สถานการณ์การดำเนินงานและความคิดเห็นต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
dc.contributor.author | มณฑา เก่งการพานิช | en_US |
dc.contributor.author | ลักขณา เติมศิริกุลชัย | en_US |
dc.contributor.author | ธราดล เก่งการพานิช | en_US |
dc.contributor.author | Mondha Kengganpanich | en_US |
dc.contributor.author | Lakkhana Termsirikulchai | en_US |
dc.contributor.author | Tharadol Kengganpanich | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-04-20T06:27:06Z | |
dc.date.accessioned | 2020-10-12T06:57:41Z | |
dc.date.available | 2016-04-20T06:27:06Z | |
dc.date.available | 2020-10-12T06:57:41Z | |
dc.date.created | 2559-04-20 | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.description.abstract | การสำรวจสถานการณ์ของการดำเนินงานและความคิดเห็นต่อการดำเนินงานให้สนานที่ราชการเป็นเขต ปลอดบุหรี่ตาม พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ทำการศึกษาในหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการให้สถานที่ราชการปลอดบุหรี่มีด้วยกัน 9 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงคมนาคม ศึกษาใน 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อศึกษาถึงการปฏิบัติตาม พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้มาสูบบุหรี่ พ.ศ.2535 (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 10 พ.ศ.2545) กลุ่มเป้าหมาย 233 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 133 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 57.1 และบุคลากรของหน่วยงาน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในที่ทำงาน และความคิดเห็นต่อ พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 กลุ่มเป้าหมาย 13,650 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 9,276 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 68.0 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2548 ผลการศึกษาการปฏิบัติตาม พรบ.ฯ ในทัศนะของผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงาน พบว่า ร้อยละ65.9 มีการจัดหน่วยงานให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ หากแต่ลักษณะการจัดยังไม่ค่อยถูกต้อง โดยมีการจัดเขตปลอดบุหรี่ร้อยละ 72.5 และจัดเขตสูบบุหรี่ ร้อยละ 44.7 ความสำเร็จในระดับมากร้อยละ 55.8 ซึงปัญหาการดำเนินคือ ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง นอกจากนี้หน่วยงานร้อยละ 39.5 มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ โดยจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น และมีการแจกสื่อเอกสารเผยแพร่ความรู้ ปัญหาที่สำคัญคือ ปริมาณสื่อไม่เพียงพอและบุคลากรขาดความตระหนัก หัวหน้าหน่วยงานร้อยละ 47.4 เห็นด้วยกับการจัดเขตปลอดบุหรี่เฉพาะบางส่วนและจัดเขตสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะที่ มากกว่าการจัดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% ซึ่งมีเห็นด้วยร้อยละ 44.4 ในส่วนของความพร้อมในการดำเนินการระดับมากมีอยู่ร้อยละ 49.6 ขณะเดียวกันหน่วยงาน ร้อยละ 72.8 ยังมีความต้องการสื่อเพื่อใช้ในการรณรงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายประชาสัมพันธ์และการมีนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนของหน่วยงาน ผลการศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในที่ทำงานและความคิดเห็นต่อการดำเนินงานให้หน่วยงานเป็นเขตปลอดบุหรี่ พบว่า บุคลากรที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ ณ ปัจจุบันมีอยู่ ร้อยละ 8.4 และมีผู้เคยลองและเคยสูบและเลิกแล้ว ร้อยละ 16.7 อายุเริ่มสูบ ร้อยละ 35.5 อยู่ระหว่าง 16-18 ปี ลักษณะการสูบร้อยละ 80.3 เป็นการสูบแบบติดบุหรี่ โดยมีปริมาณการสูบเฉลี่ย 10.4 มวนต่อวันและร้อยละ 42.9 สูบที่บ้าน รองลงมาคือ ร้อยละ 22.4 สูบที่ทำงาน การสูบบุหรี่ในที่ทำงานร้อยละ 34.2 สูบในที่ที่ไม่มีสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 64.6 ที่สูบบุหรี่และมีผลต่อสุขภาพที่สำคัญคือ มีอาการเกี่ยวกับการหายใจ ร้อยละ 76.8 เคยพยายามเลิกด้วยวิธีตั้งใจเลิกเองและหักดิบ เหตุผลของความตั้งใจอยากเลิกส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวอยากให้เลิก และผู้สูบรู้ถึงโทษของบุหรี่มากขึ้น เพศชายสูบบุหรี่มากกว่าเพศหญิงมาก กล่าวคือ เพศชายสูบร้อยละ 24.5 เพศหญิงร้อยละ 1.0 กลุ่มที่สูบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนงาน คนสวน คนขับรถ พนักงานรักษาความปลอดภัย มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและต่พกว่า บุคลากรส่วนใหญ่ร้อยละ 79.2 รับทราบเกี่ยวกับ พรบ.ฯ และร้อยละ 97.2 เห็นด้วยกับการมี พรบ. ฯ สำหรับการรับรู้การดำเนินงานให้หน่วยงานปลอดบุหรี่มีรับรู้ร้อยละ 50.3 โดยรับรู้จากป้ายและสัญลักษณ์ที่ติดไว้ในหน่วยงาน การจัดเขตสูบบุหรี่มีการรับรู้ว่ามีเพียงร้อยละ 28.7 และร้อยละ 45.9 เห็นว่า จัดอย่างไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดี บุคลากรร้อยละ 40.8 ต้องการให้หน่วยงานเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% และร้อยละ 89.6 ต้งการการสนับสนุนสื่อในลักษณะของการจัดการ เช่น จัดเขตสูบบุหรี่ จัดนิทรรศการให้ความรู้ หลักสูตรบำบัด และการสนับสนุนให้ผู้สูบไปเข้าคลีนิคอดบุหรี่ เป็นต้น และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อ พรบ.ฉบับนี้ได้แก่ กลุ่มที่อายุ ตำแหน่งงายที่ต่างกัน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การเกิดผลต่อสุขภาพ ความต้องการเลิกบุหรี่ การรับทราบเกี่ยวกับ พรบ. และการรับรู้ถึงการดำเนินงานหน่วยงานปลอดบุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการให้สำคัญในการนำไปใช้ปรับความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อ พรบ. ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติต่อหน่วยงานคือ การวิเคราะห์และทำความเข้าใจสถานการณ์ การประกาศนโยบายที่ชัดเจน กำหนดผู้รับผิดชอบ มีการวางแผนและแนวทางการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูบบุหรี่ การรณรงค์ผ่านสื่อสารมวลชน จัดทำคู่มือและแนวทางการดำเนินงานเผยแพร่ และมีศูนย์กลางประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือหน่วยงานที่มีหน้าที่ออกกฎหมาย ให้มีการติดตามและควบคุมการบังคับใช้กฎหมาย การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความชัดเจนในนโยบายของหน่วยงานทุกระดับ และการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | en_US |
dc.description.sponsorship | การประเมินนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59359 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 | en_US |
dc.subject | การสูบบุหรี่ | en_US |
dc.subject | เขตปลอดบุหรี่ | en_US |
dc.title | สถานการณ์การดำเนินงานและความคิดเห็นต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
mods.location.copyInformation | https://library.mahidol.ac.th/record=b1247503 |
Files
License bundle
1 - 1 of 1