Study of protease inhibitor in rubber latex

dc.contributor.advisorDhirayos Wititsuwannakul
dc.contributor.advisorRapepun Wititsuwannakul
dc.contributor.authorWannapa Sritanyarat
dc.date.accessioned2024-02-06T01:49:04Z
dc.date.available2024-02-06T01:49:04Z
dc.date.copyright2000
dc.date.created2000
dc.date.issued2000
dc.descriptionBiochemistry (Mahidol University 2000)
dc.description.abstractProtease inhibitors (PI) were detected in the latex of rubber trees (Hevea brasiliensis). The PI was located mainly in the C-serum by screening assays with pronase while only little activity could be detected in the B-serum. Characterization of the C-serum protease inhibitor indicated that it was a thermostable protein with a very strong heat stable property. The PI in C-serum (CS-PI) was precipitated out from other proteins at a high concentration of acetone (80-95% v/v) and designated as Hevea protease inhibitor (HPI). It was shown as a single protein band with a calibrated subunit MW of 5.5 kD upon SDS-PAGE analyses. Heating of this HPI in boiling water for 15 and 30 min resulted in almost no PI activity loss, indicating it is a very thermostable protein with low subunit MW nature. Screening experiments on different protease classes of HPI showed that HPI was the most effective inhibitor for pronase (57.59 % enzyme activity inhibition), followed by chymotrypsin, trypsin (18.05 % and 14.47 % enzyme activity inhibition, respectively). A weaker inhibitor on papain (7.39 % enzyme activity inhibition) was observed. On the contrary, very mild PI activity was found for thermolysin inhibition (4.61% enzyme activity inhibition) and no PI activity against pepsin and protease from Aspergillus saitoi was observed in this comparative study. The HPI was further purified by passing through the Sephadex G-75 column. Two protein peaks with PI activity were obtained and designated as HPI-1 and HPI-2 , respectively. Calibration for subunit MW determination showed both HPI-1 and HPI-2 possess the same MW of 5.5 kD upon SDS-PAGE. By gel filtration chromatography, the native MW of HPI-1 and HPI-2 were 20.8 kD and 11.7 kD, respectively. The results thus suggested that native HPI-1 existed as tetrahomomeric form and HPI-2 existed as dihomomeric form. The PI activity for both HPI-1 and HPI-2 after heating in boiling water for 30 min was decreased to 90% and 88% of the control inhibition, respectively. Both HPI-1 and HPI-2 have quite a broad range of pH stability. No effect or loss of the PI activity was observed between pH 3-11. However, their activities were rapidly decreased to 38% inhibition (HPI-1) and 50% inhibition (HPI-2) of the control level at pH 12. The pI values were determined to be 4.24 for HPI-1 and 4.17 for HPI-2, respectively.
dc.description.abstractจากการศึกษา พบตัวยับยั้งโปรตีเอสในน้ำยางสดจากยางพารา (Hevea brasiliensis) โดยพบมากในส่วนของ C-serum ในขณะที่พบเป็นส่วนน้อยใน B-serum เมื่อศึกษาคุณสมบัติของตัว ยับยั้งโปรตีเอสใน C-serum พบว่าทนความร้อนได้ดี ตัวยับยั้งโปรตีเอสใน C-serum ถูกแยก ออกจากโปรตีนอื่นโดยวิธีตกตะกอนโปรตีนด้วยอะซีโตนที่เปอร์เซนต์ความเข้มข้นของอะซีโตนใน ระดับสูง (80-95% โดยปริมาตร) สารสกัดที่ได้เรียกว่า HPI ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลที่ได้จาก การทำ SDS-PAGE เท่ากับ 5.5 kD เมื่อทดสอบ HPI ที่ได้ หลังการแช่ในน้ำเดือดเป็นเวลา 15 และ 30 นาที พบว่าความสามารถในการยับยั้งโปรตีเอสยังคงเดิม ดังนั้น HPI จึงเป็นโปรตีน ที่ยับยั้งโปรตีเอสที่มีขนาดโมเลกุลของหน่วยย่อยที่เล็กและคงทนต่อความร้อนได้ดีมาก การทดสอบ HPI กับเอนไซม์โปรตีเอสหลายกลุ่ม พบว่า HPI สามารถยับยั้งเอนไซม์ต่างๆ ได้ดีจากมากไปหาน้อย ดังนี้ โปรเนส (57.59%), ไคโมทริปซิน, ทริปซิน (18.05% และ 14.47% ตามลำดับ), ส่วน การทดสอบกับปาเปอิน พบว่า HPI สามารถยับยั้งการทำงานได้เล็กน้อย (7.39%) ในขณะที่ HPI มีผลยับยั้งการทำงานของเทอร์โมไลซินน้อยมาก (4.61%) และไม่มีผลในการยับยั้งการทำงานของ เปบซินและโปรตีเอสจาก iAspergillus saitoi เลย เมื่อนำ HPI ไปทำบริสุทธิ์ต่อโดย การแยกผ่านคอลัมน์ Sephadex G-75 โดยอาศัยข้อแตกต่างของขนาดโมเลกุล พบว่ารูปแบบใน สภาพธรรมชาติของ HPI น่าจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ HPI-1 และ HPI-2 โดยทั้งสองรูปแบบ ประกอบไปด้วยโปรตีนหน่วยย่อยที่มีน้ำหนักโมเลกุลที่ได้จากการทำ SDS-PAGE เท่ากันคือ 5.5 kD ส่วนน้ำหนักโมเลกุลที่ได้จากวิธีแยกผ่านคอลัมน์โดยอาศัยข้อแตกต่างของขนาดโมเลกุล พบว่า HPI-1 และ HPI-2 มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 20.8 kD และ 11.7 kD ตามลำดับ จากข้อมูล ที่ได้แสดงว่า รูปแบบสภาพธรรมชาติของ HPI-1 น่าจะประกอบด้วยโปรตีนหน่วยย่อยที่เหมือนกัน อยู่ 4 หน่วยย่อย ส่วน HPI-2 เป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยโปรตีนหน่วยย่อยที่เหมือนกัน 2 หน่วยย่อย พบว่าหลังผ่านการต้มในน้ำเดือดเป็นเวลา 30 นาที ความสามารถในการยับยั้งโปรตีเอสของ HPI-1 และ HPI-2 ลดลงเหลือ 90% และ 88% ตามลำดับ ทั้ง HPI-1 และ HPI-2 มีความคงทนต่อสภาวะ กรด-ด่างอยู่ในช่วงที่กว้าง คือ pH 3-11 และความสามารถในการยับยั้งโปรตีเอสของ HPI-1 และ HPI-2 ลดลงเหลือ 38% และ 50% ตามลำดับ ที่ pH 12 ค่า pI ของ HPI-1 และ HPI-2 มีค่า เท่ากับ 4.24 และ 4.17 ตามลำดับ
dc.format.extentxviii, 145 leaves : ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.Sc. (Biochemistry))--Mahidol University, 2000
dc.identifier.isbn9746641387
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94617
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectHevea
dc.subjectLatex
dc.subjectPlant defenses
dc.subjectProteolytic enzymes
dc.titleStudy of protease inhibitor in rubber latex
dc.title.alternativeการศึกษาตัวยับยั้งโปรตีเอสในน้ำยางพารา
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/scan/4036426.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Science
thesis.degree.disciplineBiochemistry
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Science

Files