รูปแบบการดำเนินงานให้ข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

dc.contributor.advisorสมชาติ โตรักษา
dc.contributor.advisorยุวนุช สัตยสมบูรณ์
dc.contributor.authorศิริพร แสงหิรัญ
dc.date.accessioned2024-01-12T02:03:55Z
dc.date.available2024-01-12T02:03:55Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2567
dc.date.issued2560
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractงานให้ข้อมูลผ่าตัดต้อกระจก เป็นงานให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยทั้งระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัด เกี่ยวกับรายละเอียดการผ่าตัด กระบวนการและขั้นตอนการผ่าตัด การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด ปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ อีกทั้งวิธีป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามแผนการรักษา โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยหายจากโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการผ่าตัดต้อกระจก การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการดำเนินงานให้ข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัด ต้อกระจกที่สามารถนำไปดำเนินการในโรงพยาบาลทั่วไป และการเตรียมความพร้อมเพื่อนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการในสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ใช้การทบทวนความรู้ จากเอกสาร ตำรา หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย สื่ออิเล็กโทรนิกส์ และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีจากโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ โรงพยาบาล ศิริราช โรงพยาบาลจักษุรัตนิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิง เนื้อหา พบว่า รูปแบบการดำเนินงานให้ข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่จัดทำขึ้น ได้นำหลักวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 4 ด้าน 2) มีโครงสร้างด้านของ เงิน คน และระบบงานพร้อมด้วยผังการไหลเวียนของระบบงานบริการมาตรฐานการให้ข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก 3) มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการนำรูปแบบที่จัดทำขึ้นไปดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นอย่างต่อเนื่องสู่ความยั่งยืน โดยใช้หลักการและวิธีการของการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ประกอบด้วย การเตรียมการ การดำเนินการ การประเมินผลและการพัฒนา และ การก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของการดำเนินงาน ในด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อนำรูปแบบที่จัดทำขึ้นไปดำเนินการในสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ใช้การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบสองกลุ่มทดลอง-ควบคุม วัดผลก่อน-หลัง การทดลอง โดยนำรูปแบบที่จัดทำขึ้นมาประยุกต์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสถาบันประสาทวิทยา มีการติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงเป็นระยะ ๆ ในขณะดำเนินการทดลอง เสนอแนะให้พัฒนาต่อไปเพื่อเป็นตัวแบบงานให้ข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกของประเทศ
dc.description.abstractOperation of providing information to cataract surgery patients is to advise patients undergoing cataract surgery about preoperative, during surgery, and postoperative. The details about the surgery includes surgical procedures, preoperative preparation, postoperative care, potential side effects and complications. Also patients and caregivers should understand their preventions and properly follow the treatment plan to provide patients with post-op recovery and better quality of life. The purposes of this study were to find a working model which could be implemented in general hospitals to provide information about cataract surgery to patients, and to prepare the most appropriate model for operation in Prasat Neurological Institute, Department of Medical Services, Ministry of Public Health by doing research and reviewing documents, treatises, textbooks, dissertations, research papers, electronic medias, and study from good practices in Metta Pracharat Hospital, Siriraj Hospital and Rutnin Eye Hospital. Data were analyzed using content analysis. The results suggested that the implemented working model apply related theories including; 1) 4 Principles of the model 2) Complete structures of budget, manpower, and working system, along with the standard working system flow chart in providing information to patients undergoing cataract surgery, and 3) Executing working model clearly and continuously since the beginning for sustainability by applying principles and research methodology to constantly and sustainably improve the operation through preparation, implementation, evaluation, and improvement for sustainable development goal. In the process of getting the model ready to be implemented in Prasat Neurological Institute, Department of Medical Services, Ministry of Public Health, the experimental research has been used to manipulate two experimental groups (prior and post experiment). The model was applied to be suitable for Prasat Neurological Institute and being monitored, evaluated and updated periodically. The findings recommended for further development of the model in to providing information to patients with cataract surgery throughout the country.
dc.format.extentก-ซ, 152 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationสารนิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92523
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectกระทรวงสาธารณสุข
dc.subjectการแพร่กระจายข้อมูล
dc.subjectต้อกระจก -- ผู้ป่วย
dc.subjectต้อกระจก -- ศัลยกรรม
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์
dc.titleรูปแบบการดำเนินงานให้ข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
dc.title.alternativeA working model of providing information to cataract surgery patients in hospitals at Department of Medical Services, Ministry of Public Health
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd525/5537946.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files