OP-Proceeding Document
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62223
Browse
Recent Submissions
Item Open Access ระบบสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ (Flexible Benefit)(2564) เทวัญ คงพิพัฒน์กุล; ฝนทิพย์ โพธิวิรัตนานนท์; วารุณี ทิมบึงพร้าว; พิชชาพร เกษียรธาดานนท์; Tewon Kongpipatkul; Fontip Potivirattananon; Warunee Timbungprow; Pitchaporn Kaseantadanon; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดสวัสดิการที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้พนักงานมหาวิทยาลัย โดยมี 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที ่ 1 พนักงาน มหาวิทยาลัยสมทบเงินเข้ากองทุนสวัสดิการร้อยละ 10 ของอัตราเงินเดือน มี วงเงินค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 200,000 บาท/ปี และรูปแบบที่ 2 พนักงาน มหาวิทยาลัยสมทบเงินร้อยละ 5 ของอัตราเงินเดือนแต่ไม่เกิน 750 บาทเข้า กองทุนประกันสังคมและมหาวิทยาลัยสมทบในอัตราที่เท่ากัน มีวงเงินค่า รักษาพยาบาลไม่เกิน 20,000 บาท/ปี ซึ่งเป็นวงเงินที่พนักงานมหาวิทยาลัย สามารถเบิกจ่ายให้แก่ตนเองและบุคคลในครอบครัว จากสภาพการณ์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลมีพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลาย Generation อาทิ Gen Z, Gen X, Gen Y และ Baby Boomer ซึ่งสวัสดิการที่เกี่ยวกับ การรักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียว จึงไม่ตอบสนองต่อความต้องการของ พนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มดังกล่าว และหลายครั้งมีข้อเสนอและข้อเรียกร้อง มายังมหาวิทยาลัยอยู่เป็นระยะ ๆ อาทิ ไม่ค่อยได้ใช้วงเงินค่ารักษาพยาบาล ดังกล่าว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงรูปแบบการจัดสวัสดิการดังกล่าว ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของพนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อสร้าง ความพึงพอใจ ความผูกพันของพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีต่อองค์กรItem Open Access ระบบการจัดการกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล(2561) เทวัญ คงพิพัฒน์กุล; ฝนทิพย์ โพธิวิรัตนานนท์; วารุณี ทิมบึงพร้าว; Tewon Kongpipatkul; Fontip Potivirattananon; Warunee Timbungprow; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาบุคลากรเป็นประจำทุกปี (ระหว่างวันที่ 2–31 มีนาคม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสวัสดิการด้านการกีฬาและนันทนาการแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยและเป็นการเชื่อมความสามัคคีระหว่างบุคลากรส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนใช้การแข่งขันดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถและคุณสมบัติเหมาะสมในแต่ละชนิดกีฬา เพื่อเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยไปร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และในการแข่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถสร้างผลงานได้รับเหรียญรางวัลเป็นลำดับที่ 1 ซึ่ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการปรับปรุงการบริหารจัดการแข่งขัน โดยมหาวิทยาลัยได้พัฒนาระบบการจัดการข้อมูลการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลแบบ Online ขึ้น เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่กระบวนการรับสมัครนักกีฬา การบันทึกผลการแข่งขัน รายงานผลการแข่งขันพร้อมสถิติการแข่งขันเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกนักกีฬาไปแข่งขันในระดับประเทศ ทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล ข้อที่ 1 ด้านการพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยให้มีโอกาสแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ เป็นการพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งผู้มีศักยภาพสูงและสร้างความผูกพันให้กับบุคลากร และ ยังเป็นการลดเวลา ลดเอกสาร และขั้นตอนในการจัดแข่งขัน อันเป็นการสนับสนุนมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (ECO University) สามารถนำข้อมูลในระบบไปประกอบการรายงานผลตามเกณฑ์การประเมิน EdPEx ต่อไปItem Open Access ระบบบริหารจัดการโครงการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) สุขุมาภรณ์ ก้อนสมบัติ; ศิริชาติ วรรณสวาท; Sukumaporn Konsombat; Sirichart Wannasawat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคลการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาขึ้นสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งระดับต้น (MU-SUP) ระดับกลาง (MU-EDP) และโครงการพัฒนาหัวหน้าภาควิชา (MU-HDP) รวมถึงผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการโดยครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการกำหนดสิทธิ์ให้เฉพาะผู้เข้าร่วมอบรมสามารถ Log in เข้ามาใช้งานระบบ ซึ่งจะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ ได้แก่ รายละเอียดโครงการ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของโครงการตารางการอบรม รวมถึงเอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากร การพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตารางการอบรม และเอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากรในโครงการพัฒนานักบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการ อบรมผ่านระบบ Online ซึ่งสามารถลดการใช้ทรัพยากร (กระดาษ) ในการจัดพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากร ลดรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยายแจกผู้เข้าร่วมอบรมและสามารถช่วยลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้จัดอบรมในการดำเนินงานโดยผู้จัดอบรมสามารถจัดการตารางอบรมและอัพโหลดเอกสารการบรรยายได้อย่าง สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นItem Open Access การพัฒนาระบบ e-Recruitment(2561) อุษามา แสงเสริม; ศิริชาติ วรรณสวาท; Usama Sangserm; Sirichart Wannasawat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคลการสรรหาบุคลากรเป็นกระบวนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้พฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็น Generation Y ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่ก้าวเข้าสู่วัยทำงานและเป็นพลังขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในอนาคต จึงมีการนำเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในกระบวนการสรรหาบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เกิดความสะดวก รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการขององค์กรสมัยใหม่ และมหาวิทยาลัยสามารถสรรหาบุคลากรได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงกลุ่มผู้สมัครได้หลากหลายมากขึ้นจากการนำระบบเข้ามาใช้งาน พบว่า ระบบสามารถช่วยประมวลผลคะแนนต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงสามารถรายงานผลการประเมินคุณลักษณะที่สอดคล้องกับค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดลได้โดยอัตโนมัติ สามารถประกาศรับสมัคร ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกผ่านระบบในรูปแบบประกาศของมหาวิทยาลัยได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนได้โดยผู้ใช้งานไม่ต้องดำเนินการพิมพ์ และสามารถแสดงผลได้อย่างเหมาะสมบนอุปกรณ์ที่แตกต่างกันทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือมือถืออีกด้วยItem Open Access การจัดการวารสาร Mahidol R2R e-Journal(2561) จริยา ปัญญา; สแกวรรณ พูลเพิ่ม; ปิยนุช รัตนกุล; สุขุมาภรณ์ ก้อนสมบัติ; ศิริชาติ วรรณสวาท; เบญจมาศ มะหมัดกุล; Jariya Panya; Sakaewan Polperm; Piyanuch Rattanakul; Sukumaporn Konsombat; Sirichart Wannasawat; Benchamas Mamudkul; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคลปัจจุบันวารสารที่ผลิตเป็นรูปเล่มโดยใช้กระดาษนับวันจะน้อยลง และจำนวนวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ในระบบเครือข่ายทางวิชาการมีจำนวนเพิ่มขึ้น วารสาร Mahidol R2R e-Journal เป็นวารสารทางวิชาการที่มุ่งเน้นเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานของสายสนับสนุนซึ่งดำเนินการในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งพิมพ์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สนองต่อยุทธศาสตร์ของชาติและนโยบาย Thailand 4.0 โดยมุ่งเน้นให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และคุ้มค่า โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ส่งผลให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางกับสังคม มหาวิทยาลัยและผู้รับบริการItem Open Access การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2560(2561) โสภาพรรณ สุริยะมณี; ศตวรรษ กลอยสวาท; เขมณัฏฐ์ อริยชยานันต์; นิกข์นิธิ พฤฒิวนาสัณฑ์; Sopaphan Suriyamanee; Sattawat Kloysawart; Khemanat Ariyachayanan; Nickniti Phruttiwanasan; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองบริหารงานทั่วไปการศึกษาวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2560 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือ เพื่อศึกษาถึงสถานะหรือ สถานภาพของภาพลักษณ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความ คิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน อธิการบดีในด้านต่างๆ และเพื่อศึกษาหาแนวทาง ในการปรับปรุงแก้ไข ภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่สำนักงานอธิการบดีดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อสำนักงานและมหาวิทยาลัยต่อไป การวิเคราะห์ครั้งนี้ได้เก็บ รวบรวมข้อมูลจากคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรจากคณะ สถาบัน วิทยาลัย สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี และวิทยาเขต อื่นๆ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลมาได้ทั้งสิ้น 708 ราย และผลการวิเคราะห์ครั้ง นี้ พบว่าภาพลักษณ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานอธิการบดีโดยภาพรวม หรือโดยภาพกว้าง (General Image) เป็นภาพที่ดีมากหรือที่กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เห็นด้วยเป็นอย่างมากในทุกๆ ด้าน นับตั้งแต่ ด้านความเต็มใจ ความกระตือรือร้นในการให้บริการ การให้บริการอย่างสุภาพทั้งกายและ วาจา การให้บริการอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ การมีมาตรฐานใน การให้บริการที่ดี การให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเร็วกว่ากำหนด การตอบสนองต่อการขอรับบริการเป็นอย่างดี มีการปรับปรุงแก้ไข และการพัฒนาการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การให้การสนับสนุนส่วนงานเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ด้าน และด้านการเป็นผู้นำในการพัฒนางานและริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปตามปัจจัยทางด้านฐานะตำแหน่ง และ ลักษณะของหน่วยงานที่สังกัดของกลุ่มตัวอย่างแล้วพบว่า กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มอาจารย์และบุคลากรในวิทยาเขตอื่นๆ มีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจาก กลุ่มอื่นคือต่างเห็นว่าภาพลักษณ์ดังกล่าวทั้งหมด เป็นภาพลักษณ์ที่ดี ธรรมดาหรือเห็นด้วยธรรมดาไม่ใช่เห็นด้วยในระดับมาก และที่กลุ่มตัวอย่างทุกๆ กลุ่มเห็นตรงกันก็คือ ภาพลักษณ์ทางด้านการเป็นผู้นำในการพัฒนางาน และริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ และที่เห็นตรงกันอีกด้านหนึ่งก็ คือ ด้านมีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือเห็นด้วยว่าเป็นภาพลักษณ์ที่ดีธรรมดาหรือเห็นด้วยธรรมดาเท่านั้น ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่ในสำนักงานอธิการบดี ด้วยกันเองเห็นว่าภาพลักษณ์ทางด้านการให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่ กำหนดหรือเร็วกว่ากำหนด และด้านการตอบสนองต่อการขอรับบริการเป็น อย่างดีอยู่ในระดับที่ดีทำธรรมดาเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะต้องตระหนัก และนำมาพิจารณาแก้ไขภาพลักษณ์ในโอกาสต่อไปItem Open Access การพัฒนานักศึกษาด้วยกระบวนการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Leaning) ชั้นปีที่ 1 รหัส 60(2561) กนกรัตน์ นพโสภณ; กีรติ สอนคุ้ม; จุฬารักษ์ เครือจันทร์; สุชาดา จันทร์วัน; รุ่งพร เหมือนแตง; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกิจการนักศึกษาการพัฒนานักศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง คือ การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รหัส 60 ด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การทำงานศิลปะ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของนักศึกษา โดยเน้น การพัฒนานักศึกษา 3 ด้านประกอบด้วยการพัฒนาตนเอง ทั้งในทางด้านมุมมอง วิธีคิดให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การพัฒนาทางจิตใจ ให้เข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ มีสติ มีสมาธิ มีความรักความเมตตา และมีความสุข (ร่าเริง เบิกบาน แจ่มใส สนุกสนาน) การพัฒนาด้านความสัมพันธ์ ท่าที การกระทำหรือพฤติกรรม ดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อคนรอบข้าง สังคมส่วนรวม การพัฒนาด้านการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตร่วมกันการไม่เอารัดเอาเปรียบ หรือแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเอง แต่ให้พร้อมที่จะแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อน โดยกระบวนการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษามหาวิทยาลัย (การเรียน) เสริมเสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองของนักศึกษา (ตัวเอง) และส่งเสริมความสัมพันธ์ของนักศึกษากับคนรอบข้าง (ความสัมพันธ์กับเพื่อน)Item Open Access Mahidol Alumni Talk(2561) พัฒนศักดิ์ ตันบุตร; รุ่งดาว จารุภูมิ; ศิริลักษณ์ กลางสำโรง; ชุติมา ก๋งทอง; Patanasak Tonbut; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกิจการนักศึกษาวัตถุประสงค์ของการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยนี้คือ 1.เพื่อพัฒนาวิธีการรับฟังเสียงศิษย์เก่าให้ได้ข้อมูลความผูกพันและความคาดหวังของศิษย์เก่ามาประกอบการพิจารณาบริหารด้านศิษย์สัมพันธ์ของส่วนงานและ มหาวิทยาลัยมหิดล 2.เพื่อต่อยอดการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยศิษย์สัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเดิมการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นทางการยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลความคาดหวังและเสริมสร้างความผูกพันของศิษย์เก่าได้ หน่วยศิษย์สัมพันธ์ได้พัฒนาวิธีการรับฟังเสียงผ่านกิจกรรม Mahidol Alumni Talk โดยความร่วมมือกับเครือข่ายส่วนงานในมหาวิทยาลัยด้วยการสัมภาษณ์ศิษย์เก่าจำนวน 146 คน ด้วยคำถามหลักเกี่ยวกับความผูกพันและความคาดหวัง และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลปรากฏว่า 1.ข้อมูลความผูกพันของศิษย์เก่าอันดับหนึ่งคืออาจารย์และความคาดหวังคือการรักษาชื่อเสียงและมาตรฐานไว้ทุกด้าน และสามารถนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาบริหารด้านศิษย์สัมพันธ์ของส่วนงานและมหาวิทยาลัยมหิดล 2.จำนวนผู้เข้าชม Mahidol Alumni Talk ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยศิษย์สัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลเพิ่มขึ้น 24,960%Item Open Access แสงสว่างจากความมืด(2561) ธีรศักดิ์ สรรพศิริ; Teerasak Sanphasiri; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกิจการนักศึกษาItem Open Access ระบบ Training Information Center(2561) ฟ้าใส ทองอยู่; ปรีเมธ เดชขุน; Farsai Tongyoo; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคลเดิมมหาวิทยาลัยประชาสัมพันธ์การจัดอบรม สัมมนา และการประชุมต่างๆ โดยไม่มีฐานข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกันได้ทำให้บุคลากรขาดช่องทางในการรับทราบข้อมูลการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลอย่างทั่วถึงดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงเห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวกองทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาทรัพยากรบุคคลในการผลักดันมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ จึงวิเคราะห์ระบบ การประชาสัมพันธ์ทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และนำผลการวิเคราะห์มาสร้าง ระบบ “Training Information Center” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นระบบในการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของบุคลากร พร้อมทั้งลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการด้วยตนเองได้สะดวก รวดเร็วง่ายต่อการใช้งาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการจัดการโครงการ การประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ การสร้างแบบประเมินผล และการประมวลผลเพื่อสรุปผลการประเมิน การค้นหาข้อมูลผู้ผ่านการอบรมโครงการต่างๆ ทั้งนี้ระบบดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2561 โดยประชาสัมพันธ์ระบบให้แก่บุคลากรได้ทราบ และจัดอบรมการใช้งานแก่ส่วนงานต่างๆ รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น