, and in increasing physical activity. Multiple linear regression analysis showed that Active Living Skills can significantly reduce sedentary behavior and promote physical activity among students, as well as reduce the effects of other environmental factors influencing students' behavior.
dc.format.extentก-ฎ, 173 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92677
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectนวัตกรรมทางการศึกษา
dc.subjectพฤติกรรมผิดปกติในวัยรุ่น
dc.subjectกิจกรรมของนักเรียน
dc.subjectกิจกรรมทางกาย
dc.subjectเด็กกับสื่อการสอน
dc.subjectวัยรุ่น -- พฤติกรรม
dc.titleการพัฒนานวัตกรรมเชิงกระบวนการเพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในวัยรุ่น
dc.title.alternativeThe development of process innovation for reducing sedentary behavior among adolescents
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd531/5736115.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
thesis.degree.disciplineวิจัยประชากรและสังคม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files