ภาวะหนี้กับความอยู่ดีมีสุขของประชากรในจังหวัดกาญจนบุรี
dc.contributor.advisor | ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ | |
dc.contributor.author | ณัฐกาญน์ สาสิงห์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T01:24:22Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T01:24:22Z | |
dc.date.copyright | 2550 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.description | วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550) | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อ 1) วิเคราะห์ภาวะหนี้ของประชากรในจังหวัดกาญจนบุรี 2) วิเคราะห์และประเมินระดับความอยู่ดีมีสุขของประชากรในจังหวัดกาญจนบุรี และ 3) พิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหนี้กับระดับความอยู่ดีมีสุขของประชากร โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจของโครงการ "วิจัยบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีส่วนร่วมในภูมิภาคตะวันตก -- การพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขในจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2548" ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 3,289 คน เป็นตัวแทนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ในการศึกษานี้จะประเมินความอยู่ดีมีสุขในเชิงอัตวิสัย โดยใช้ระดับความสุขที่ประชากรรายงานเองเป็นตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข สำหรับการพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหนี้กับความอยู่ดีมีสุข ใช้การวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงซ้อน เพื่อทดสอบและคาดประมาณผลกระทบของภาวะหนี้ที่มีต่อระดับความสุข ณ ปัจจุบัน ร่วมกับตัวแปรอื่นๆในแบบจำลอง ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 35.1 เคยกู้เงินในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา แหล่งเงินทุนที่สำคัญ ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน/กองทุนเงินล้าน/กองทุนต่อยอดเงินล้าน ซึ่งส่วนมากกู้เงินกองทุนฯเพื่อใช้ลงทุนทำเกษตร (ร้อยละ 43.8) ผู้ที่กู้เงินจากแหล่งทุนนอกระบบส่วนใหญ่เสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนในอัตรามากกว่าร้อยละ 4 ต่อเดือน ในภาพรวมผู้กู้ส่วนใหญ่ยอมรับว่ามีหนี้ที่เป็นภาระพอสมควรถึงหนักมาก (ร้อยละ 73.1) สำหรับการประเมินระดับความสุข พบว่า ระดับความสุขเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน เท่ากับ 5.8 และอนาคต เท่ากับ 7.2 โดยร้อยละ 70.0 คาดว่าอนาคตจะมีความสุขเพิ่มขึ้น ผลการทดสอบในสมการถดถอยเชิงซ้อน ทำให้ทราบว่า การกู้เงินจากแหล่งทุนในระบบหรือนอกระบบไม่มีผลต่อระดับความสุข แต่ภาระหนี้เป็นตัวแปรสำคัญ โดยการมีหนี้หากไม่เป็นภาระหรือเป็นภาระพอสมควร จะไม่กระทบต่อระดับความสุข แต่การมีหนี้ที่เป็นภาระหนักถึงหนักมาก ส่งผลเชิงลบต่อระดับความสุข ส่วนปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อความสุข ได้แก่ การได้รับการศึกษาสูง การมีรายได้สูง การมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ การไม่เจ็บป่วย การอยู่ในครัวเรือนที่เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินเอง การอยู่ในบ้านที่แข็งแรงคงทน การอยู่ในครัวเรือนที่มีอัตราพึ่งพิงต่ำ และการอยู่ในสังคมที่ดีมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ให้ความช่วยเหลือกัน และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง | |
dc.description.abstract | This quantitative research is to investigate the relationship between debt obligation and subjective well-being. The data used in this analysis were from 3,289 people aged 15 years and over who were interviewed under the project, "The Well-being Indicator : Western Study in Thailand" conducted by the Institute for Population and Social Research (IPSR), Mahidol University in 2005. In this study, regression analyses were performed to identify the effects of debt obligation on the level of subjective well-being. Results show that 35.1 percent of people living in Kanchanaburi province were in debt. The Thai Government Village Fund was the main source of lending institution to these debtors. 43.8 percent of people who borrowed money from the Thai Government Village Fund used the loan for their spending on agricultural production. About 73.1 percent of these debtors reported that their debt obligations were a moderate to heavy burden to them. The study finds that the mean subjective happiness level among people in Kanchanaburi is 5.8 from the scale of 0 to 10 (10 = most happy) while the mean expected future happiness level is 7.2. Approximately 70.0 percent of the people interviewed reported that they expected to be happier in the future, which revealed their optimism towards their future well-being. Results from multiple regression analyses suggest that debt obligation has a negative effect on the subjective well-being. The study finds that the source of fund (formal or informal) does not have statistically significant effects on the happiness level, but the burden of debt has a statistically significant negative effect on happiness level. Specifically, having debt that was a heavy burden had significant negative effects on the happiness level while people who had debts that were not burdensome had a similar level of happiness to that of people who had no debt. Other factors found to have statistically significant effects on the happiness level include the level of education, income, the adequacy of earning, health status, home ownership, type of dwelling, dependency ratio, and social capital in the community. | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 92 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93923 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | |
dc.subject | ความสุข | |
dc.subject | หนี้ | |
dc.title | ภาวะหนี้กับความอยู่ดีมีสุขของประชากรในจังหวัดกาญจนบุรี | |
dc.title.alternative | Debt obligation and subjective well-being : a case study in Kanchanaburi Province of Thailand | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4836678.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม | |
thesis.degree.discipline | วิจัยประชากรและสังคม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |