เปียโนกับเพลงไทย

dc.contributor.advisorพูนพิศ อมาตยกุล
dc.contributor.advisorอนรรฆ จรัณยานนท์
dc.contributor.advisorณัฐชยา นัจจนาวากุล
dc.contributor.authorอริศรา มาตาคุณากร
dc.date.accessioned2024-01-15T01:45:32Z
dc.date.available2024-01-15T01:45:32Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2567
dc.date.issued2560
dc.descriptionดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการเข้ามาของเปียโน ในประเทศไทย ศึกษาบทบาทและพัฒนาการของการบรรเลงเปียโนเพลงไทย และศึกษาประวัติและผลงานที่สําคัญของนักเปียโนเพลงไทยในสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2560) โดยใช้ระเบียบวิธีการทางดนตรีวิทยาเปียโนเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2418 โดย นางสาวแฟนนี่น็อกซ์บุตรีของร้อยเอกโทมัสน็อกซ์ กงสุลใหญ่อังกฤษประจําราชสํานักสยาม ปรากฏชัดในวงเครื่องสายผสมเปียโนของนายแคล้ว วัชโรบลเป็นคณะแรก พบหลักฐานว่ามีการบันทึกเสียงลงแผ่นเสียง ครูเปียโนคนไทยคนแรกคือเจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่และพระยาสาครสงคราม (สุริเยศ อมาตยกุล, 2423-2485) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 วงเครื่องสายผสมเปียโนได้รับความนิยม วงที่มีชื่อเสียงคือคณะ "นารีศรีสุมิตร" บรรเลงเปียโนโดยนักเปียโนหญิงที่ถือเป็นต้นแบบของการเดี่ยวเปียโนเพลงไทย คือ ครูสุมิตรา สุจริตกุล นอกจากนี้ยังมีนักเปียโนเพลงไทยในวงเครื่องสายผสมเปียโนอีกหลายคณะ อาทิ ครูพิมพ์ พวงนาค และครูศิลปี ตราโมท เป็นต้น นักเปียโนร่วมสมัยคนสําคัญและเป็นผู้เดียวที่สืบทอดและต่อยอดการเดี่ยวเปียโนเพลงไทยในแนวทางของครูสุมิตรา สุจริตกุล คือ ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ บทเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยสําหรับเดี่ยวเปียโนชิ้นสําคัญคือผลงานของพันเอกชูชาติพิทักษากร มีการก่อตั้งสํานักเดี่ยวเปียโนเพลงไทย มีวรรณกรรมเปียโนชิ้นสําคัญคือ "วรรณกรรมเปียโนแห่งกรุงสยาม" ในยุคปัจจุบันมีการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมเปียโนเพิ่มขึ้นอีกหลายชิ้น รวมทั้งมีศิลปินที่บรรเลงเปียโนเพลงไทยในรูปแบบอื่น ๆ
dc.description.abstractThis thesis aimed to study the history of piano in Thailand and its functions within the original Thai musical culture especially with the traditional Thai music from the past to the present (2017). This qualitative research study followed a research methodology by analyzing related interviews, documents, papers and selected songs. The results were collated and displayed as follows: Piano had been brought and introduced to the kingdom of Thailand for the first time around 1875 by Miss Fanny Knox, daughter of Sir Thomas Knox, the British's General Consul of Siam during the reign of King Rama V (1868-1910).Chao Bua-Chum na Cheingmai and Praya SakornSongkram (Suriyes Amatyakul), started piano lessons in traditional Thai songs. This study found 3 pieces of the old shellac 78 rpm records which were works of the traditional Thai string ensemble accompanied with piano owned by the professional musical group of Mr. Klaw Watcharobol. Performances of Thai music on pianos became famous in the court of King Rama VI directed by The Naree-Srisumitra. The leading pianist was Miss Sumittra Sudcharitkul, whose piano skills were remarkable in those days. This study collected more than 12 groups of traditional string with piano with several pianists, such as Mr. Pim Poungnak and Mr. Silpee Tramote. The most important contemporary pianist and successor to the solo piano Thai music in the direction of teacher Sumitra Sukritkul is Professor Dr. Natcha Chancharoen, who has been regarded as the prototype of piano playing of traditional Thai music of this era (2017). Another important piece is the work of Col. Choochart Pitaksakorn, who had arranged traditional Thai songs for piano solo. The Piano Literature of Siam, a major piano literature, is the first ever arrangement of traditional music for piano published in 2012. At present, many artists have created many works of piano literature. There were also other artists who played Thai pianos in other formats.
dc.format.extentก-ฒ, 275 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92687
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectเปียโน
dc.subjectเพลงไทย
dc.subjectนักเปียโน -- ไทย
dc.titleเปียโนกับเพลงไทย
dc.title.alternativePiano and traditional Thai music
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd534/5438081.pdf
thesis.degree.departmentวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
thesis.degree.disciplineดนตรี
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files