Development of a community-based prehospital care management model for emergency volunteers
Issued Date
2023
Copyright Date
2010
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 228 leaves : ill. (some col.)
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Population Education))--Mahidol University, 2010
Suggested Citation
Taweewun Chaleekrua Development of a community-based prehospital care management model for emergency volunteers. Thesis (Ph.D. (Population Education))--Mahidol University, 2010. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89395
Title
Development of a community-based prehospital care management model for emergency volunteers
Alternative Title(s)
การพัฒนารูปแบบการจัดการอาสาสมัครฉุกเฉินโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนนำส่งสถานพยาบาล
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาสาสมัครฉุกเฉินโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการ ดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนนำส่งสถานพยาบาล การวิจัยนี้ใช้แนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นระยะ ผู้มีส่วนได้เสียจำนวน 126 คน มี 3 กลุ่มคือ กลุ่มนักปฏิบัติ กลุ่มที่ปรึกษาและกลุ่มนักวิจัย การวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ระยะวิจัย เป็นการศึกษาบริบทสังคมวัฒนธรรม บริบทการเจ็บป่วยฉุกเฉิน กระบวนทัศน์การ อาสาฉุกเฉินของชุมชน และการประเมินความต้องการจำเป็นการจัดการอาสาสมัครฉุกเฉินโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาศักยภาพ เป็นการนำผลจากการวิจัยระยะวิจัยมาพัฒนาศักยภาพผู้เข้าร่วมวิจัย ระยะที่ 3 ระยะการประเมินเพื่อการ เรียนรู้ เป็นการสะท้อนผลการวิจัยทั้งสามระยะ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยจากการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิง ลึกและสัมภาษณ์กลุ่ม Card sort technique เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ เวทีชุมชน การอบรมอาสาสมัคร ฉุกเฉิน เวทีประเมินผลแบบเสริมพลัง และการถอดบทเรียน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา Free list analysis, Descriptive analysis, Mean Difference Method และ Concurrent analysis ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการอาสาสมัครฉุกเฉินโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน มี 3 องค์ประกอบคือ 1) ด้านโครงสร้างกลไก บริบทชุมชนที่ศึกษาเป็นชนบทที่ห่างไกล และเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ฉุกเฉิน คนในชุมชนที่มีความเกื้อกูลกัน มีการกระบวนการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินภายใต้กระบวนทัศน์หน้าที่และกระบวน ทัศน์การให้ความหมาย ส่วนใหญ่ผู้ที่ดูแลคนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นครอบครัว คนที่เกี่ยวข้องเป็นนักปฏิบัติ ที่ปรึกษาและ นักวิจัยในชุมชนซึ่งมีการตกลงร่วมด้านการวางแผนการจัดการและการพัฒนาอาสาสมัครฉุกเฉินบนฐานของข้อมูลการ เจ็บป่วยฉุกเฉินและความต้องการของชุมชน องค์กรที่รับผิดชอบเป็นกลุ่มที่ก่อตัวขึ้นเองในชุมชนและองค์กรจากหน่วยงาน ภาครัฐ การจัดการมีระเบียบที่ยืดหยุ่นในการใช้พาหนะ อุปกรณ์สื่อสาร และงบประมาณของชุมชน ส่วนภาครัฐเป็นองค์กร ที่สนับสนุนด้านวิชาการ สถานที่และสื่อมัลติมีเดียในการจัดการอาสาสมัครฉุกเฉิน 2) ด้านการจัดการอาสาสมัครฉุกเฉิน เป็นการจัดการบูรณาการกระบวนทัศน์หน้าที่และกระบวนทัศน์การให้ความหมาย ชุมชนได้สรรหาอาสาสมัครฉุกเฉินด้วย ชุมชนเอง คือคัดเลือก ประเมิน เลือกงานและกำหนดหน้าที่ให้เหมาะกับคนที่อาสา จากคนที่เกี่ยวข้องในชุมชน สำหรับการ ดำรงรักษาอาสาสมัครฉุกเฉิน ชุมชนได้จัดการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครฉุกเฉิน สร้างแรงจูงใจ ด้วยการสนับสนุนค่าดำเนินการ และการให้ความสำคัญต่ออาสาสมัครฉุกเฉินด้วยการประกาศเกียรติคุณ 3) ด้านการ ประเมินผลการจัดการอาสาสมัครฉุกเฉิน ให้ความสำคัญต่อกระบวนการมากว่าการวัดผลการอาสาฉุกเฉิน ผลการประเมิน จึงเป็นแนวทางเชิงคุณภาพมากกว่าแนวทางเชิงปริมาณ และดำเนินการประเมินโดยอาสาสมัคร ประชาชน และองค์กรที่มี ส่วนได้เสีย ผลที่เกิดขึ้นจากรูปแบบนี้ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียได้เกิดการเรียนรู้ ร่วมมือกันในการสร้างแนวทางใหม่ในการ จัดการอาสาสมัครฉุกเฉิน และยังทำให้นักวิจัยชุมชนและนักปฏิบัติเชื่อมั่นในการจัดการด้วยตนเองมากขึ้น ข้อเสนอ สำหรับการศึกษานี้ควรนำผลที่เกิดขึ้นไปขยายผลในพื้นอื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน และควรนำไปกำหนดนโยบายการจัดการ อาสาสมัครฉุกเฉินในพื้นที่ชนบทห่างไกลต่อไป
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Population Education
Degree Grantor(s)
Mahidol University