ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ การรับรู้ความรุนแรงของอาการ เพศ จำนวนครั้งเข้ารับการรักษาและการรับรู้คุณภาพการดูแลในผู้ป่วยมะเร็งระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 133 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
กรรณิกา กันรัตน์ ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ การรับรู้ความรุนแรงของอาการ เพศ จำนวนครั้งเข้ารับการรักษาและการรับรู้คุณภาพการดูแลในผู้ป่วยมะเร็งระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93351
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ การรับรู้ความรุนแรงของอาการ เพศ จำนวนครั้งเข้ารับการรักษาและการรับรู้คุณภาพการดูแลในผู้ป่วยมะเร็งระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
Alternative Title(s)
The Relationships among patient's preference for participation in symptom management, perceived symptom severity, gender, number of inpatient stay, and perception of quality of care in cancer patients during hospitalization
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายวิเคราะห์ความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ การรับรู้ความรุนแรงของอาการ เพศ จำนวนครั้งเข้ารับการรักษา และการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยใช้แบบจำลองคุณภาพการดูแลตามมุมมองของผู้ป่วยพัฒนาโดย Wilde และคณะ (1993) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในของหอผู้ป่วยมะเร็งก้อนทูมวิทยาและมะเร็งโลหิตวิทยา ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 97 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายน - ตุลาคม 2558 โดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย แบบประเมินความชอบมีส่วนร่วมในการจัดการอาการของผู้ป่วย แบบประเมินอาการ M SAS - GDI และแบบประเมินคุณภาพการดูแลตามมุมมองของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์และสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.9 ความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการอยู่ในระดับ passive มากที่สุด (ร้อยละ 47.4) การรับรู้คุณภาพการดูแลของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูงตรงกับความต้องการ มากที่สุด (ร้อยละ 43.3) ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้ความรุนแรงของอาการและจำนวนครั้งเข้ารับการรักษา มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ʎ2 = 10.502, p =.030 < α .05 ; ʎ2 = 6.791, p =.009 < α .05) สำหรับเพศและความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = .923 และ ʎ2 = 8.328, p =.079 > α .05) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย พยาบาลควรเน้นการดูแลจัดการเพี่อลดความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยมะเร็งขณะเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาบ่อยครั้งซึ่งอาจมีการรับรู้คุณภาพการดูแลลดลงได้ ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในปัจจัยอื่นๆที่อาจมีผลต่อการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็ง รวมทั้งมีการศึกษาในบริบทอื่นที่แตกต่างไปจากการศึกษาครั้งนี้
This descriptive correlational research aimed to explore the relationships among patient's preference for participation in symptom management, perceived symptom severity, gender, number of inpatient stay, and perception of quality of care in cancer patients during hospitalization. The Model of quality care based on the patient's perspective (Wilde et al., 1993) was used to guide this study. The sample consisted of 97 patients who were admitted in the Oncology and Hematology Unit of Chulalongkorn Memorial Hospital using purposive sampling. Data were collected during June and October 2015 by using Demographic Data Form, The Control Preference Scale, The Global Distress Index, and The Quality of Care in Patient's Perspectives-Short Form. Descriptive statistics, Spearman Correlation, and Chi - square, Point-Biserial were used in the data analysis and presentation. The findings showed that the majority of the subjects were males (61.9 %), the participation in symptom management of patient's preferred passive role (47.4%) and the patient perceived quality of care was of a balanced high quality (43.3%). For the relationships among study variables, perceived symptom severity and the number of inpatient stay were significantly correlated to perceived quality of care (ʎ2 = 10.502, p =.030 < α .05 ʎ2 = 6.791, p =.009 < α .05). Gender and patient's preference for participation in managing symptoms were not correlated with the perceived quality of care (rpb = .923 and ʎ2 = 8.328, p =.079 > α .05) Recommendations by the researcher were that nurses should focus their care on reducing symptom severity in cancer patients during hospitalization, particularly in those who are admitted more frequently, who perceived quality of care as low. Further research should be done on other factors that may affect perceived quality of care in cancer patients as well as studies in other contexts that are different from this study.
This descriptive correlational research aimed to explore the relationships among patient's preference for participation in symptom management, perceived symptom severity, gender, number of inpatient stay, and perception of quality of care in cancer patients during hospitalization. The Model of quality care based on the patient's perspective (Wilde et al., 1993) was used to guide this study. The sample consisted of 97 patients who were admitted in the Oncology and Hematology Unit of Chulalongkorn Memorial Hospital using purposive sampling. Data were collected during June and October 2015 by using Demographic Data Form, The Control Preference Scale, The Global Distress Index, and The Quality of Care in Patient's Perspectives-Short Form. Descriptive statistics, Spearman Correlation, and Chi - square, Point-Biserial were used in the data analysis and presentation. The findings showed that the majority of the subjects were males (61.9 %), the participation in symptom management of patient's preferred passive role (47.4%) and the patient perceived quality of care was of a balanced high quality (43.3%). For the relationships among study variables, perceived symptom severity and the number of inpatient stay were significantly correlated to perceived quality of care (ʎ2 = 10.502, p =.030 < α .05 ʎ2 = 6.791, p =.009 < α .05). Gender and patient's preference for participation in managing symptoms were not correlated with the perceived quality of care (rpb = .923 and ʎ2 = 8.328, p =.079 > α .05) Recommendations by the researcher were that nurses should focus their care on reducing symptom severity in cancer patients during hospitalization, particularly in those who are admitted more frequently, who perceived quality of care as low. Further research should be done on other factors that may affect perceived quality of care in cancer patients as well as studies in other contexts that are different from this study.
Description
การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลผู้ใหญ่
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล