การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2560
Issued Date
2561
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
โสภาพรรณ สุริยะมณี, ศตวรรษ กลอยสวาท, เขมณัฏฐ์ อริยชยานันต์, นิกข์นิธิ พฤฒิวนาสัณฑ์, Sopaphan Suriyamanee, Sattawat Kloysawart, Khemanat Ariyachayanan, Nickniti Phruttiwanasan (2561). การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62879
Title
การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2560
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2560 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือ เพื่อศึกษาถึงสถานะหรือ สถานภาพของภาพลักษณ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความ คิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน อธิการบดีในด้านต่างๆ และเพื่อศึกษาหาแนวทาง ในการปรับปรุงแก้ไข ภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่สำนักงานอธิการบดีดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อสำนักงานและมหาวิทยาลัยต่อไป การวิเคราะห์ครั้งนี้ได้เก็บ รวบรวมข้อมูลจากคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรจากคณะ สถาบัน วิทยาลัย สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี และวิทยาเขต อื่นๆ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลมาได้ทั้งสิ้น 708 ราย และผลการวิเคราะห์ครั้ง นี้ พบว่าภาพลักษณ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานอธิการบดีโดยภาพรวม หรือโดยภาพกว้าง (General Image) เป็นภาพที่ดีมากหรือที่กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เห็นด้วยเป็นอย่างมากในทุกๆ ด้าน นับตั้งแต่ ด้านความเต็มใจ ความกระตือรือร้นในการให้บริการ การให้บริการอย่างสุภาพทั้งกายและ วาจา การให้บริการอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ การมีมาตรฐานใน การให้บริการที่ดี การให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเร็วกว่ากำหนด การตอบสนองต่อการขอรับบริการเป็นอย่างดี มีการปรับปรุงแก้ไข และการพัฒนาการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การให้การสนับสนุนส่วนงานเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ด้าน และด้านการเป็นผู้นำในการพัฒนางานและริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปตามปัจจัยทางด้านฐานะตำแหน่ง และ ลักษณะของหน่วยงานที่สังกัดของกลุ่มตัวอย่างแล้วพบว่า กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มอาจารย์และบุคลากรในวิทยาเขตอื่นๆ มีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจาก กลุ่มอื่นคือต่างเห็นว่าภาพลักษณ์ดังกล่าวทั้งหมด เป็นภาพลักษณ์ที่ดี ธรรมดาหรือเห็นด้วยธรรมดาไม่ใช่เห็นด้วยในระดับมาก และที่กลุ่มตัวอย่างทุกๆ กลุ่มเห็นตรงกันก็คือ ภาพลักษณ์ทางด้านการเป็นผู้นำในการพัฒนางาน และริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ และที่เห็นตรงกันอีกด้านหนึ่งก็ คือ ด้านมีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือเห็นด้วยว่าเป็นภาพลักษณ์ที่ดีธรรมดาหรือเห็นด้วยธรรมดาเท่านั้น ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่ในสำนักงานอธิการบดี ด้วยกันเองเห็นว่าภาพลักษณ์ทางด้านการให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่ กำหนดหรือเร็วกว่ากำหนด และด้านการตอบสนองต่อการขอรับบริการเป็น อย่างดีอยู่ในระดับที่ดีทำธรรมดาเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะต้องตระหนัก และนำมาพิจารณาแก้ไขภาพลักษณ์ในโอกาสต่อไป
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 122-123