ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการใช้เทคนิค DIR/ฟอลร์ไทม์ในการบำบัดเด็กที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัม

dc.contributor.advisorคมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
dc.contributor.advisorศิริไชย หงษ์สงวนศรี
dc.contributor.advisorแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
dc.contributor.authorณัฐกิตติ์ ประพัฒนกุลวงศ์
dc.date.accessioned2024-01-12T02:03:56Z
dc.date.available2024-01-12T02:03:56Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2567
dc.date.issued2560
dc.descriptionจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยผู้ปกครอง ปัจจัยเด็กและปัจจัยผู้ให้บริการ/คุณภาพระบบบริการกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการใช้เทคนิค DIR/ฟลอร์ไทม์และเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการใช้เทคนิค DIR/ฟลอร์ไทม์แตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองของเด็กอายุระหว่าง 2-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคออทิซึมสเปกตรัมและได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามแนวทาง DIR/ฟลอร์ไทม ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยผู้ปกครองด้านสถานภาพสมรสรายได้ และความเข้าใจหลักการมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (x2= 4.43, pvalue = .035 ;x2= 13.1, p-value < .001 ; x2= 4.29, p-value = .038 ตามลำดับ) ส่วนทัศนคติต่อตัวโรคและทัศนคติต่อเทคนิค DIR/ฟลอร์ไทม์มีแนวโน้มจะมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง (x2= 3.65, p-value = .056) ปัจจัยเด็กด้านความรุนแรงของโรคและปัจจัยผู้ให้บริการด้านความต่อเนื่องในการรักษามีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง (x2= 5.83, p-value = .016 ; x2= 4.72, p-value = .030 ตามลำดับ) โดยพบว่าผู้ปกครองที่สอดแทรกทักษะมากกว่า 1 ชั่วโมงหรือมีคุณภาพการมีส่วนร่วมมากจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (t = -2.03, p-value = .049; t = -2.00, p-value = .053 ตามลำดับ) จึงอาจสรุปได้ว่าปัจจัยผู้ปกครอง เด็กและผู้ให้บริการมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการใช้เทคนิค DIR/ฟลอร์ไทม์และเด็กที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมมากจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก
dc.description.abstractThis current study was a cross-sectional survey to examine the correlation between factors associated with parents, children and therapists, and parent engagement in DIR/floortime treatment. Moreover, this research also focused on the comparison between children's development with different parent engagement in DIR/floortime treatment. The sample group were parents of children age 2 - 12 with autism spectrum disorder and received DIR/floortime treatment from National Institute for Child and Family Development. The results showed that factors associated with parents' marital status, income and understanding of DIR/floortime theory significantly correlated with parent engagement (x2 = 4.43, p-value =.035 x2 = 13.1, p-value < .001 and x2 = 4.29, p-value = .038 respectively). Additionally, parents' perspective towards the disorder and DIR/floortime techniques tended to have a correlation with parent engagement (x2 = 3.65, p-value = .056). Furthermore, severity of the diagnosis and the continuation of the treatment significantly correlated with parent engagement as well (x2 = 5.83, p-value =.016 and x2 = 4.72, p-value =.030 respectively). It was found that parents who applied the techniques more than 1 hour, or had a high quality parent engagement, significantly correlated with better child development (t= -2.03, p-value =.049 t = -2.00, p-value = .053 respectively).In conclusion, factors associated with parents, children and therapist had a significant correlation with parent engagement in DIR/floortime in which children whose parents had more engagement in DIR/floortime techniques had a better child development
dc.format.extentก-ฌ, 108 แผ่น : แผนภูมิ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92528
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectออทิซึมในเด็ก -- การรักษา
dc.subjectเด็กออทิสติก -- การรักษา
dc.subjectการประเมินพฤติกรรม
dc.subjectพฤติกรรมบำบัด
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการใช้เทคนิค DIR/ฟอลร์ไทม์ในการบำบัดเด็กที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัม
dc.title.alternativeFactors associated with parent engagement in DIR/Floortime for treatment of children with autism spectrum disorder
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd534/5837282.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
thesis.degree.disciplineจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files