การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมินชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง จังหวัดนครราชสีมา
Issued Date
2550
Copyright Date
2550
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ช, 141 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (อนามัยครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
Suggested Citation
ศิริพร เกษธนัง การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมินชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (อนามัยครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93085
Title
การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมินชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง จังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
Aging participation in elderly club whose passed the evaluation criteria on strengthen elderly club, Nakhonratchasima province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง จังหวัดนครราชสีมา และปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งที่อาศัยในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 350 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2549 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2549 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 57.1 มีส่วนร่วมในระดับต่ำ ร้อยละ 28.6 มีส่วนร่วมในระดับปานกลาง ร้อยละ 14.3 มีส่วนร่วมในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value< 0.05) คือ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกชมรม ระดับการศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ อายุ แรงสนับสนุนทางสังคม และเพศ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนาย การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง พบว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกชมรม ระดับการศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ อายุ แรงสนับสนุนทางสังคมและเพศสามารถร่วมกันทำนาย การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง ได้ร้อยละ 35.0 และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกชมรมสามารถร่วมทำนายได้ดีที่สุด จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกชมรมอย่างทั่วถึง รวมถึงส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
The objective of this cross-sectional research was to study participation of the aging in an elderly club that passed an evaluation on strengthen elderly club and related factors. The subject were 350 elderly in Nakhonratchasima Province. The data were collected by interview questionnaire June 15, 2006 to August 15, 2006 analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression. Results revealed that more than half of the elderly (57.1%) had a low level of participation whereas 28.6% and 14.3% had participation at the medium level and low level respectively. The factors that were statistically significantly related to participation of elderly people in strengthen elderly club (p-value <0.05) were age, income, perception of health condition, attitude toward the aging club, club membership interest, establishment of elderly people in networks or supporting agencies and social support. In addition, the club membership interests, level of education, perception of health condition, age, social support and gender could significantly predict participation of aging in the elderly club by 35.0% with the highest predictive power of participation being in club membership interests The study suggests that the Elderly Club committee should advertise club membership interests widely and encourage more participation of community leaders.
The objective of this cross-sectional research was to study participation of the aging in an elderly club that passed an evaluation on strengthen elderly club and related factors. The subject were 350 elderly in Nakhonratchasima Province. The data were collected by interview questionnaire June 15, 2006 to August 15, 2006 analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression. Results revealed that more than half of the elderly (57.1%) had a low level of participation whereas 28.6% and 14.3% had participation at the medium level and low level respectively. The factors that were statistically significantly related to participation of elderly people in strengthen elderly club (p-value <0.05) were age, income, perception of health condition, attitude toward the aging club, club membership interest, establishment of elderly people in networks or supporting agencies and social support. In addition, the club membership interests, level of education, perception of health condition, age, social support and gender could significantly predict participation of aging in the elderly club by 35.0% with the highest predictive power of participation being in club membership interests The study suggests that the Elderly Club committee should advertise club membership interests widely and encourage more participation of community leaders.
Description
อนามัยครอบครัว (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
อนามัยครอบครัว
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล