ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี

dc.contributor.advisorทัศนีย์ รวิวรกุล
dc.contributor.advisorขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ
dc.contributor.advisorดุสิต สุจิรารัตน์
dc.contributor.authorสุนันทา ผ่องแผ้ว
dc.date.accessioned2024-01-17T01:57:59Z
dc.date.available2024-01-17T01:57:59Z
dc.date.copyright2554
dc.date.created2567
dc.date.issued2554
dc.descriptionการพยาบาลสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ต่อพฤติกรรมป้ องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างคือเพศชาย และหญิงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรีจำนวน 385 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบ หลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ t-test ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้ องกันการหกล้มโดยรวมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ79.0) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้ องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ปัจจัยนำ ได้แก่ ประวัติสุขภาพ อาชีพ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้ องกันการหกล้ม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้ องกันการหกล้ม ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การสนับสนุนด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม การเข้าถึงสถานบริการทางสุขภาพ และปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนจากสมาชิก ในครอบครัว เพื่อนบ้าน อสม. แพทย์ พยาบาล ส่วนปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการ ป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ คือ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม การรับรู้ อุปสรรคต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม การเข้าถึงสถานบริการทางสุขภาพ และการสนับสนุนจากสมาชิกใน ครอบครัว เพื่อนบ้าน อสม. แพทย์ พยาบาล ได้ร้อยละ 25.0 ข้อเสนอแนะสำหรับผู้เกี่ยวข้องควรดำเนินการ คือ เน้น การจัดกิจกรรมเชิงรุก ให้ความรู้กับบุคคลากรด้านสุขภาพ เยี่ยมบ้านค้นหาและคัดกรอง ประเมินปัจจัยเสี่ยงของ การหกล้ม หาแนวทางการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันการหกล้ม
dc.description.abstractThis research aimed to examine the relationship and predictive factors of predisposing, enabling, and reinforcing fall prevention behaviors in older adults, Nonthaburi Province, Thailand. The sample consisted of 385 male and female older adults living in Nonthaburi Province. Data were collected by interview questionnaire and were analyzed by employing frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, t-test, Pearson's product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. Results revealed that most older adults had a good level of fall prevention behaviors (79.0%). Factors having relationship to fall prevention behaviors (p< .05) were (a) predisposing factors including personal factors (health history and occupation), perceived benefits, perceived barriers in fall prevention behavior (b) enabling factors, comprised of supporting the distribution of fall prevention behavior news and accessing health services facilities and (c) reinforcing factors, consisting of the support from family members, neighbors, village health volunteers, doctors and nurses. Predicting factors for fall prevention behaviors consisted of perceived benefits from fall prevention behaviors, perceived barriers to fall prevention behaviors, access to health services facilities, and support from family members, neighbors, village health volunteers, doctors and nurses, which altogether can explain 25 percent of fall prevention behaviors. Recommendations are that all levels of health personnel working in community should create a proactive activity including providing knowledge, home visiting, and screening for fall prevention in older adults. Engaging family and community members to participate in such fall prevention activity is also recommended
dc.format.extentก-ฌ, 200 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93013
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการหกล้ม
dc.subjectการหกล้มในผู้สูงอายุ
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectอุบัติเหตุ, การป้องกัน -- ในวัยชรา
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี
dc.title.alternativePredictive factors of fall prevention behaviors among older adults, Nonthaburi province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd491/5136386.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files