อิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยา ความกังวลจากการรับประทานยา การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ความซับซ้อนของการใช้ยาตามแผนการรักษาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 173 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
ปัณฑิตา เพ็ญพิมล อิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยา ความกังวลจากการรับประทานยา การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ความซับซ้อนของการใช้ยาตามแผนการรักษาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93378
Title
อิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยา ความกังวลจากการรับประทานยา การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ความซับซ้อนของการใช้ยาตามแผนการรักษาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
Alternative Title(s)
The influence of perceived medication necessity, medication concern, patient-healthcare provider communication, and complexity of medical regimens on medication adherence in patients with acute coronary syndrome after hospitalization
Author(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความสม่ำเสมอในการ รับประทานยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยใช้รูปแบบเชิงเหตุผลในการรับประทานยาระบบหลอดเลือดและหัวใจไม่สม่ำเสมอซึ่งพัฒนาโดย Kronish & Ye เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบสะดวก จำนวน 120 ราย เครื่องมือในการวิจัยมีจำนวน 5 ชุดคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกจำนวนเม็ดยาตามแผนการรักษาที่ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันรับประทานต่อวัน 3) แบบสอบถามความเชื่อในการรับประทานยา 4) แบบสอบถามการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และ5) แบบสอบถามความสม่ำเสมอในการรับประทานยาโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 60.93 ปี (S.D. = 10.29) เป็นเพศชายร้อยละ 65.8 มีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาร้อยละ 60 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีการรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยาโดยรวมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 77.5 มีความกังวลจากการรับประทานยาโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 58.34 การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์โดยรวมอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 77.5 ความซับซ้อนของการใช้ยาตามแผนการรักษาพบว่า จำนวนเม็ดยาตามแผนการรักษาที่กลุ่มตัวอย่างได้รับมีจำนวน 3-42 เม็ดต่อวัน ค่าเฉลี่ย 9.27 เม็ดต่อวัน ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก พบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถทำนายความผันแปรของความสม่ำเสมอในการรับประทานยาได้ร้อยละ 17.7 (Nagelkerke R2 = .177, p < .05) มีเพียง 1 ปัจจัย ที่สามารถทำนายความสม่ำเสมอในการรับประทานยาได้ คือ การรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยา (OR = 1.242, 95%CI = 1.084-1.422; p = .002) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ควรส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยการให้ข้อมูลเรื่องความจำเป็นต่อการรับประทานยาโรคหลอดเลือดหัวใจ
This correlational predictive design research aimed to study factors predicting medication adherence in patients with Acute Coronary Syndrome (ACS) after hospitalization using Reason for non-adherence to cardiovascular medication model by Kronish & Ye as a conceptual framework. A sample of 120 patients was selected by convenience sampling and 5 questionnaires were used in the study: 1) demographics 2) record note for number of medication by treatment per day 3) Belief about Medicines Questionnaire 4) Patient-Healthcare provider communication Questionnaire and5) Medication Adherence Reporting Scale Questionnaire. The data were analyzed by using descriptive statistics and logistic regression analysis. The findings showed that 65.8% of the sample were males with a mean age of 60.93 years old (S.D. = 10.29), having overall medication adherence 60%. Belief on perceived medication necessity was at a high level (77.5%), belief on medication concern, at low level (58.34%), patient-healthcare provider communication at a very good level (77.5%), The complexity of medical regimens (number of medication by treatment per day) of 3-42 tablets per day had a mean of 9.27. Furthermore, the four variables above could be explained by medication adherence using logistic regression which accounted for 17.7% of the variance (Nagelkerke R2 = .177, p < 0 .05). When considering each variable, the findings showed that belief on perceived medication necessity could significantly predict medication adherence (OR = 1.242, 95%CI = 1.084-1.422 p = .002) With these findings, it is recommended that nurses and healthcare providers should promote a medication adherence program and provide details and explanations on the necessity and benefits of ACS medications.
This correlational predictive design research aimed to study factors predicting medication adherence in patients with Acute Coronary Syndrome (ACS) after hospitalization using Reason for non-adherence to cardiovascular medication model by Kronish & Ye as a conceptual framework. A sample of 120 patients was selected by convenience sampling and 5 questionnaires were used in the study: 1) demographics 2) record note for number of medication by treatment per day 3) Belief about Medicines Questionnaire 4) Patient-Healthcare provider communication Questionnaire and5) Medication Adherence Reporting Scale Questionnaire. The data were analyzed by using descriptive statistics and logistic regression analysis. The findings showed that 65.8% of the sample were males with a mean age of 60.93 years old (S.D. = 10.29), having overall medication adherence 60%. Belief on perceived medication necessity was at a high level (77.5%), belief on medication concern, at low level (58.34%), patient-healthcare provider communication at a very good level (77.5%), The complexity of medical regimens (number of medication by treatment per day) of 3-42 tablets per day had a mean of 9.27. Furthermore, the four variables above could be explained by medication adherence using logistic regression which accounted for 17.7% of the variance (Nagelkerke R2 = .177, p < 0 .05). When considering each variable, the findings showed that belief on perceived medication necessity could significantly predict medication adherence (OR = 1.242, 95%CI = 1.084-1.422 p = .002) With these findings, it is recommended that nurses and healthcare providers should promote a medication adherence program and provide details and explanations on the necessity and benefits of ACS medications.
Description
การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลผู้ใหญ่
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล